ไทม์ไลน์ “รัฐบาลแพทองธาร 1” หลังจากที่ได้เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณ จากนั้นก็ได้มีประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อจัดทำร่างแถลงนโยบายส่งสภาและกำหนดวันแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันที่ 12-13 กันยายน 2567 นั้น ซึ่งรัฐบาลนี้ก็ได้ประกาศไว้แล้วว่าจะเดินหน้าโครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท โดยล่าสุดมีความชัดเจนที่จะจ่ายเป็นเงินสดให้กับกลุ่มเปราะบาง จำนวน 14.5 ล้านรายเป็นกลุ่มแรก ซึ่งจะเป็นกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐบัตรคนจน จำนวน 13.5 ล้านคน และกลุ่มคนพิการ จำนวน 1 ล้านคน ในเดือนกันยายน 2567 เหตุผลการแจกเงินให้กลุ่มเปราะบางก่อน เนื่องจากรัฐบาลมองเห็นว่า เป็นกลุ่มที่มีความจำเป็นและต้องการความช่วยเหลือเป็นอันดับแรก
ทั้งนี้ในส่วนของ บัตรคนพิการ นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ออกมาเตือนว่า สำหรับบัตรคนพิการให้ดูด้วยว่าหมดบัตรอายุหรือยัง เพราะ บัตรประจำตัวคนพิการมีอายุ 8 ปี นับตั้งแต่วันออกบัตร หากหมดแล้วก็ต้องไปต่ออายุบัตรประจำตัวคนพิการและตรวจสอบบัญชีธนาคารรับเบี้ยความพิการ
สามารถทำบัตรและต่อบัตรคนพิการ ได้ที่ไหน?
การต่ออายุบัตรคนพิการสามารถต่อได้ที่ศูนย์บริการคนพิการ ประจำจังหวัด ตั้งอยู่ที่ศาลากลางจังหวัด เอกสารที่ใช้ทำบัตรคนพิการ (บัตรเดิมหมดอายุ / สูญหาย / ชำรุด / แก้ไขข้อมูลสำคัญ) https://www.dep.go.th/th/rights-welfares-services/register-disabled-person-id-card
สถานพยาบาลที่ให้บริการออกเอกสารรับรองความพิการให้แก่คนพิการ
สถานพยาบาลรัฐบาลสามารถออกเอกสารรับรองความพิการได้ทุกแห่ง
สถานพยาบาลเอกชนเข้าร่วมออกเอกสารรับรองความพิการให้แก่คนพิการ
เอกสารสำหรับคนพิการที่ต้องเตรียม
- บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง หรือ สำเนาบัตรประชาชน (รับรองสำเนาหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ) สำเนาทะเบียนบ้าน (รับรองสำเนาหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ) รูปถ่ายสี 1 นิ้ว 2 รูป ไม่เกิน 6 เดือน สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-เปลี่ยนนามสกุล (กรณีเปลี่ยนชื่อ-เปลี่ยนนามสกุล) บัตรคนพิการเดิมหรือสมุดคนพิการ เอกสารรับรองความพิการ (กรณีเพิ่มประเภทความพิการ / กรณีสมุดคนพิการหาย) บัตรคนพิการ สามารถต่อล่วงหน้าได้ 30 วัน ก่อนหมดอายุ เอกสารผู้ดูแลที่ต้องเตรียม บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง หรือ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน (รับรองสำเนา) สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-เปลี่ยนนามสกุล (กรณีเปลี่ยนชื่อ-เปลี่ยนนามสกุล) ** กรณี (สมุดคนพิการ) หายต้องให้แพทย์ประเมินความพิการมาใหม่
- หากคนพิการมีปัญหา หรือมีข้อสงสัยในการดำเนินการขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่
– กรุงเทพมหานคร ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร โทร. 02-3543388 ต่อ 701-705 ในวันและเวลาราชการ
– ต่างจังหวัด ศูนย์บริการคนพิการจังหวัด
สถานที่ให้บริการออกบัตรประจำตัวคนพิการ ใน กรุงเทพมหานคร มีดังนี้
(1) ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร ณ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
(2) โรงพยาบาลสิรินธร
(3) โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
(4) สถาบันราชานุกูล
(5) โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
(6) โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง)
(7) ศูนย์บริการคนพิการสายไหม เคหะเอื้ออาทรสายไหม
(8) สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก)
- ศูนย์บริการคนพิการจังหวัด…
สถานที่ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ กรุงเทพมหานคร
(1) ฝ่ายสังคมสงเคราะห์งานเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลศิริราช
(2) ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี
(3) โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
สถานที่ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวคนพิการต่างจังหวัด
(1) โรงพยาบาลประจำจังหวัด/อำเภอ ที่มีศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จในโรงพยาบาล
(2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(3) หรือหน่วยงานของรัฐอื่นตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนด