“ทองคำ” เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ที่ใครๆก็อยากเป็นเจ้าของ แต่เนื่องด้วยมูลค่าขณะนี้สูงขึ้นมาเยอะมาก ทำให้ผู้บริโภคที่กำลังซื้อน้อยหรือค่อนข้างจำกัดไม่สามารถซื้อได้ในทันที จึงกลายเป็นที่มาของ “ผ่อนทอง” และ “ออมทอง”ขึ้นในปัจจุบัน 

แต่รูปแบบของ “ผ่อนทอง” และ “ออมทอง” รู้หรือไม่ว่าแตกต่างกันอย่างไร??

ผ่อนทอง คือ เป็นรูปแบบการซื้อทองคำที่ตกลงราคากันไว้ก่อน ( ล็อคราคา ) แล้วทะยอยจ่ายหรือผ่อนจ่ายทีหลัง ซึ่งสามารถเลือกลวดลายและน้ำหนักทอง ( ครึ่งสลึง, 1 สลึง, 2 สลึง ,1 บาท ) ไว้ล่วงหน้าก่อนได้  โดยการผ่อนจะมีอยู่ 2 แบบคือ

“ผ่อนทองกับร้านทอง”  คือ การซื้อทองคำและผ่อนจ่ายกับร้านทองโดยตรง , เป็นรูปแบบ “ผ่อนครบ รับทองทันที “ คือ ชำระราคาทองจนครบจึงค่อยนัดรับทองที่ร้านทอง โดยจะได้ราคาทอง ณ วันที่ทำการซื้อ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีระยะเวลาผ่อนที่กำหนดไว้คือ 3 เดือน,6 เดือน เป็นต้น และหากยกเลิกการผ่อนจะมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ด้วย ซึ่งข้อดีของการผ่อนทองกับร้านทองคือไม่ต้องกังวลเรื่องทองหาย แต่ข้อเสียคือจะไม่ได้ทองคำในทันที

“ผ่อนทองกับบัตรเครดิต”  คือ การใช้ “บัตรเครดิต“ รูดซื้อทอง เหมือนรูดซื้อสินค้าทั่วไป  ( ต่างจาก “บัตรผ่อนสินค้า” ที่เอาไว้ผ่อนอย่างเดียว ) แล้วผ่อนจ่ายคืนผ่านทางธนาคาร โดยเป็นรูปแบบ “รับทองก่อน ผ่อนทีหลัง“ คือได้สินค้าไปใช้ก่อนแล้วแบ่งชำระเป็น “งวด” (รายเดือน) โดยมี “อัตราดอกเบี้ย”ในการผ่อนชำระ คิดเป็น % ต่อเดือน และค่าบริการ ( ชาร์จ ) 3-5 %  ด้วย ซึ่งมีระยะเวลาในการผ่อนชำระรายเดือนตั้งแต่ 6 เดือน,10 เดือน ( นานสุด 24 เดือน ) และบางบัตรมีโปรโมชั่นดอกเบี้ยพิเศษ 0 % หากผ่อนในเวลาที่กำหนด ( ส่วนใหญ่ 3 เดือน ) หรือมีส่วนลด ค่ากำเหน็จ,ค่าพรีเมี่ยม,ฟรีค่าธรรมเนียมในการรูดซื้อ เป็นต้น โดยข้อดีของการผ่อนกับบัตรเครดิตคือสามารถซื้อทองน้ำหนักเยอะ ๆ ได้ เช่น ทอง 1 บาท , ทอง 2 บาท แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ “วงเงิน” ในบัตรอาจไม่พอซื้อ

ออมทอง คือ  เป็นการใช้ เงินเก็บ,เงินออม ที่ได้เก็บหอมรอมริบมานำไปซื้อทองคำ โดยจะคล้ายๆ กับการซื้อด้วยเงินสด แต่แตกต่างตรงที่จะไม่ทุ่มซื้อครั้งเดียวหมด แต่จะทะยอยซื้อไปเรื่อย ๆ ตามช่วงจังหวะราคาทองถูก หรือตามจำนวนเงินที่เก็บได้ เพราะบางคนมีปัญหา “เก็บเงินไม่อยู่” จึงเน้นราคาทองที่พอซื้อได้เท่านั้น หรือจะเลือกวิธี “ออมทอง” คือ การทยอยซื้อทองคำเก็บสะสมแบบรายเดือน  ,ใช้วิธีเดียวกับการซื้อหุ้นเก็บ ( ออมหุ้น ) แบบ ถัวเฉลี่ยต้นทุน หรือ DCA ( dollar cost averaging ) คือกำหนดจำนวนเงินที่จะซื้อทองในแต่ละเดือน ,ซื้อโดยไม่สนใจราคาทอง , เมื่อออมจนครบตามน้ำหนักหรือราคาทองที่ต้องการก็สามารถเบิกทองคำมาเก็บไว้ได้