วันที่ 31 ต.ค. ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ พระนครศรีอยุธยา ศูนย์หันตรา นายวัชระ กระแสร์ฉัตร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นประธานเปิด  เป็นประธานเปิดการประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย สัญจร ครั้งที่ 3 ประจำปี 2567 โดยมี รศ.ดร.ประมุข อุณหเลขกะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ผศ.ดร.กฤษชัย ศรีบุญมา ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย ให้การต้อนรับ

โดย รศ.ดร.ประมุข เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพการประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืน แห่งประเทศไทย  (SUN Thailand) (สัญจร) ครั้งที่ 3 ประจาปี 2567 เพื่อเป็นเวทีสำคัญสำหรับการกำหนดแนวนโยบายเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน การแลกเปลี่ยน เรียนรู้ประสบการณ์การดำเนินงาน การสร้างเครือข่ายและความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาภายในประเทศ สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมถึงการกำหนดมาตรฐานการชี้วัดความเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการยกระดับมหาวิทยาลัยภายในประเทศ ที่สอดคล้องเชื่อมโยงต่อบริบทการพัฒนาอย่างยั่งยืนระดับนานาชาติ ในวันที่ 31 ตุลาคม 2567 และวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา

ผศ.ดร.กฤษชัย ศรีบุญมา ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย กล่าวว่ามหาวิทยาลัยมีแนวทางการปฏิบัติของมหาวิทยาลัยเพื่อความยั่งยืน มีการบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในด้านพลังงาน ด้วยการลดการใช้พลังร่วมกับการใช้พลังงานทดแทนและการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ โดยการจัดประชุมเครื่อข่ายมหาวิทยาลัยครั้งนี้ กิจกรรมในวันที่ 31 ตุลาคม 2567 เปิดเวทีเสวนาและชมนิทรรศการด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิและเครือข่าย  และวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 มีลงพื้นที่ศึกษาดูงานโครงการต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมินำไปถ่ายทอดและพัฒนาเพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน ณ ชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ เป็นสถาบันการศึกษาส่วนหนึ่งของสังคมที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ ผ่านกระบวนการศึกษาและวิจัย โดยมีเป้าหมายผลลัพธ์ของการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพออกสู่สังคม รวมถึงการนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ถ่ายทอดผ่านกลไกการประยุกต์เพื่อให้เกิดการใช้งานที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคม ประเทศชาติ ดังนั้นบริบทของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภาคสถาบันการศึกษา จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง การประยุกต์แนวคิดของการพัฒนาอย่างยั่งยืนสู่นโยบายการบริหาร และกิจกรรมการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพขององค์ความรู้ และบัณฑิตที่ถูกผลิตจากมหาวิทยาลัยจะถูกบ่มเพาะความรู้ให้เป็นบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพ ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสู่ชุมชน และสังคมอย่างยั่งยืน