ในช่วงนี้ หลายๆ คนคงจะได้ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับวงการทางการแพทย์ ที่บุคลากรต้องแบกรับภาระกันเป็นอย่างมาก จนสวนทางกับผลตอบแทนที่ได้รับ โดยเฉพาะ “เภสัชกร” ซึ่งก็มีความกดดันไม่แพ้กับบุคลากรทางการแพทย์อาชีพอื่นๆ เพราะต้องมีความเชี่ยวชาญด้านยา เวชภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในการจะจ่ายยาออกไปถึงผู้ป่วย
แต่สำหรับที่สงสัยว่าการเรียน “เภสัชศาสตร์” นั้นเรียนจบแล้วสามารถไปประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง จำเป็นไหมที่ต้องเป็น “เภสัชกรเท่านั้น?” แล้วแต่ละอาชีพได้ค่าตอบแทนเท่าไร? ซึ่งในเรื่องนี้ ทางมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ได้มีการเปิดข้อมูลไว้ดังนี้
1.เภสัชกรประจําภาคอุตสาหกรรมการผลิตยา ชีววัตถุ สมุนไพร เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ
2.เภสัชกรด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมประจําสถานพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชนและสถานบริการสาธารณสุข เภสัชกรประจําร้านขายยา เปิดธุรกิจร้านขายยาเป็นของตนเอง ทํางานคุ้มครองผู้บริโภค และทํางานด้านเภสัชการตลาด
3.นักวิจัยและพัฒนายา ชีววัตถุ สมุนไพร เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ ทำหน้าที่ศึกษาและคิดค้นยาใหม่ๆ และพัฒนาโครงสร้างยาให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ยาออกมา โดยต้องได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด
4.อาจารย์ประจําสถาบันอุดมศึกษา ผลิตเภสัชกรที่มีคุณภาพ ให้ความรู้แก่ประชาชนหรือผู้ที่สนใจความรู้ด้านยา ทั้งในมหาวิทยาลัยและพื้นที่สาธารณะ
5.ประกอบอาชีพอิสระด้านเภสัชศาสตร์
อัตราเงินเดือนของเภสัชกร
1.อัตราเงินเดือนเภสัชกรในโรงพยาบาล ขั้นต่ำเริ่มที่ 15,000 บาท โดยยังไม่รวมค่าอยู่เวรและใบประกอบ
2.เภสัชกร รพ.สธ. เงินเดือน 17,000-19,000 มีค่าพตส. 1,500-3,000 บาท ไม่ประกอบเวช 5,000 กันดาร 3,000-13,000 บาท ค่าขึ้นเวร 720-1,300 บาท
3.เภสัชกรร้านยา เริ่มต้นที่ 30,000 บาท หากเป็นแหล่งท่องเที่ยว 40,000-60,000 บาทไม่รวมค่าคอมมิชชันและค่าล่วงเวลา
4.ผู้แทนยานั้นเงินเดือนเริ่มต้น 25,000 บาทขึ้นไป แต่ถ้ารวมคอมมิชชันด้วยก็มีโอกาสสูงถึงหลักแสนบาท
แต่นอกจากผลตอบแทนแล้ว อีกหนึ่งสิ่งในวงการทางการแพทย์จะต้องเจอนั่นคือ “การขายเวร” หมายถึง “การที่บุคลากรทางการแพทย์ตกลงกันเอง เพื่อเปลี่ยนเวร หรือเวลาในการทำงาน” โดยอาจมีการจ่ายเงินให้แก่ผู้ที่รับช่วงต่อ ตามที่มีการตกลงกัน หรือเรียกง่ายๆ ว่า เป็นการหาคนมาทำงานแทนในช่วงเวลาทำงานของตัวเอง ซึ่งอาจจะมีตั้งแต่ต้องการเวลาพักผ่อนเพิ่มเติมจากการรับภาระงานอย่างยาวนาน มีธุระเร่งด่วน ไปจนถึงต้องการใช้เวลาในวันดังกล่าวขึ้น ต้องการจัดสรรเวลาให้ครอบครัว เป็นต้น
ซึ่งการ “ขายเวร” นี้ คนที่มาทำแทนก็จะได้ค่าแรงในเวรนั้นๆ ไป และอาจจะมีเงินบวกส่วนเพิ่มได้อีก ขึ้นอยู่กับการตกลง ซึ่งในเรื่องผลตอบแทนของ “การขายเวร” นั้น ทางเพจ “Infectious ง่ายนิดเดียว” ได้เคยมีการสอบถามเรื่องการขายเวรนอกเวลาราชการ “ว่ากันด้วยเรื่องค่าเวรของหมอๆ พยาบาลทำงานกันด้วยใจจริงๆ ครับนับถือ เท่าไรกันบ้างครับ” โดยคำตอบที่ได้ พบว่ามีจำนวนเงินตั้งแต่ 550 บาท ไปจนถึง 1,800 บาท ต่อ 8 ชั่วโมงการทำงานอีกด้วย..
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก @western.ac.th,@Infectious ง่ายนิดเดียว