เมื่อวันที่ 31 ต.ค.ที่มูลนิธิรณรงค์ทวงคืนความยุติธรรมในสังคม ถนนแจ้งวัฒนะ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี นายสุรชัย อายุ 64 ปี นำเอกสารหลักฐานการยืมเงินเข้าร้องเรียนกับ ทนายชาญชัย ฉายบุ ที่ปรึกษามูลนิธิรณรงค์ทวงคืนความยุติธรรมในสังคม หลังจากให้ นายยาว ซึ่งเป็นเพื่อนรุ่นพี่เรียนมหาวิทยาลัยเดียวกัน หลังจากยืมเงินตั้งแต่ปี 2557 จำนวน 3,000,000 บาทดอกเบี้ย 1.5 ต่อเดือนผ่อนส่งคืนมาไม่ถึงล้าน แล้วเงียบหายเข้ากลีบเมฆไป ติดต่อไม่ได้แถมเซ็นเช็คจำนวนเงินที่เหลือ 2,230,000 บาท เมื่อนำเข้าธนาคารขึ้นเงินเช็คกับเด้งไม่มีเงิน นอกจากนี้ นายสุรชัย ซึ่งเป็นผู้เสียหายยังได้เขียนข้อความใส่กระดาษ ว่า “พี่ยาวช่วยคืนเงินที่ยืมไปให้ผมด้วยครับ ถ้าพี่ยังมีมนุษยธรรมอยู่ ตอนนี้ผมลำบากมากจริงๆ จำเป็นต้องใช้เงินรักษาลูกและส่งลูกเรียนในขณะที่พี่ยังนั่งรถหรูอยู่สบาย”
ขณะที่ ทนายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ ประธานมูลนิธิดังกล่าว ให้ข้อมูลว่า การกู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาทต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ มาตรา 653 เมื่อการชําระหนี้เป็นการตีเช็คออกมาก็ต้องไปดูในพระราชบัญญัติความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค 2534 ในมาตรา 4 เขาบอกว่าผู้ใดออกเช็คเพื่อเจตนาชําระหนี้และหนี้นั้นมีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย โดยมีลักษณะหรือมีการกระทําดังต่อไปนี้จะเป็นความผิด 1.เจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค 2.ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงได้ใช้ 3.ให้ใช้เงินที่มีจํานวนสูงกว่าเงินในบัญชีตัวเอง 4.ถอนเงินทั้งหมดหรือบางส่วนเพื่อไม่ให้สามารถเอาเช็คไปขึ้นเงินได้ 5.ห้ามธนาคารจ่ายเช็คตามที่มีการออกไปโดยทุจริต ความผิดตามกฎหมายมีอัตราโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 หรือทั้งจําทั้งปรับในปัจจุบันความผิดเกี่ยวกับการเช็ค ยังมีสภาพบังคับใช้อยู่แม้จะมีความพยายามของภาครัฐอยากจะให้กฎหมายเช็คเด้ง เป็นกฎหมายแพ่งก็ตาม แต่ตอนนี้เช็คเด้งยังแจ้งตํารวจจับได้อยู่