เรียกได้ว่าเป็นกระแสที่กลายเป็นไวรัลอย่างมากอยู่ในขณะนี้ หลังเมื่อวันที่ 22 ส.ค. 67 ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เผยข้อมูลลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว Thon Thamrongnawasawat ชี้ว่า ” 4 ข้อหลักๆ ความเปลี่ยนแปลงของปะการัง หลังจากเกิดการฟอกขาวมาเป็นระยะเวลา 3-4 เดือน เผยเป็นช่วงสำคัญที่สุดของปะการัง”

โดย ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ระบุข้อความว่า “จัดความรู้แบบหนักๆ ให้กับเพื่อนธรณ์ตั้งแต่ตอนเช้า ภาพนี้แสดงความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ใน 3 เดือน หลังฟอกขาว ผมจะอธิบายทีละข้อดังต่อไปนี้”

อย่างแรก น้ำเย็นแล้ว ปะการังฟอกขาวหายไปเยอะ จะเห็นเพียงสีขาวประปราย ฟอกขาวตอนนี้ต่างจากตอนก่อน เมื่อเดือนพฤษภาคม ฟอกขาวหมายถึงแย่ แต่เดือนสิงหาคม ฟอกขาวหมายถึงมีโอกาสฟื้นเพราะที่เลวร้ายกว่าฟอกขาวคือปื้นสีดำ ปะการังตายแล้ว

อย่างสอง ปะการังฟอกขาวในแต่ละที่ตายไม่เท่ากัน สังเกตแนวคลื่นและน้ำไหลเข้า (ลูกศรแดง) จะเห็นว่ามาทางด้านบน ไหลผ่านแนวปะการังลงไปด้านล่างเขตที่รับคลื่น น้ำหมุนเวียนดี น้ำไม่แช่และไม่ร้อนจัด ทำให้ปะการังแถวนั้นตายน้อยกว่า ในเขตด้านในและด้านล่าง น้ำจะนิ่งสงบ เดิมทีเป็นที่อยู่ของปะการังจำนวนมาก แต่เมื่อน้ำร้อนผิดปกติ ปะการังจึงแช่นาน จุดที่เคยเหมาะสมกลายเป็นจุดทำร้ายปะการังปะการังที่เราติดตามเป็นปะการังก้อนขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2 เมตร อายุเป็นร้อยปีขึ้นไป (ปะการังก้อนโตช้ามาก ปีละ (2-3 เซนติเมตร) ปะการังใหญ่แทบทุกก้อนในบริเวณนั้นตายหมด แสดงว่าแม้อยู่มานานผ่านมาทุกอย่าง แต่โลกเปลี่ยนรวดเร็วรุนแรง เพราะก๊าซเรือนกระจกจากมนุษย์ ปู่ทวดปะการังยังตายตายไปเยอะแค่ไหนจริงหรือไม่ ลองเทียบปื้นดำกับขนาดเรือเร็ว 24 ที่นั่ง คงพอบอกได้

อย่างสาม ความตายของปะการังทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เพราะสัตว์น้ำแต่ละกลุ่มมีพื้นที่อยู่อาศัยต่างกัน ปัจจัยต่างกันเมื่อปะการังน้ำนิ่งในพื้นที่หลบลมตายหมด สัตว์น้ำย่อมลดลง บางชนิดอาจหายไปเลย เพราะไม่มีปะการังแบบที่ชอบให้อาศัย อีกทั้งจะเล่าประเด็นนี้ต่อไปในวันหน้า

อย่างสุดท้าย การทำมาหากินของพี่น้องจะเดือดร้อน ปกติประมงพื้นบ้านเรือเล็กทำมาหากินในพื้นที่ลมสงบ ปะการังน้ำนิ่งช่วยทำให้สัตว์น้ำใกล้ๆ อุดมสมบูรณ์ แต่ตอนนี้เหลือแต่ปะการังรับคลื่น เอาเรือจิ๋วไปวางอวนจับสัตว์น้ำตรงหัวคลื่นไม่ง่ายหรอก และยังรวมถึงการทำวิจัย ตลอด 4 ปี ที่ผ่านมา เรือผมจอดที่จุดเดิมตลอด อ่าวเล็กน้ำนิ่งเอาโดรนขึ้นจากเรือได้สบาย พาเด็กๆ มาฝึกทำงานก็ง่าย เพราะทะเลเรียบกริบตอนนี้ปะการังรอบเรือตายหมดแล้ว หากอยากดูปะการังต่อ ต้องไปลุยที่หัวเกาะ เพราะจะจอดเรือยังไง ถึงจอดได้เรือก็โคลงจนโดรนตกน้ำป๋อม (ตอนขึ้นลงจากเรือ) แถมคลื่นตูมๆ อย่างนี้ใครจะกล้าส่งนิสิตลงไป ผมไม่เสี่ยงแน่

อย่างไรก็ตาม ที่เล่ามาคงพอให้เพื่อนธรณ์ทราบถึงสถานการณ์ และผลกระทบที่ตามมาจึงมาทะเลในทริปนี้ ในวันที่แทบไม่มีใครพูดถึงปะการังฟอกขาวอีกแล้ว แต่ช่วงสำคัญสุดของปะการังฟอกขาว ไม่ใช่ช่วงฟอกขาว เป็นช่วงหลังฟอกขาว 3-4 เดือนต่างหาก เพราะจะเป็นตัวบอกว่าปะการังตายและรอดมากน้อยแค่ไหนจริงหรือไม่ และทำไมถึงตาย ทำไมถึงรอดจริงมั้ย ถ้าเราไม่ทำตอนนี้ ไม่เรียนรู้ตอนนี้ แล้วเรารู้อะไร และจะวางแผนรับมือคราวหน้ายังไง เพราะโลกร้อนไม่ใช่เรื่องดราม่า ผ่านจุดพีคแล้วจบกัน จุดพีคที่แท้จริงคือ the day after อีกด้วย..

ขอบคุณข้อมูล : Thon Thamrongnawasawat