เพื่อตอบรับนโยบายหลัก IGNITE’s Thailand Tourism ของรัฐบาล ในการผลักดันประเทศไทยสู่การเป็น Hub of ASEAN เส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านระหว่างไทย-สปป.ลาว “น่าน-หลวงพระบาง-วังเวียง-เวียงจันทน์-หนองคาย-อุดรธานี” จึงเกิดขึ้น โดยเป็นเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในแถบอาเซียน
นางสาวปาริชาต บุญคล้าย ผู้อำานวยการฝ่ายบริการการตลาดททท. บอกว่า ปัจจุบันการเดินทางท่องเที่ยวมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ Road Trip ที่เชื่อมต่อทั้งภายในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีศักยภาพและพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเชื่อมโยงมายังประเทศไทยโดยมีไทยเป็น Hub ของการเดินทาง
“น่านเป็นเมืองรองที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวด้วยความที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจและหลากหลาย ทั้งธรรมชาติ ประเพณี วิถีชีวิต รวมถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ทั้งยังมีความเชื่อมโยงทางอารยธรรมของดินแดนล้านช้างกับหัวเมืองทางเหนือของไทยในลักษณะของเมืองคู่แฝดระหว่างน่าน-หลวงพระบางด้วย”
สำาหรับเส้นทางวงรอบน่าน-สปป.ลาว-หนองคาย-อุดรธานีนั้น เริ่มต้นด้วยการพักค้างที่น่าน 1 คืน โดยร่นระยะเวลาการเดินทางด้วยเครื่องบินแบบออกเช้ามาถึงสาย ๆ หรือเที่ยงแล้วตระเวนเที่ยวในบริเวณข่วงเมืองน่าน จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน อดีต “หอคำ” ที่ประทับและว่าราชการของ พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน ที่วันนี้นอกจากอาคารทรงยุโรปที่ผสานกับสถาปัตยกรรมท้องถิ่นเมืองน่านแล้ว ภายในยังจัดแสดงวัตถุโบราณล้ำค่าคู่บ้านคู่เมืองอย่าง “งาช้างดำ” ด้วย แต่ที่ใคร ๆ ต่างแวะเวียนมาที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็เพื่อเก็บภาพความสวยงามของซุ้มลีลาวดีด้านหน้าทางเข้า ได้รูปสมใจแล้วเดินเลยเข้ามาอีกนิดใต้ต้นไม้ใหญ่คือ “โบราณสถานวัดน้อย” วัดที่ว่ามีขนาดเล็กที่สุดของไทยสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงมีพระราชกรุณาให้สร้าง “วัดน้อย” ขึ้นเพื่อเป็นการรักษาสัจจะวาจาของ พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่านในเวลานั้น
ข้ามมาฝั่งตรงข้ามคือ “วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร” เดิมเรียก “วัดหลวง” หรือ “วัดหลวงกลางเวียง” เป็นวัดหลวงในเขตนครน่านสำาหรับเจ้าผู้ครองนครใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำาคัญทางพุทธศาสนาและพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ลักษณะสถาปัตยกรรมของวัดพระธาตุช้างค้ำนี้สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของศิลปะสุโขทัยเช่น พระเจดีย์ทรงลังกา รอบฐานก่ออิฐถือปูนและปั้นเป็นรูปช้างครึ่งตัวคล้ายจะเอาหลังหนุนหรือค้ำองค์พระเจดีย์ไว้ เดินตัดแนวทะแยงไปอีกด้านคือ “วัดภูมินทร์” ที่มีจิตรกรรมฝาผนังชื่อดัง “ปู่ม่านย่าม่าน” รวมอยู่กับภาพแสดงเรื่องชาดก วิถีชีวิตความเป็นอยู่ และตำานานพื้นบ้านของชาวเมืองน่าน
