เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ที่ห้องประชุมวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช นายสมชาย ลีหล้าน้อย รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกเมนูอาหารถิ่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช ตามโครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่นสู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food) “รสชาติ…ที่หายไป The Lost Taste” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567  ซึ่งกรมส่งกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดทำกิจกรรมการคัดเลือกเมนูอาหารถิ่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาหารถิ่นสู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food เพื่อรวบรวมเมนูอาหารถิ่นที่กำลังจะเลือนหาย ยกระดับ พัฒนา สร้างสรรค์ ให้เป็นเมนูอาหารที่มีชื่อเสียงของจังหวัด และเพื่อเป็นการอนุรักษ์ เผยแพร่องค์ความรู้และภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอาหารของประเทศ ตลอดจนนำเสนอเมนูอาหารที่สร้างสรรค์จากอาหารพื้นบ้านเพิ่มมูลค่าของอาหารต่อยอดวัตถุดิบที่เป็นสมุนไพรจากชุมชน ให้สามารถนำเสนอในมิติความแตกต่างแปลกใหม่และเป็นสากล ตลอดจนสร้างโอกาสในการปลูกฝังค่านิยมการรับประทานอาหารที่ปรุงจากอาหารพื้นบ้านแก่เยาวชนรุ่นใหม่สืบทอดต่อไป    

โดยมีคณะกรรมการฯ จากหน่วยงานต่าง ๆ ประกอบด้วย ประธานสภาจังหวัด พัฒนาการจังหวัด สถิติจังหวัด ประชาสัมพันธ์จังหวัด พาณิชย์จังหวัด และผู้ที่ได้รับการแต่งตั้ง เข้าร่วมพิจารณาคัดเลือกเมนูอาหารถิ่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ผ่านการโหวดจากประเภทอาหารว่าง มีเมนูอาหารว่างเสนอเข้ารับการคัดเลือกฯ จำนวน 3 เมนู ได้แก่ ขี้หมาพองเช ฉาวหาย ประเภทอาหารหวาน มีเมนูอาหารหวานเสนอเข้าร่วมคัดเลือกฯ จำนวน 4 เมนู ได้แก่ ขนมน้ำดัง ยาหนม และขนมขึ้น ประเภทอาหารคาว ผ่านการคัดเลือก 3 ลำดับแรก คือ แก่งส้มลูกประกับมังคุดคัด แกงอุตพิต และปลาใส่อวน ซึ่งเมนูอาหารถิ่นที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการฯ ที่ผ่านการประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชนในพื้นที่ร่วมโหวด สุดยอดเมนูอาหารถิ่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช “รสชาติ….ที่หายไป The Lost Taste ปิดการโหวดเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2567 เวลา 16.30 น. ผลการโหวดปรากฎว่า “ขนมขึ้น” ได้รับคะแนนการโหวดที่สูงสุดให้เป็นเมนูอาหารถิ่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช ตามโครงการฯ

สำหรับ “ขนมขึ้น” ได้รับคะแนนการโหวดที่สูงสุดให้เป็นเมนูอาหารถิ่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช ตามโครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่นสู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food) “รสชาติ…ที่หายไป The Lost Taste” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยเฉพาะขนมขึ้น หัวไทร มีความโดดเด่น ที่แตกต่างจากขนมขึ้นที่อื่น ด้วยลักษณะที่หัวไทร แต่เดิมมีการทำนา ทำสวน และมีต้นตาล ต้นมีพร้าวค่อนข้างเยอะ น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ด้วยวัตถุดิบที่พร้อม “ขนมขึ้น” ของพื้นที่หัวไทร จึงมีลักษณะที่ขึ้นฟู นุ่ม หอม อร่อย ขั้นตอนการทำพิถีพิถัน ลักษณะเด่นคือ มีขึ้มันที่ได้จากการเคี่ยวกะทิสดจากน้ำตาลโตนด ผสมอยู่ในแป้งจากข้าวสายพันธ์พื้นเมือง จนได้ “ขนมขึ้น ” ที่เป็นเอกลักษณ์ที่เป็นเมนูอาหารถิ่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช