ด้วยประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมากกว่า 100 ปี ทั้งยังเป็นต้น กำาเนิดความรุ่งเรืองของกิจการรถไฟไทยและเต็มไปด้วยกลิ่นอายบรรยากาศที่ชวนขนหัวลุก พื้นที่กว่า 31,000 ตารางเมตรของสวนสาธารณะบนที่ดินของการรถไฟ จังหวัดเชียงใหม่ จึงถูกเนรมิตให้เป็นสถานที่จัดงาน “เทศกาลขนหัวลุก เวียงพิงค์” ตอนแม่นาคแอ่วเหนือ ภาคต่อจากงานเทศกาลขนหัวลุกมักกะสันที่ประสบความสำาเร็จอย่างล้นหลาม
ไม่ใช่เพียงแค่เพื่อคืนชีวิตให้แก่สวนสาธารณะแห่งนี้เท่านั้น แต่ยังเป็นการรวบรวมกิจกรรมและธุรกิจความเชื่อ ความศรัทธาของคนไทยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีกระแสอยู่ในความสนใจของคนไทยในทุกระดับ มุ่งเน้นการสร้างความประทับใจเพื่อนำาไปสู่การเดินทางเที่ยวยังแหล่งต้นทาง จึงมีผู้ประกอบการและชุมชนท้องถิ่นมาเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งถึง 70 ราย
“เทศกาลขนหัวลุก เวียงพิงค์” ได้รวบรวมเรื่องราววัฒนธรรมไทยล้านนาด้านความเชื่อ รวมถึงองค์ความรู้ที่สืบทอดจากบรรพบุรุษนำาทุนทางวัฒนธรรมไทยต่อยอดสร้างเศรษฐกิจกระตุ้นการเดินทางสู่แหล่งท่องเที่ยวต้นทางในรูปแบบงานที่สนุกตื่นเต้น และสวยงาม แบ่งกิจกรรมออกเป็น 8 สาย ได้แก่ สายเสริม พื้นที่สำาหรับผู้ที่สนใจเรื่องการเสริมความเป็นสิริมงคล อาทิ เครื่องราง เครื่องประดับสายมู Art toy ลอตเตอรี่ เป็นต้น
ตามมาด้วย สายกิน อิ่มอร่อยกับ สตรีทฟู้ด อาหารถิ่นชื่อดัง อาหารไทยพื้นบ้าน ขนมโบราณ เครื่องดื่มสมุนไพร พิเศษ…“ลูกชิ้นยันต์” อาหารพิเศษเพื่อเทศกาลนี้โดยเฉพาะ บนลูกชิ้นลงยันต์นะลือชา ปรุงด้วยน้ำซุปปลุกเสกผสมด้วยน้ำมนต์ และต้มด้วยหม้อลงยันต์มงคล ทั้งนะโภคทรัพย์ ยันต์จัตตุโร และยันต์เศรษฐี สายไหว้ ไหว้ขอพร โชคลาภ การงาน ได้แก่ เสด็จพ่อ ร.5 พระพุทธรูปในหอธรรม สายบุญ ร่วมทำาบุญบริจาคทานกับมูลนิธิสว่างสำาเร็จเชียงใหม
สายดวง กิจกรรมดูฮวงจุ้ย ดูไพ่ กับหมอดูชื่อดัง ได้แก่ อาจารย์แหม่ม ไร่ออราเคิล ชุดเทพคติ, อาจารย์นุ่น ไพ่ตองส่องใจ เป็นต้น สายสนุก สนุกสนานกับกิจกรรมงานวัดแบบดั้งเดิม อาทิ ชิงช้าสวรรค์ ยิงปืนจุกน้ำปลา ปาลูกโป่ง สาวน้อยตกน้ำ สายสยอง หลอนให้สุดกับแกลเลอรีผีสิง ชมหนังผีกลางแปลง สาธิตการเล่นผีถ้วยแก้ว และการตกแต่งรอบ ๆ พื้นที่การจัดงานสุดหลอน ให้ผู้ร่วมงานได้แชะ&แชร์ อาทิ สะพานสีเลือด, Blacklight Tunnel เป็นต้น และ สายย่อ สุดมันกับการแสดงคอนเสิร์ตจากศิลปิน ลานนา คัมมินส์, Gap The Voice, Don The Voice และ ปราง ปรางทิพย์ The Voice
ขนหัวลุกแล้วเช้าไปมูกันต่อกับเส้นทางท่องเที่ยวไหว้พระธาตุประจำาปีเกิด เริ่มต้นที่ “วัดเจ็ดยอด” พระธาตุประจำาปีเกิดนักษัตรมะเส็งตามคติของชาวล้านนา ที่นี่เคยเป็นสถานที่สังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 8 ของโลก และเจดีย์ศรีมหาโพธิ์พุทธคยา เป็นวัดที่สมเด็จพระเจ้าติโลกราชกษัตริย์แห่งราชวงศ์เม็งรายของล้านนาโปรดเกล้าให้สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.1998 