จากนั้นเดินทางออกไปตามเส้นทางสู่ปัว แวะชิม ช้อปโกโก้และผลิตภัณฑ์จากโกโก้หลากหลายรูปแบบที่ “โกโก้วัลเลย์” ร้านดังของเมืองปัวที่ได้รับรางวัล Thailand Tourism Awards ครั้งที่ 14 ประจำาปี 2566 นอกจากจะมีเครื่องดื่มโกโก้ให้เลือกได้ตามความชอบมากมายแล้ว ขนมหวานจากโกโก้ของที่นี่บอกเลยว่าอาจจะทำาให้เลือกตัดใจสั่งเมนูใดเมนูหนึ่งไม่ถูก เพราะมีการรังสรรค์อย่างพิถีพิถันจากโกโก้ที่ปลูกอยู่ในเขตอำเภอปัว
จากปัวมุ่งหน้าสู่เชียงกลางที่ถือเป็นจุดแวะพักครึ่งทางก่อนจะไปยังจุดผ่านแดนถาวรบ้านห้วยโก๋น อำาเภอเฉลิมพระเกียรติแม้จะอยู่ระหว่างทางแต่เชียงกลางก็ไม่ได้เป็นแค่ที่พักแรมเพราะบริเวณโดยรอบยังคงมีนาข้าวรายล้อม ท่ามกลางเทือกเขาสูงที่ถัดไปเบื้องหลัง การขี่จักรยานออกไปชมทุ่งนากว้างยามเย็นหรือเช้าเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ “แสงทองรีสอร์ท” มีไว้ให้แขกผู้มาพักไปฟินกับบรรยากาศ
ใช้เวลาเดินทางราว 1 ชั่วโมงจากเชียงกลางก็จะถึงจุดผ่านแดนถาวรบ้านห้วยโก๋นสำหรับชาวไทยเพียงแค่มีพาสปอร์ตก็เดินเข้าด่านแล้วข้ามเขตแดนไปยัง สปป.ลาวได้ทันที เช่นเดียวกับนักท่องเที่ยวต่างชาติอีก 14 ประเทศที่สามารถใช้วิธีการเดียวกันได้ เพื่อข้ามไปตรวจลงตราที่จุดผ่านแดนบ้านน้ำเงิน เมืองเงิน ก่อนจะเดินทางไปตามเส้นทางทางหลวงแห่งชาติหมายเลข 4A ผ่านเมืองหงสาไปเชื่อมต่อกับหมายเลข 4B ถนนที่ไทยสนับสนุนเงินกู้เพื่อสร้างผ่านสำานักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (สพพ.) ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากเมืองเงินไปยังหลวงพระบางระยะทาง 115 กิโลเมตร ซึ่งช่วยร่นระยะเวลาจาก 6 ชั่วโมงเหลือเพียง 3 ชั่วโมงโดยช่วงท้ายจะเป็นการข้ามแม่นำโขงด้วยแพขนานยนต์ไปยังเขตเมืองเก่า
เมื่อถึงเมืองมรดกโลกอย่างหลวงพระบาง “วัดเชียงทอง” เป็นหนึ่งในจุดหมายห้ามพลาด ด้วยความโดดเด่นของอุโบสถเก่าแก่ที่สุดของเมืองที่สะท้อนถึงสถาปัตยกรรมล้านช้างได้อย่างชัดเจน ภายในประดิษฐานพระ “พระองค์หลวง” และ “พระบาง” (องค์จำลอง) ผนังด้านหลังเป็นงานกระจกสีที่ประดับตกแต่งเป็นต้นไม้ทองขนาดใหญ่และรูปสัตว์ในวรรณคดี เป็นหนึ่งในไฮไลต์ที่ต้องมาถ่ายภาพ เช่นเดียวกับ “หอพระพุทธไสยาสน์” ที่ผนังด้านนอกทาพื้นเป็นสีชมพูกุหลาบตกแต่งด้วยกระจกสีเป็นลวดลายสวยงาม
