ในยุคที่ การหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต หรือสแกม  (Scam) เป็นภัยใกล้ตัวระบาดหนัก คนไทยทุกคนต้องเจอมิจฉาชีพออนไลน์  หลอกลวงในรูปแบบต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นแก็งคอลเซ็นเตอร์   การส่ง  SMS หลอกให้คลิกลิงค์ โดนแอปดูดเงิน  การสร้างเว็บไซต์ปลอม หลอกขโมยข้อมูลบัตรเครดิต  หรือยูสเซอร์เนม และ พาสเวิร์ด เป็นต้น

การสร้างความตระหนักรู้ให้คนในสังคม และ การเร่งหาทางและเครื่องมือป้องกันและปราบปรามของหน่วยงานรัฐ  ถือเป็น สิ่งสำคัญ วันนี้ ทาง เดลินิวส์” ได้มีโอกาสพูดคุยกับ  “เจฟฟ์ กัว” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท โกโกลุก   บริษัทชั้นนำระดับโลกที่ให้บริการเทคโนโลยีเพื่อความเชื่อมั่น (TrustTech) ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall ในโอกาสที่บินมาไทย เพื่อเปิดสำนักงานใหญ่แห่งที่  2  ในไทย  ต่อจากไต้หวัน ถึงเรื่องภัยออนไลน์ที่ระบาดหนักในทุกวันนี้

ภาพ pixabay.com

“เจฟฟ์ กัว” บอกถึงจุดเริ่มต้นในการเริ่มพัฒนาแอปฯ ว่า ย้อนกับไปเมื่อ 14 ปีที่แล้ว  หรือในปี 2553  ตนเองเกือบเโดนสแกม  ได้รับแจ้งรางวัล แต่ต้องโอนจ่ายภาษีก่อน จึงได้เอะใจ ตรวจสอบก่อน จึงรู้ว่าเป็นการหลวงหลวงมีคนถูกหลอก ในลักษณะนี้ จากนั้นในปี  2555   จึงเริ่มเปิดบริษัท เป็นสตาร์ทอัพรายแรกในไต้หวัน ที่มีบริษัทยักษ์ใหญ่จากเกาหลีใต้ คือ” เนเวอร์” เข้ามาร่วมลงทุน ให้บริการครั้งแรกในชื่อ  Line Whoscall  และมีการเติบโตมาโดยตลอด จนถึงปัจจุบัน และล่าสุดได้มาเปิดสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพฯ เพื่อให้เป็นฐานในการทำธุรกิจในภูมิภาคนี้

เหตุผลที่เลือกประเทศไทย?

“เจฟฟ์ กัว” บอกว่า การลงทุนในไทยได้ใช้งบประมาณ 10% ของงบลงทุนทั้งหมด โดยมี 4 เหตุผล ตือ 1.ประเทศไทยมีสถิติสแกมจำนวนมาก  2.ภาครัฐและเอกชนให้ความสำคัญและให้ความร่วมมือในการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องในการแก้ปัญหานี้  3. ภูมิศาสตร์ที่ตั้งของประเทศไทยเหมาะกับการเป็นฮับในภูมิภาค และ 4.ในไทย Whoscall มีการเติบโตสูง ปัจจุบันมียอดดาวน์โหลด 25 ล้านดาวน์โหลด จากจำนวนดาวนโหลดทั่วโลกมากกว่า 100 ล้านดาวน์โหลด เป้าหมายของบริษัทจากนี้ คือ ต้องการวางตัวเองเป็นผู้น่าเชื่อถือในโลกอินเทอร์เน็ต

เจฟฟ์ กัว

กลโกงมิจฉาชีพพัฒนาตลอด

ปัจจุบัน “สแกม” มีการพัฒฯการหลอกลวงตลอดเวลา ด้วยกลวิธีการใหม่ๆ ทาง “เจฟฟ์ กัว” บอกว่า  การรับมือก็จำเป็นต้องพัฒนาเทคโนโลบีเพื่อตามให้ทัน  จากเดิมใช้การสร้างมัลแวร์ สร้าง ดาร์กเว็บ  จนปัจจจุบันมิจฉาชีพ มีการใช้ AI โดยเฉพาะ Deep Fake  มาหลวงลวง ใช้เลียนแบบเสียง ใบหน้า ให้เหยื่อหลงเชื่อ เป็นต้น ทำให้ต้องมีการลงทุนในการพัฒนาในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามเราไม่สามารถสู้ได้คนเดียวค้องได้รับความร่วมมือกับภาครัฐ  ประชาชน และพาร์ทเนอร์ ต่างๆ ด้วย เพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ และจะเป็นแนวทางในการทำธุรกิขในประเทศต่างๆด้วย 

 ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้มีความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ ในหลายๆประเทศ เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง  ส่วนในไทย ก็มีความร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ สำนักงาน กสทช.  นอกจากนี้ ทางบริษัทก็ยังได้เข้าร่วมเป็น สมาชิกของ องค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก Global Anti-Scam Alliance (GASA) ที่เป็นการรวมตัวกันของภาคเอกชนระดับโลก  เช่น กู เกิล อเมซอน  เป็นต้นเพื่อ พัฒนาระบบป้องกันและแก้ปัญหาสแกมในระดับโลก

