ในที่สุดได้รู้ผลกันเสียที หลังจาก ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ 5 ต่อ 4 เสียง ให้ “เศรษฐา ทวีสิน” ต้องพ้นจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ด้วยคดีที่ 40 อดีต สว. ร้องให้วินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของ “เศรษฐา” สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5) หรือไม่ จากการแต่งตั้ง “พิชิต ชื่นบาน” เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

โดยศาลฯ ชี้ว่า “พิชิต” เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามของการดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี จากคดีสินบนถุงขนม 2 ล้าน เมื่อปี 2551 และเรื่องนี้เป็นที่รู้กันในสังคม ดังนั้น “เศรษฐา” ควรรู้อยู่แล้วว่ามีลักษณะต้องห้าม ไม่อาจอ้างได้ว่าไม่รู้ จึงไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 อนุมาตรา 4 เข้าข่ายฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง และจากการที่นายกรัฐมนตรีหลุดตำแหน่ง ส่งผลให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ต้องพ้นจากหน้าที่ทั้งหมดด้วย

วิษณุ'แง้มอำนาจ พ.ร.ก.โรคติดต่อฉบับใหม่!  เปิดช่องสั่งเคอร์ฟิว-ห้ามคนชุมนุมสกัดโรค | เดลินิวส์

ทำให้กระดานการเมืองสั่นคลอน โดยนายกรัฐมนตรีต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ทันที ขณะที่ ครม. แม้ต้องหลุดยกแผง แต่ยังต้องทำหน้าที่รักษาการต่อได้ ตามที่ “วิษณุ เครืองาม” ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ให้ความเห็นไว้

ส่วนขั้นตอนต่อไปคือ การเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ซึ่งตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 159 ระบุให้สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี โดยสภาชุดปัจจุบัน พรรคร่วมรัฐบาล 11 พรรค มีเสียง สส. รวม 314 เสียง ดังนั้นโอกาสที่นายกฯ คนใหม่ จะมาจากฝ่ายค้านจึงยังเป็นไปได้ยาก

อย่างไรก็ตาม การคัดเลือกนายกฯ คนใหม่ ต้องมาจากบัญชีรายชื่อ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี จากพรรคต่างๆ ซึ่งชื่อของ “เศรษฐา” ยังอยู่ในลิสต์ของ พรรคเพื่อไทย ขณะที่ “วิษณุ” เคยบอกว่าให้รอดูคำสั่งศาลฯ และไม่ตอบคำถามของสื่อ ที่ถามว่าจะสามารถหยิบชื่อ “เศรษฐา” กลับมาให้สภาโหวตเลือกเป็นนายกฯ ได้อีกรอบหรือไม่

เพื่อไทยเปิดตัว 'อุ๊งอิ๊ง' นั่งประธานที่ปรึกษา! ลั่น  'ทักษิณ'หวังกลับเมืองไทย | เดลินิวส์

อย่างไรก็ตาม หากเรามาดูตะกร้ารวมชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี มีชื่อไล่เรียงตั้งแต่ของพรรคเพื่อไทย ที่ยังมี “แพทองธาร ชินวัตร” หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และ “ชัยเกษม นิติสิริ” ตามด้วยชื่อของ “อนุทิน ชาญวีรกูล” หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย และยังมี “พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ” หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ รวมถึง พรรครวมไทยสร้างชาติ ที่ส่งชื่อ “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” และ “พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค” หัวหน้าพรรค

ต้องจับตาบรรดานโยบายเรือธง ทั้ง “โครงการเติมเงินให้ประชาชน 10,000 บาท ผ่านระบบดิจิทัลวอลเล็ต” ที่จะต้องชะลอไปก่อน หรือมีอันต้องพับโครงการ ขณะที่การผลักดันจัดตั้ง “เอ็นเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์” หรือ กาสิโน ถูกกฎหมาย เกิดเหตุการณ์ปีนเกลียวกันระหว่าง “เพื่อไทย-ภูมิใจไทย” จะเดินต่อไปอย่างไร

แต่อย่าลืมว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ได้ระบุชัดถึงความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ตั้ง ก็คงต้องถามตัว “เศรษฐา” ว่าถ้ายังจะไปต่อในเก้าอี้นายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 2 จะลบภาพเก่านี้อย่างไร

ที่สำคัญ พรรคเพื่อไทยต้องเผชิญโจทย์ใหญ่จากประชาชน ถึงเรื่องบรรทัดฐานในการสรรหาบุคคลมาดำรงตำแหน่งสำคัญระดับชาติ ที่จะต้องทำให้ถูกต้องตามหลักนิติธรรมและจริยธรรม ไม่ใช่แค่ให้ถูกใจใครบางคนเท่านั้น