เมื่อวันที่ 1 ก.ย.ที่ห้องประชุมดอยหลวง โรงแรมแคนทารี ฮิลส์ จังหวัดเชียงใหม่ นางอรจิรา ศิริมงคล อุปนายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทยและประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน เป็นประธานเปิดการประกวดนักออกแบบผ้าไทยใส่ให้สนุกรุ่นใหม่ ระดับภาคเหนือ ตามโครงการนักออกแบบผ้าไทยใส่ให้สนุกรุ่นใหม่ 2567 (New Gen Young Designer 2024) โดยมี นางจิณณารัชช์ สัมพันธรัตน์ อุปนายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทยและประธานชมรมแม่บ้านกรมการปกครอง รองศาสตราจารย์ ดร.สุพรรณี ฉายะบุตร ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดลำปาง นายวีระพงษ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายวิฑูรย์ นวลนุกูล นายวรงค์ แสงเมือง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นางวาสนา นวลนุกูล รองประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน นายนักปราชญ์ ไชยานนท์ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ นายไพโรจน์ โสภาพร ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เข้าประกวด ร่วมในพิธีเปิด
การประกวดนักออกแบบผ้าไทยใส่ให้สนุกรุ่นใหม่ ระดับภาคเหนือ ตามโครงการนักออกแบบผ้าไทยใส่ให้สนุกรุ่นใหม่ 2567 (New Gen Young Designer 2024) ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะทำงานโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก เป็นคณะกรรมการตัดสิน ได้แก่ นายธนันท์รัฐ ธนเสฎฐการย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย ดร.ศรินดา จามรมาน นักวิชาการอิสระ นายศิริชัย ทหรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย เจ้าของแบรนด์ THEATRE คุณอารยา อินทรา ที่ปรึกษาด้านแฟชั่น อาจารย์พิเศษด้านแฟชั่น และสไตลิสต์ นายภูภวิศ กฤตพลนารา ผู้ก่อตั้งแบรนด์ ISSUE นายธนาวุฒิ ธนสารวิมล ครีเอทีฟไดเรกเตอร์และผู้ก่อตั้งแบรนด์ TANDT อาจารย์ ดร.กรกลด คำสุข รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และรักษาการแทน ผู้อำนวยการสำนักวิชาการสร้างสรรค์ วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รวิเทพ มุสิกะปาน ประธานหลักสูตรแฟชั่น สิ่งทอ และเครื่องตกแต่ง วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
นางอรจิรา ศิริมงคล อุปนายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทยและประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน กล่าวว่า นับเป็นพระกรุณาคุณต่อวงการผ้าไทยที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงมีแนวพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งส่งเสริมให้พวกเราคนไทยทุกคนได้สวมใส่ผ้าไทยที่หลากหลาย ในรูปแบบที่มีความทันสมัยสู่สากล เป็นที่นิยมในทุกเพศ ทุกวัย ทุกโอกาส ซึ่งการที่จะสวมใส่ผ้าไทยในทุกโอกาสได้นั้น ขึ้นอยู่กับการพัฒนาการออกแบบลวดลายและการตัดเย็บที่น่าสนใจ และสวยงาม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ด้านผ้าไทยมาถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และช่างทอผ้า เพื่อให้มีทักษะความรู้ นำไปสร้างอาชีพที่มั่นคง สามารถเพิ่มพูนรายได้ นอกจากนี้ พระองค์ทรงสอนให้พวกเราทุกคนมีความรับผิดชอบต่อโลกใบเดียวของเรา ทรงให้ความสำคัญกับการใช้สีธรรมชาติ เช่น การปลูกพืชและต้นไม้ให้สีธรรมชาติ การใช้วัสดุจากท้องถิ่น การใช้เส้นไหมเส้นฝ้ายที่มาจากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม หรือการปลูกฝ้าย เพราะวงจรชีวิตของผ้าไทยมาจากเกษตรกรผู้ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม
“ด้วยพระอัจฉริยภาพดังกล่าว กลายเกิดเป็น Sustainable Fashion หรือ “แฟชั่นแห่งความยั่งยืน” โดยนำสิ่งรอบตัวจากธรรมชาติมาผสมผสาน รวมถึงทรงส่งเสริมเรื่องการตลาดในการเพิ่มเรื่องเล่า Story Telling การพัฒนารูปแบบ Packaging ซึ่งกระทรวงมหาดไทย โดยท่านสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และสมาคมแม่บ้านมหาดไทย นำโดย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมการพัฒนาชุมชน จัดกิจกรรมกระตุ้นให้เกิดการสวมใส่ผ้าไทยเป็นวิถีชีวิตในชีวิตประจำวัน รวมทั้งการถ่ายทอดภูมิปัญญาสู่เด็ก เยาวชน คนรุ่นต่อไป เพื่อให้ภูมิปัญญาเหล่านี้อยู่คู่กับสังคมไทยไปชั่วกาลนาน”