และทรงนิมนต์พระอุตตมปัญญามหาเถระมาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกพร้อมกับการปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์จึงได้พระราชทานนามวัดแห่งนี้ว่า “โพธารามมหาวิหาร” แต่เพราะวิหารมียอดเป็นเจดีย์ 7 องค์ คนทั่วไปจึงนิยมเรียกว่า “วัดเจ็ดยอด” ตัววิหารสร้างด้วยศิลาแลงประดับลวดลายปูนปั้น ลักษณะคล้ายกับมหาวิหารโพธิที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย ฐานเจดีย์ประดับปูนปั้นรูปเทวดาโดยรอบ ทั้งนั่งขัดสมาธิและยืนทรงเครื่องที่มีลวดลายต่างกัน
“วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร” วัดประจำาปีเกิดสำาหรับผู้ที่เกิดปีมะแม เป็นวัดที่มีประวัติยาวนานตั้งแต่การอัญเชิญพระธาตุมาประดิษฐานบนยอดเขาเมื่อปี พ.ศ. 1927 จากนั้นมีการก่อสร้างพระเจดีย์ครอบองค์พระธาตุสร้างพระอุโบสถและบันไดนาค 300 ขั้น ตลอดจนสร้างเส้นทางขึ้นสู่วัดโดยพระสงฆ์ซึ่งเป็นผู้นำาทางศาสนาหลายท่านและเจ้าเมืองในแต่ละยุค โดยมีลานพระเจดีย์ซึ่งเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงามของเมืองเชียงใหม่
“วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร” ตามคติของชาวล้านนากำาหนดให้เป็นวัดประจำาปีนักษัตรมะโรง เป็นวัดที่มีประวัติยาวนานกว่า 655 ปี เดิมชื่อ “วัดลีเชียงพระ” หมายถึง วัดที่ตั้งใกล้ตลาดกลางเมือง ในสมัยกษัตริย์ลำาดับที่ 8 แห่งราชวงศ์มังราย ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐาน จึงเรียกว่า วัดพระสิงห์ โดยได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ประเภทวรมหาวิหารภายในมีโบราณสถานอย่างพระอุโบสถ วิหารลายคำวิหารหลวงหอไตร รวมถึงภาพจิตรกรรมจึงเป็นสถานที่รวบรวมตัวอย่างงานศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมสมัยล้านนามากที่สุดแห่งหนึ่งเชื่อกันว่าพระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปที่นำาความอุดมสมบูรณ์และฝนตกต้องตามฤดูกาลให้กับอาณาจักรล้านนา
“วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร” พระธาตุประจำปีชวดตั้งอยู่บนเนินดินสูงประมาณ 10 เมตรที่เรียกกันมาตั้งแต่อดีตว่าดอยจอมทอง วัดสำาคัญคู่เมืองจอมทองแห่งนี้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นสถานที่ประดิษฐาน ของพระทักษิณโมลีธาตุ พระธาตุส่วนที่เป็นพระเศียรเบื้องขวาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีขนาดเท่าเมล็ดพุทรา สัณฐานกลมเกลี้ยงสีขาวนวลเหมือนดอกบวบ หรือสีคล้ายดอกพิกุลแห้ง ภายในมีพระอุโบสถลักษณะทรงไทยหน้าบันลงรักปิดทองสวยงาม หอพระไตรปิฎกเป็นอาคารสองชั้นครึ่งตึกครึ่งไม้สำาหรับเก็บพระไตรปิฎก พระเจดีย์บริวาล (พระธาตุน้อย) สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นคู่กับพระเจดีย์องค์ใหญ่ ให้เกิดการสมดุลกัน และพระวิหารจัตุรมุขซึ่งภายในพระวิหารมีมณฑปปราสาทเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ประเพณีเด่นของวัดคือ การแห่ไม้ค้ำโพธิ์ ซึ่งเป็นประเพณีของชาวล้านนาที่ถือว่าการเอาไม้มาค้ำโพธิ์เป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา
