มีไม่บ่อยนักที่ ผู้บริหาร “ยักษ์เทค” ระดับโลกจะเดินทางมาไทย  ล่าสุดก็คือ รูธ โพรัท (Ruth Porat) ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการลงทุนของ Alphabet และ กูเกิล(Google) ได้เข้าพบ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ณ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา

เพื่อประกาศแผนลงทุนมูลค่า 3.6 หมื่นล้านบาท สร้าง Data Center และ Cloud Region ในประเทศไทย พร้อมโครงการสนับสนุนต่างๆ เพื่อขยายโอกาสด้าน AI ให้คนไทย ตามข้อตกลงที่ทำไว้กับรัฐบาลชุดก่อนของ นายเศรษฐา ทวีสิน  อดีตนายกรัฐมยตรี ในเดือน พ.ย. 2566

การลงทุนของ Google  ครั้งนี้ในไทย ถือเป็นเม็ดเงินที่มีมูลค่าสูง หลังจากที่ได้ดำเนินุรกิจในไทยมาเกือบ  13 ปี  โดยจะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน คือ ศูนย์ข้อมูล หรือ ดาต้าเซ็นเตอร์ (Data Center)  แห่งแรกในไทย ของ Google  จะตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ (WHA) ในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor – EEC) จังหวัดชลบุรี  ขณะที่ในส่วนของ Cloud Region จะตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ เพื่อตอบสนองความต้องการในการใช้งานคลาวด์ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทั่วโลก

รูธ โพรัท และ แพทองธาร ชินวัตร

เม็ดเงินกว่า  3.6 หมื่นล้านบาท ที่จะเข้ามาลงทุนในไทยนั้น คากว่าจะมี ส่วนช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 1.4 แสนล้านบาท ของ GDP ของประเทศไทย ภายในปี 2572 และสร้างงาน 14,000 ตำแหน่งต่อปีโดยเฉลี่ย ตั้งแต่ปี 2568 ถึง 2572

โดยโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์และศูนย์ข้อมูลของ Google ในกรุงเทพฯ และชลบุรีจะช่วยรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของการใช้งาน Google Cloud และ นวัตกรรม AI อีกทั้งบริการต่างๆ ของ Google ซึ่งเป็นที่นิยม เช่น Google Search, Google Maps และ Google Workspace ที่องค์กรต่างๆ และคนไทย ตลอดจนผู้คนหลายพันล้านคนทั่วโลกใช้ในชีวิตประจำวัน

ขณะที่  Cloud Region  จะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐ ธุรกิจขนาดเล็ก สตาร์ทอัพ ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากร AI/ML (Machine Learning) และการประมวลผลแบบออนดีมานด์ได้ง่ายและเร็วขึ้น ซึ่งจะช่วยทำให้บริการมีประสิทธิภาพสูงและมีความหน่วงต่ำ รวมถึงมอบเครื่องมือในการควบคุมหลักๆ แก่ลูกค้า

ช่วยให้ลูกค้าสามารถดูแลรักษาทั้งในเรื่องความปลอดภัยสูงสุด สถานที่ตั้งของข้อมูล และมาตรฐานการปฏิบัติงาน รวมถึงข้อกำหนดของที่เก็บข้อมูลเฉพาะ ตาม กฎหมายระเบียบของไทย  สอดรับกับ นโยบายการใช้งานระบบคลาวด์เป็นหลัก (Cloud-First Policy) ของรัฐบาลด้วย

 ขณะเดียวกัน  Google ยังได้เดินหน้าต่อยอดโครงการต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเติบโตในเศรษฐกิจ AI และช่วยให้คนไทยทุกคนเข้าถึงทักษะด้านดิจิทัลและ AI ได้มากขึ้นตามพันธกิจ “Leave No Thai Behind”

 ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ได้เข้ามามีบทบาทในธุรกิจและชีวิตประจำวันของคน ซึ่งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ได้มีการฝึกอบรมทักษะด้านดิจิทัลให้กับ นักเรียน นักการศึกษา ผู้ประกอบการ SME และนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ของไทนไปแล้วกว่า  3.6 ล้านคน