นางอรจิรา กล่าวเพิ่มเติมนางอรจิรา กล่าวเน้นย้ำในช่วงท้ายว่า การประกวดนักออกแบบผ้าไทยใส่ให้สนุกรุ่นใหม่ ระดับภาคเหนือ ที่ประกวดในวันนี้ จะทำให้เกิดการตื่นตัวในการพัฒนาการออกแบบตัดเย็บของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ช่างทอผ้า ตลอดจนนักเรียน นิสิต นักศึกษา และผู้ที่สนใจจะเป็นนักออกแบบตัดเย็บให้เกิดการรังสรรค์การออกแบบตัดเย็บผืนผ้าไทยให้มีความสวยงาม ทันสมัย สู่สากล สอดคล้องกับแฟชั่นสมัยนิยม ตามแนวพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญา ซึ่งต้องขอขอบคุณท่านผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย ดีไซเนอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบตัดเย็บ ประธานชมรมแม่บ้านกรมการปกครอง และประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดเชียงใหม่ และประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดลำปาง ที่ได้ให้เกียรติร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดนักออกแบบผ้าไทยใส่ให้สนุกรุ่นใหม่ ระดับภาคเหนือในวันนี้ และขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ทำให้มีกิจกรรมที่ดีเช่นนี้เกิดขึ้น
นายไพโรจน์ โสภาพร ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมภูมิปัปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน ได้ขับเคลื่อนโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ตามแนวพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เพื่อให้รายได้กลับสู่ชุมชน ส่งเสริมและกระตุ้นผ้าไทยให้ทันสมัยสู่สากล เป็นที่นิยมในทุกเพศ ทุกวัยและทุกโอกาส นำมาซึ่งการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างชีวิตที่ดีให้กับช่างทอผ้า และครอบครัวอย่างยั่งยืน มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน มีโครงการที่สามารถเป็นโมเดลของความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาผ้าไทยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน จำนวน 3 โมเดล ได้แด้แก่ “ดอนกอยโมเดล” “นาหว้าโมเดล” และ “บาติกโมเดล” “ในปี 2567 กรมการพัฒนาชุมชน ได้ขับเคลื่อนโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ด้วยการจัดทำโครงการนักออกแบบผ้าไทยใส่ให้สนุกรุ่นใหม่ 2567 (New Gen Young Designer 2024) เพื่อพัฒนาผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย สู่การเป็นนักออกแบบผ้าไทย เพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย และนักออกแบบผ้าไทย และเพื่อประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการใช้และการสวมใส่ผ้าไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ซึ่งกรมการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินการรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมการประกวด ระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม – 25 สิงหาคม 2567 มีผู้สมัครที่มีคุณสมบัติครบถ้วน จำนวนทั้งสิ้น 285 ราย และกรมการพัฒนาชุมชน ได้จัดประกวดรอบคัดเลือกให้เหลือจำนวน 80 ราย/ทีม เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา” นายไพโรจน์ กล่าว
สำหรับโครงการนักออกแบบผ้าไทยใส่ให้สนุกรุ่นใหม่ 2567 (New Gen Young Designer 2024) ภาคเหนือ มีผู้สมัครเข้าประกวด จำนวนทั้งสิ้น 60 ราย/ทีม และผ่านเข้ารอบระดับภาคเหนือ จำนวน 19 ราย/ทีม ซึ่งจะเข้าร่วมการประกวดรอบระดับภาคเหนือในวันนี้ โดยมาจากจังหวัดเชียงใหม่ 6 ราย/ทีม จังหวัดเชียงราย 4 ราย/ทีม จังหวัดน่าน 2 ราย/ทีม จังหวัดพะเยา 3 ราย/ทีม จังหวัดแพร่ 1 ราย/ทีม จังหวัดลำปาง 1 ราย/ทีม จังหวัดลำพูน 1 ราย/ทีม และจังหวัดอุทัยธานี 1 ราย/ทีม ซึ่งการประกวดในวันนี้คณะกรรมการฯ จะทำการคัดเลือกให้เหลือตัวแทนระดับภาคเหนือ จำนวน 10 ราย/ทีม เพื่อเป็นตัวแทนในการเข้าร่วมการแข่งขันในระดับประเทศ ในวันที่ 29 ตุลาคม 2567 ณ กรุงเทพมหานคร ต่อไป