“วัดเกตการาม” พระธาตุประจำาปีเกิดปีจอ เดิมชื่อว่าวัดสระเกษ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1971 ในรัชสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกน ทรงโปรดให้พระยาเมือง พระยาคำา และพระยาลือ สร้างวัดแห่งนี้ขึ้น ชื่อวัดเกตการามมาจากคำว่า เกศ ซึ่งเป็นชื่อของพระธาตุเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า
นอกจากนี้เชียงใหม่ยังมีวัดชื่อดังอีกหลายแห่งที่มีความเชื่อ ความศรัทธาในด้านต่าง ๆ อาทิ “วัดป่าแดด” เดิมชื่อ วัดดอนแก้ว ผู้คนนิยมมาขอพรเรื่องความสำาเร็จ และชมความสวยงามของพระวิหารที่สร้างขึ้นตามศิลปะแบบล้านนา มีช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ ประดับด้วยลายปูนปั้นสีทอง หน้าบันประดับด้วยปูนปั้นลายพรรณพฤกษา ภาพจิตรกรรมฝาผนังวาดโดยช่างแต้มชาวไทใหญ่ เป็นเรื่องพุทธประวัติ และชาดกต่าง ๆ วิหารพระพิฆเนศ เป็นอาคารปูนยกพื้นสูงสถาปัตยกรรมล้านนา ภายในทาสีแดงชาดทั้งหมดเป็นที่ประดิษฐานพระพิฆเนศซึ่งสร้างจากโลหะสัมฤทธิ์รมดำ มีสี่พระกร ทรงวัชระ บ่วง งา และถ้วยขนม
ขอพรเรื่องความรักต้องไปที่ “วัดโลกโมฬี” สักการะพระนางจิรประภามหาเทวี กษัตริยาธิราชแห่งล้านนา เมื่อ 400 กว่าปีก่อน เป็นพระมเหสีของพระเมืองเกษกล้า ผู้สร้างและอุปถัมภ์วัดโลกโมฬี หลังพระเมืองเกษเกล้าถูกลอบปลงพระชนมพระนางจิรประภามหาเทวีจึงได้ขึ้นครองราชย์แทนด้วยความรักที่พระนางมีต่อพระสวามี บ้านเมืองและประชาชน ผู้คนจึงได้ยกให้เป็นเทพแห่งความรัก ว่ากันว่า คนไม่มีคู่มาขอพร ก็ได้พบกับคู่ครอง คนที่แต่งงานมาขอลูก ก็สมหวัง
ขอพรเรื่องการเงินต้อง “วัดอุปคุต” ซึ่งมีการจัดประเพณีใส่บาตรเที่ยงคืนเป็นประจำาทุกปีตามความเชื่อของชาวเหนือที่ว่าหากเดือนใดมีวันเพ็ญที่ตรงกับวันพุธหรือที่เรียกว่า “เป็งปุ๊ด” พระอุปคุตจะแปลงกายเป็นเณรมาบิณฑบาตตอนเที่ยงคืน หากต้องการเสริมเสน่ห์ มหานิยม เสริมมงคลให้ชีวิต ต้องไป “วัดศรีดอนมูล” ที่สายมูรู้จักดีในเรื่องของการลงนะหน้าทอง เพื่อเสริมสิริมงคล เสน่ห์เมตตา โชคลาภ เงินทอง และบารมี โดยครูบาน้อยที่เรียนวิชาจากหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา
สำาหรับ “เทศกาลขนหัวลุก เวียงพิงค์” (Thailand Goosebumps Festival 2024) ตอน เมื่อแม่นาคแอ่วเหนือ มีขึ้นระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม-1 กันยายนนี้ ตั้งแต่เวลา 16.00–23.00 น. ณ สวนสาธารณะบนที่ดินของการรถไฟ จังหวัดเชียงใหม่ พิเศษลงทะเบียนเข้างาน รับด้ายสายสิญจน์มงคล ปลุกเสกโดย พระอาจารย์พยุงศักดิ์ วัดป่าแดด รับได้ที่หน้างาน สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Fanpage : ททท.สำนักงานเชียงใหม่ – TAT Chiang Mai, Facebook, Gonorththailand และ Thailand Goosebump Market หรือโทร. 1672 Travel Buddy
……………………………………….
อธิชา ชื่นใจ