นางจรุณี ดำช่วย รักษาราชการ ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ตรัง กล่าวว่า สถานีพัฒนาอาหารสัตว์ซึ่งเป็นหน่วยงานของ กรมปศุสัตว์ ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค มีหน้าที่หลัก การสำรองอาหารสัตว์ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ประสบภัยธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภัยแล้งน้ำท่วม หรือโรคระบาด ส่วนของศูนย์วิจัยพัฒนาอาหารสัตว์ ปีนี้มีเป้าหมายของการผลิตเสบียงแห้ง หรือหญ้าแห้ง 200,0000 กก. หรือ 10,000 ก้อน ซึ่งในหญ้าแห้ง 200,000 กก.นี้ ทางศูนย์วิจัยการพัฒนาอาหารสัตว์ตรัง สามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้ในผู้เลี้ยงโคได้ 9,500 ตัว ในกรณีที่มีน้ำท่วมหรือภัยแล้งได้ประมาณ 5 วัน เพราะว่าหญ้าแห้งก้อนสามารถให้โคของเกษตรกรกินได้ประมาณ 3 ตัว/ก้อน/วัน


ในส่วนของศูนย์วิจัยอาหารสัตว์ตรังไม่ได้ดูแลเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดตรัง มีพื้นที่ที่จะดูแลอีกพื้นที่หนึ่งก็คือ จ.กระบี่ และจังหวัดอื่น ๆ ในพื้นที่ภาคใต้ในกรณีที่เกิดภัยธรรมชาติวิกฤติ สำหรับเกษตรกรที่มาขอรับการช่วยเหลือในเรื่องของเสบียงแห้ง อาจจะมีระเบียบของกรมปศุสัตว์ในเรื่องของการแจกจ่าย โดยเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติ สามารถร้องขอเสบียงแห้งได้โดยผ่านทางสำนักงานปศุสัตว์อำเภอและสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด เมื่อทางสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดได้รับหนังสือร้องขอของเกษตรกรแล้วก็จะสั่งจ่ายเกษตรกรก็สามารถมารับหญ้าแห้งได้ที่ศูนย์วิจัยพัฒนาสัตว์ตรัง ซึ่งพื้นที่มีพื้นที่อยู่ 2 แปลงคือ แปลงที่ 1 อยู่ที่ ต.นาท่ามเหนือ อ.เมืองตรัง แปลงที่ 2 อยู่ที่ ต.เขาไพร อ.รัษฎา

สำหรับในส่วนหญ้าสดได้เปิดแปลงให้เกษตรกรเข้าไปตัดหญ้าได้ในแต่ละวัน ซึ่งเกษตรกรที่มีความประสงค์จะบริการหญ้าสดของศูนย์ฯ สามารถนำบัตรประชาชนพร้อมอุปกรณ์ในการตัดไปติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ดูแลแปลงอยู่ ลงชื่อสามารถตัดหญ้าสดกลับไปเลี้ยงสัตว์ของตัวเองได้ ในระเบียบสามารถตัดได้ 300 กิโลกรัม/คน