นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า ดีป้าได้วางแนวทางการยกระดับกำลังคนและบุคลากรดิจิทัลของประเทศ แบ่งเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะสั้นกับโครงการ คอนเน็คชั่น ที่มุ่งพัฒนาศักยภาพการใช้ดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อสร้างยอดขายบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซแก่บรรดาผู้ประกอบการผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อต่าง ๆ เช่น การสร้างสตอรี่เทลริ่ง การไลฟ์ขายสินค้า การเปิดร้านค้าในโซเชียลคอมเมิร์ซ การใช้ข้อมูลวิเคราะห์ช่องทางขายสินค้าออนไลน์ด้วยแพลตฟอร์ม อี อีเทลลิเจนซ์ ฯลฯ

ส่วนในระยะกลาง กับการส่งเสริมและสนับสนุนผ่านมาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนการให้ทุนการศึกษาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล และระยะยาวกับโครงการ โค้ดดิ้ง ไทยแลนด์ ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 60 รวมถึงโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโค้ดดิ้ง อาทิ โครงการ โค้ดดิ้ง ฟอร์ แบทเทอร์ ไลฟ์ เพื่อสร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย

ด้านนายจักกนิตต์ คณานุรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการพัฒนากำลังคนดิจิทัล ดีป้า กล่าวว่า การส่งเสริมพัฒนากำลังคนดิจิทัล จะมุ่งเน้นการดำเนินงานใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ ดิจิทัล อีโคโนมี, ดิจิทัล โซไซตี้, ดิจิทัล อินฟาสทรัคเจอร์ และดิจิทัล แมนเพาเวอร์ โดยตั้งเป้าหมายในการพัฒนากำลังคนดิจิทัล 500,000 คน ภายใน 5 ปี หรือเฉลี่ยปีละ 100,000 คน เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต ซึ่งในส่วนของการเรียนรู้โค้ดดิ้ง ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ในโครงการ โค้ดดิ้ง ฟอร์ แบทเทอร์ ไลฟ์ เพื่อส่งเสริมการเรียน โค้ดดิ้ง ในโรงเรียน 1,500 แห่งทั่วประเทศ พร้อมทั้งพัฒนาครู 3,200 คน ให้เป็น โค้ดดิ้ง โค้ช เพื่อขยายผลการสอนโค้ดดิ้ง ให้กับนักเรียนกว่า 300,000 คนต่อปี ซึ่งสามารถเข้าถึงและเรียนรู้หลักสูตรจากโครงการฯ รวมถึงหลักสูตรจากพันธมิตรภาคเอกชน เช่น หัวเว่ยม อินเทล, ไมโครซอฟท์, โค้ด ดอทโออาร์จี รวมถึงสตาร์ทอัพไทย เพื่อให้การเรียนการสอนสอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม

นอกจากนี้ในส่วนการพัฒนาด้านอาชีวศึกษา ได้ส่งเสริมการพัฒนโครงสร้างพื้นฐานให้กับวิทยาลัยอาชีวศึกษา 21 แห่งทั่วประเทศ และมีหลักสูตรครอบคลุมด้าน เทคโนโลยีการเกษตร, โดรน, ไอโอที และอีวี โดยร่วมมือกับบริษัทชั้นนำอย่าง ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี และได้ร่วมมือกับ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในการพัฒนาหลักสูตรทักษะด้าน เอไอ, ไอโอที คลาว์ด คอมพิวติ้ง ด้วย