โดยเฉพาะการเปิดตัวหลักสูตรใหม่ คือ  AI Essentials และยังมีโครงการ Samart Skills ที่มุ่งให้ผู้เรียนได้รับความรู้และทักษะที่สำคัญเกี่ยวกับเครื่องมือ AI และการใช้งาน นอกจากนี้ยังมี Gemini Academy ซึ่งเป็นโครงการฝึกอบรมทักษะด้าน AI ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ครูใช้งาน AI อย่างปลอดภัย ยกระดับความคิดสร้างสรรค์ และเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน โครงการนี้ให้การฝึกอบรมนักการศึกษาไทยไปแล้ว 20,000 คนนับตั้งแต่ปี 2566

และทาง Google ยังได้วางแผนลงทุนและสนับสนุนทักษะด้าน AI ในประเทศไทยผ่านองค์กรในประเทศ โดยตั้งเป้าส่งเสริมคนไทยจำนวน 150,000 คนภายในปี 2569 ด้วย

อย่างก็ตาม Google ยังได้ทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ในประเทศไทยในการเผยแพร่ชุดข้อมูลภาษาไทยแบบโอเพนซอร์สเพื่อใช้ในการฝึกโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Model – LLM) ซึ่งจะช่วยพัฒนาโมเดลภาษาให้เข้าใจบริบททางภาษษไทยมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยให้การใช้งานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ซึ่งก่อนหน้านี้ทาง  Google  ได้จัดทำโครงการ Project SEALD (Southeast Asian Languages in One Network Data) ซึ่งเป็นความร่วมมือกับ AI Singapore ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการวิจัยและนวัตกรรมระดับชาติของสิงคโปร์ ในการทำให้ AI ครอบคลุม เข้าถึงได้ และมีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อผู้ใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการพัฒนาความก้าวหน้าในการทำความเข้าใจภาษาต่างๆ ทั่วโลกเป็นสิ่งสำคัญต่อการลดช่องว่างทางดิจิทัล (Digital Divide) เพื่อให้าความก้าวหน้าทาง AI มีความเท่าเทียมตั้งแต่แรกเริ่ม

 อย่างไรก็ตามการที่ทาง  Google เลือกประเทศในในการสร้าง  “ ดาต้าเซ็นเตอร์” แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทย มีความพร้อมที่จะซัพพอร์ต ความต้องการขอบริษัทเทคระดับโลกได้ เพราะตัวแปรที่บริษัทระดับโลกเหล่านี้จะเข้ามาลงทุน นอกจากความต้องการในการใช้งานที่ต้องมีปริมาณที่สูงแล้ว

ปัจจัยในเรื่องอื่นๆ เช่น  การจัดหาพลังงานสะอาด ก็เป็นเงื่อนไขที่ไทยต้องมีให้ เนื่องด้วยนโยบายในการรักษาสิ่งงแวดล้อม และ “เน็ตซีโร่”  การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์   ของบริษัทระดับโลก รวมถึงต้องมีแหล่งน้ำที่เพียงพอ  เพราะ “ ดาต้าเซ็นเตอร์” ต้องมีการประมวลผล หรือทำงานตลอด  24 ชั่วโมง ในทุกวัน  ทำให้อุณภูมิสูง ต้องมีการใช้น้ำปริมาณจำนวนมาก ระบบหล่อเย็น ขณะเดียวกันเรื่องไฟฟ้า ที่ใช้  ก็ต้องมีไฟสำรองที่สามารถใช้งานได้ทันทีกรณีเกิดไฟฟ้าดับ และที่สำคัญ ต้องตั้งอยู่ในพื้นที่สูงที่ไม่ถูกน้ำท่วม เป็นต้น

นอกจากนี้มาตารการของภาครัฐในการส่งเสริมการลงทุนให้สิทธิพิเศษทางภาษี ก็เป็นอีกสิ่งที่จะจูงใจดึงบริษัทเหล่านี้เข้ามา ซึ่งข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ  บีโอไอ   ปัจจุบันมีโครงการ Data Center และ Cloud Service ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ รวม 46 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 1.679 แสนล้านบาท

 ทำให้ไทยเข้าใกล้ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลาง(ฮับ)เศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคตามเป้าหมายของรัฐบาล.

Cyber Daily

ภาพ : Google