สถานการณ์การฉ้อโกงในภูมิภาค

ประชาชนและองค์กรธุรกิจกำลังเผชิญความท้าทายจากมิจฉาชีพมากขึ้น ซึ่งผลการศึกษาวิจัยเรื่องต้นทุนที่แท้จริงของการฉ้อโกงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกประจำปี 2566 (2023 True Cost of Fraud Study Asia Pacific)พบว่า 58% ของบริษัทในภูมิภาคนี้ต้องรับมือกับการฉ้อโกงจากมิจฉาชีพเพิ่มขึ้น บริษัทต้องมีค่าใช้จ่ายที่นำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาจากการหลอกลวง เช่น การดำเนินคดีความกับผู้กระทำความผิด และค่าชดเชย เฉลี่ยอยู่ที่ 100 บาท ต่อทุกๆ 25 บาท ที่สูญเสียไป โดยบริษัทค้าปลีกจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ 80 บาท ต่อทุกๆ 25 บาท ในขณะที่สถาบันการเงินจะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสูงถึง 128 บาท ต่อทุกๆ 25 บาท

นอกจากนี้รายงานสถานการณ์การหลอกลวงจากมิจฉาชีพในภูมิภาคเอเชียประจำปี 2567 (Anti-Scam Asia Report 2024) ที่จัดทำโดย องค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก ร่วมกับ ScamAdviser ได้ประเมินมูลค่าความเสียหายที่ประชากรและธุรกิจได้รับจากการหลอกลวงทางไซเบอร์ใน 13 ประเทศทั่วภูมิภาคสูงถึง 688.42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการปรากฎตัวและการแพร่กระจายของเทคโนโลยี AI เป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้สถานการณ์การหลอกลวงในภาคธุรกิจมีความน่าเป็นห่วงมากขึ้น เพราะมิจฉาชีพได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AI เพื่อก่ออาชญากรรมอย่างแพร่หลาย

อาทิเช่น การขโมยข้อมูลส่วนบุคคล (identity thef) การแอบอ้างเป็นบุคคลอื่นในรูปแบบต่างๆ (impersonation scams)  รวมถึงการนำเทคโนโลยี AI มาใช้เพื่อหลีกเลี่ยงกระบวนการยืนยันตัวตนลูกค้า (Know Your Customer or KYC)  ส่งผลให้มีการคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมต่อต้านการหลอกลวงทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 129.2 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2572 จากความต้องการของรัฐบาลและธุรกิจทั่วโลกในการแสวงหาเครื่องมือเพื่อปกป้องภัยจากมิจฉาชีพ

ภาพ pixabay.com

มูลค่าความเสียหายไม่น้อย

ทั้งนี้ความเสียหายจากการหลอกลวงในทั่วโลกคิดเป็นมูลค่าประมาณ  1 %  ของจีดีพีโลก  และมีประชาชนประมาณ 25% ของประชาชนทั่วโลกที่เจอสแกม สำหรับในไทยมีคนไทยสูงถึง 89%  โดนมิจฉาชีพใช้วีธีหลอกหลวงในรูปแบบสแกมในรอบ 1 เดือน วิธีการหลอกที่นิยมใช้ คือ การนำรูปคนดังมีชื่อเสียงมาหลอกให้ลงทุน  

ซึ่งสถานการในประเทศเพื่อนบ้าน ไม่แตกต่างจากไทย ทั้ง มาเลเชีย   ฟิลิปปินส์  เกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่น ก็เพิ่มขึ้นต่อนื่อง  และ รูปแบบการหลอกหลวงกมีการพัฒนา  ส่งผลต่อประชาชน และธุรกิตต่างๆ อย่างมาก  โดย วีธีการหลอกลวง ไทยและมาเลเซีย เป็น การโทรศัพท์มาหลอก เช่นพวกแก็งคอลเซ็นเตอร์ ส่วนใน ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ เป็นการหลอกส่งข้อความ SMS ส่วนญี่ปุ่น เป็นการส่งอีเมล์หลอกลวง

ภาพ pixabay.com

จับมือพาร์เนอร์สร้างเครื่องมือป้องกัน

“เจฟฟ์ กัว” บอกว่า บริษัท ยังได้ร่วมมือกับพาร์ทเยอร์ คือ  ScamAdviser เพื่อให้สามารถรับมือกับภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และทำให้มีข้อมูลต่อต้านการหลอกลวงคุณภาพสูงที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค ด้วยหมายเลขโทรศัพท์มิจฉาชีพกว่า 2,600 ล้านเลขหมาย  รวมถึงโดเมน  (domain) ที่อันตราย รายชื่อ URL ลิงก์ที่มีความเสี่ยง ลิสต์สกุลเงินดิจิทัล และกระเป๋าเงินดิจิทัล กว่า 60 ล้านรายการ ที่นอกจากช่วยให้บริษัทสร้างฐานข้อมูลในการต่อต้านการหลอกลวงทางดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลก แล้ว ยังช่วยให้สามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาผสานเข้ากับความเชี่ยวชาญด้าน AI มาวิเคราะห์ และจำลองรูปแบบการหลอกลวง

 เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ที่จะช่วยป้องกันการหลอกลวงที่ซับซ้อนเหนือระดับมากขึ้น และยังขยายโอกาสในการดำเนินธุรกิจไปยังภูมิภาคต่างๆทั่วโลกได้ด้วย.

จิราวัฒน์ จารุพันธ์