ขณะที่ “วัดวิชุนราช” มีเจดีย์ทรงกลมที่เป็นเอกลักษณ์ดูคล้ายแตงโมผ่าครึ่ง ชาวเมืองหลวงพระบางจึงมักเรียกว่า “พระธาตุหมากโม” เป็นอีกหนึ่งวัดเก่าแก่ที่ควรค่าแก่การเยี่ยมชมส่วน “วัดพระธาตุพูสี” ที่อยู่บนยอดเขากลางเมืองหลวงพระบางนั้น มีองค์พระธาตุที่มีรูปทรงเป็นดอกบัวสี่เหลี่ยมสีทองอร่ามเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวหลวงพระบางเดินขึ้นมาสักการะเป็นประจำา ทั้งยังเป็นจุดชมวิวเมืองหลวงพระบางได้แบบ 360 องศา โดยจะต้องเดินเท้าขึ้นบันได 328 ขั้น ถ้ามีเวลาเหลือจะล่องเรือไปเที่ยว “ถ้ำติ่ง” ที่มีพระพุทธรูปมากมายตั้งอยู่ภายในนับร้อยนับพันหรือจะออกไปเที่ยว “ตาดกวางสี” น้ำตกหินปูนขนาดใหญ่ที่มีน้ำสีเขียวมรกตแล้วแวะนั่งดื่มด่ำกับอาหารมื้อเที่ยงที่มีวิวน้ำตก “ตาดแก้วมงคล” ที่ให้สัมปทานเอกชนเช่าทำาร้านอาหาร
มาหลวงพระบางแล้วอย่าลืมมาร่วมตักบาตรข้าวเหนียวยามเช้า ที่มีการจัดระเบียบใหม่ ต่อด้วยตลาดเช้าหลวงพระบาง และเดินตลาดมืดยามค่ำคืนเพื่อหาของที่ระลึก
จากหลวงพระบางนั่งรถไฟความเร็วสูงไปยังวังเวียง ที่ใช้เวลาเดินทางเพียง 40 นาที แทนการขับรถผ่านเส้นทางขรุขระที่ไม่สะดวกในช่วงฤดูฝนซึ่งต้องใช้เวลามากกว่า 4 ชั่วโมงเมื่อมาถึงไวกิจกรรมแอดเวนเจอร์มากมายของวังเวียงพร้อมรออยู่ให้ไปสัมผัส ตั้งแต่การล่องห่วงยาง พายคยัคหรือล่องเรือหางยาวไปตามแม่น้ำซอง เป็นแม่น้ำสายหลักของเมืองที่มีทิวทัศน์ภูเขาหินปูนสลับซับซ้อนให้ชมตลอดทาง สมกับสมญานาม “กุ้ยหลินเมืองลาว” หรือจะเดินข้ามสะพานสีฟ้าไปเที่ยว “ถ้านางฟ้า” ถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยที่เพิ่งเปิดให้นักท่องเที่ยว เข้าชมไม่กี่ปี โดยมีเส้นทางเอาใจสายลุยอย่างการล่องห่วงยางลอดถ้ำน้ำอยู่ในบริเวณเดียวกันด้วย แต่หากชอบเล่นน้ำแบบน้ำตกมากกว่า “บลูลากูน” คือคำาตอบ สระน้ำสีฟ้ามรกตใสสะอาดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติไม่ไกลจากตัวเมืองวังเวียง
วันนี้การเดินทางมาเที่ยววังเวียง หากมาจากจุดผ่านแดนถาวรไทย-ลาว (หนองคาย-เวียงจันทน์) มีทางด่วนที่เชื่อมระหว่างวังเวียงและเวียงจันทน์ที่ร่นเวลาเดินทางเหลือเพียงชั่วโมงกว่า ๆ จึงทำาให้มีเวลาแวะสักการะ “พระธาตุหลวงเวียงจันทน์” แชะแล้วแชร์ที่ “ประตูชัย” เลยไป วัดสีสะเกด และหอพระแก้ว ได้ด้วย ก่อนจะข้ามกลับไปยังฝั่งไทยผ่านด่านชายแดนถาวรสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 จังหวัดหนองคาย ทันเวลาชมบรรยากาศยามเย็นริมฝั่งแม่น้าโขงที่ลานพญานาคคู่ริมฝั่งโขง
เช้าตื่นมาสักการะหลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของหนองคาย ที่สามารถเดินทางเชื่อมโยงไปยังแหล่งมรดกโลกทั้ง 2 แห่งของไทยในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อำเภอหนองหาน และอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อำเภอบ้านผือ มรดกโลกแห่งล่าสุดของไทย
อยากจะเดินทางตามเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยง Asean สามารถสอบถามผ่าน TAT Contact Center เพื่อนร่วมทาง 1672 เว็บไซต์ www.tourismthailand.org หรือติดตามที่ Facebook : TAT Contact Center เพื่อนร่วมทาง, IG : 1672travelbuddy, Tiktok : 1672travelbuddy, Line Official : @tatcontactcenter
อธิชา ชื่นใจ