ปัจจุบันเป็นที่กล่าวถึงในวงกว้างสำหรับ Upcycling กระบวนการที่นำสิ่งของเหลือใช้ หรือสิ่งของที่กำลังจะถูกทิ้งเป็นขยะ นำกลับมาใช้อีกครั้ง ด้วยการนำไปปรับปรุงและออกแบบให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ไม่เหมือนของเดิม แต่มีคุณภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิม และนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงเป็นการเพิ่มมูลค่าสิ่งของเหล่านั้นให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น 

SX TALK SERIES ครั้งที่ 6 เปิดเวทีเสวนาให้ความรู้แลกเปลี่ยนมุมมองข้อมูลด้านความยั่งยืน โดยครั้งล่าสุดที่เพิ่งผ่านไปก่อนมุ่งสู่ Sustainability Expo 2024 (SX2024) นำเรื่อง Upcycling จัดเสวนา Upcycling Waste “ชุบชีวิตขยะ เปลี่ยนโลก” โดยมี 3 วิทยากรชั้นนำด้านการ Upcycling คุณวิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์ คุณธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์ และคุณสมภพ มาจิสวาลา ร่วมแชร์พลังความคิดสร้างสรรค์ เปลี่ยนขยะเป็นทรัพยากรที่มีค่า แลกเปลี่ยนแนวคิดใหม่ๆรักษ์โลกอย่างยั่งยืน ณ C asean Samyan CO-OP สามย่านมิตรทาวน์

จากขยะสู่ศิลปะการ Upcycle และ Regenative Art เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน วิชชุลดา ปัณฑรานุวงศ์ ศิลปินผู้สร้างสรรค์งานศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ให้มุมมองในประเด็นนี้ว่า การสร้างงานศิลปะต้องคำนึงถึงที่มาที่ไป ต้องคิดนับแต่ต้นทางในการออกแบบ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นการสร้างขยะเต็มไปหมด

“ปัจจุบันใช้แนวคิดเรื่องของการ Regenative Art and Design ซึ่งไม่ใช่แค่การ Upcycle อย่างเดียว แต่ต้องฟื้นฟู และมองให้ลึกรอบด้านว่าจะทำอย่างไรให้สังคมและสิ่งแวดล้อมดีขึ้นให้ได้ นอกจากนี้ยังเน้นการทำงานให้ตอบโจทย์เรื่อง 3P คือ People มีการกระจายรายได้สู่ชุมชน ให้เขาได้เรียนรู้ไปด้วยกันว่าตั้งแต่การคัดแยกขยะรวมไปถึงการสร้างอาชีพให้กับชาวบ้าน Profit ทุกงานจะมีการทำซ้ำเรื่อยๆ ไม่ใช่จบโปรเจคแล้วหายไปจากชุมชน แต่คือการพัฒนาชุมชนไปด้วยกันกับการทำงานศิลปะร่วมกันกับเรา และ Planet ปัจจุบันมีการรวบรวมขยะกว่า 40 ประเภท และหมุนเวียนไปได้แล้วกว่าสอง 30,000 กว่ากิโลกรัม”  อยากฝากข้อคิดกับทุกคนว่า โลกของเรามีเพียงแค่ใบเดียว ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลงวันนี้ มัวแต่คิดเราคงทำไม่ได้หรอกต้องให้คนอื่นทำ มันก็คงจะกลายเป็นสิ่งที่อาจจะช้าเกินไปหรือสายเกินไป ทุกคนสามารถที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงได้

 ขณะที่ ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์ ผู้อำนายการฝ่ายออกแบบและผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์ Qualyกล่าวว่า ศักยภาพของความคิสร้างสรรค์สามารถพาเราไปได้ไกลมากกว่าที่คิด เราสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อโลกที่ยั่งยืนได้ และสิ่งสำคัญคือการมีส่วนร่วมของผู้ผลิตและผู้บริโภคในการมีความรับผิดชอบ ถ้าทุกคนรับผิดชอบคนละนิด ก็จะช่วยให้ทุกอย่างดีขึ้นได้

“วัสดุที่เรานำมาใช้ผลิตสินค้าก็เป็นของที่เห็นในชีวิตประจำวันที่ถูกใช้แล้วทิ้งอยู่ทุกๆวัน แบรนด์ Qualy เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคส่งขยะที่บริโภคและทำความสะอาดแล้วส่งมาให้เรา หรือการเข้าไปหาชุมชนที่ทำโครงการต่างๆ เพื่อนำขยะพลาสติกมาทำงานโดยร่วมมือกับโครงการต่างๆที่รณรงค์ ทั้งสร้างการรับรู้สิ่งที่บริโภคแต่ละวัน เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไง บอกเล่าผ่านบรรจุภัณฑ์ของเรา”

การที่เราใช้ไอเดียจะขยายความคิดของเราไปสู่ความยั่งยืนได้มาก อยากให้ทุกคนอย่าคิดว่าเราทำเพื่อความยั่งยืนนิดหน่อยจะไม่มีผล ซึ่งจริงๆแล้วทั้งเรื่องการทำลาย เรื่องของการสร้างสรรค์ มันเกิดจากการที่เราละเลยคนละนิดละหน่อย แต่จำนวนคนเยอะก็เลย Impact ถ้าทุกคนจะทำธุรกิจ ทำอาชีพทำกิจกรรมการบริโภคหรืออะไรต่างๆก็ขอให้ความยั่งยืนลองคิดว่าเป็นส่วนหนึ่ง  ทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งของความยั่งยืนไปด้วยกันได้

ทางด้าน สมภพ มาจิสวาลา ผู้พัฒนา Recycoex (รีไซโคเอ็กซ์)กล่าวถึงการพัฒนาช่องทางการรับซื้อขยะเพื่อเป้าหมายสู่การเปลี่ยนขยะให้เป็นศูนย์ว่า การ Upcycle คือการทำให้วัสดุมีมูลค่าเพิ่มมากยิ่งขึ้น อยู่ตรงข้ามกับคำว่า Downcycle โดยถ้านำขยะไปเผามูลค่าก็ลดลง ไม่ควรทำ เพราะฉะนั้นการ Upcycle คือการทำให้ขยะเข้าสู่กระบวนการมากยิ่งขึ้น เราใช้ขยะในการผลิตวัสดุก่อสร้างจำนวนเยอะมาก เดือนหนึ่งประมาณ 300- 400 ตันจึงทำให้รู้ว่าในฝั่งผู้ประกอบการขยะไม่พอ อย่าง โฟม เรามีการตั้งจุดรับซื้อโฟมเป็นจุด Drive thru เพื่อนำมารีไซเคิลเป็นวัสดุก่อสร้าง หรือโครงการที่คลองเตยให้ชาวบ้านช่วยกรอกน้ำมันที่ใช้แล้วใส่ในขวดนำมาขาย สร้างอาชีพ สร้างรายได้และอนาคตจะมีการพัฒนาโครงการและพัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่นขยายโครงการต่อไป ทั้งนี้ SX TALK SERIES เป็นหนึ่งในกิจกรรมของงาน Sustainability Expo 2024โดยปีนี้จัดขึ้น 6 ครั้งและหลังจากนี้จะพบกันในงาน SX2024 Sustainability expo 2024 ในวันที่ 27 กันยายน – 6 ตุลาคม 2567  ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์