หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI CEO Poll ครั้งที่ 40 ในเดือนกรกฎาคม 2567 ภายใต้หัวข้อ “ทิศทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทยครึ่งปีหลัง” จากการสำรวจความเห็นของผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 143 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 46 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด เพื่อสะท้อนมุมมองและความเห็นของผู้บริหาร ส.อ.ท. ต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับอุตสาหกรรมไทยในช่วงครึ่งปีหลังที่เหลือของปี 2567 รวมทั้งข้อเสนอแนะทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชนที่มีต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยมีสรุปผลการสำรวจดังนี้

1.ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 ธุรกิจและยอดขายมีทิศทางอย่างไรเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
อันดับ 1 : ทรงตัว จำนวน 30.8%
อันดับ 2 : หดตัว 1 – 10% จำนวน 23.8%
อันดับ 3 : ขยายตัว 1 – 10% จำนวน 21.0%
อันดับ 4 : หดตัวมากกว่า 10% จำนวน 19.6%
อันดับ 5 : ขยายตัวมากกว่า 10% จำนวน 4.9%

2.ช่วงครึ่งปีหลังของปี 2567 คาดการณ์แนวโน้มธุรกิจและยอดขายอย่างไรเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก
อันดับ 1 : ไม่เปลี่ยนแปลง จำนวน 39.8%
อันดับ 2 : แย่ลง จำนวน 32.2%
อันดับ 3 : ดีขึ้น จำนวน 28.0%

3.ปัจจัยสนับสนุนที่จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทยในช่วงครึ่งปีหลัง 2567
อันดับ 1 : การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2567 จำนวน 56.0%
อันดับ 2 : ภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ จำนวน 41.4%
อันดับ 3 : การส่งออกที่มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นในช่วงที่เหลือของปี 2567 จำนวน 38.8%
อันดับ 4 : มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่ขยายตัว ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย จำนวน 21.6%

4.ปัจจัยเสี่ยงเรื่องใดที่จะส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทยในช่วงครึ่งปีหลัง
อันดับ 1 : การปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ทั่วประเทศ จำนวน 54.5%
อันดับ 2 : ต้นทุนการผลิตที่ผันผวนอยู่ในระดับสูงทั้งจากค่าไฟฟ้า พลังงาน ราคาวัตถุดิบ และค่าขนส่ง จำนวน 51.0%
อันดับ 3 : สินค้าราคาถูกจากต่างประเทศเข้ามาทุ่มตลาดในประเทศ และตลาดเป้าหมายของไทย จำนวน 38.5%
อันดับ 4 : กำลังซื้อของประชาชนที่ชะลอตัวจากหนี้ครัวเรือนและ NPL ที่อยู่ในระดับสูง จำนวน 35.7%

5.ภาครัฐควรดำเนินมาตรการใดเพื่อช่วยเหลือและกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง
อันดับ 1 : ส่งเสริมกลไกการจ่ายค่าจ้างแรงงานตามทักษะ (Pay by Skill) แทนการปรับค่าแรงขั้นต่ำ จำนวน 55.9%
อันดับ 2 : ส่งเสริมการใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศ หรือ Made in Thailand ในภาคเอกชนผ่านมาตรการทางภาษี จำนวน 50.3%
อันดับ 3 : แก้ไขปัญหาหนี้สินของ SMEs และหนี้ครัวเรือนที่มีความเสี่ยงจะเป็นหนี้เสีย (NPL) จำนวน 47.6%
อันดับ 4 : มาตรการอุดหนุนราคาพลังงานเพื่อลดต้นทุนการผลิต จำนวน 41.3%

6.ผู้ประกอบการควรปรับตัวเพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังอย่างไร
อันดับ 1 : นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ๆ จำนวน 67.1%
อันดับ 2 : นำระบบบริหารจัดการมาช่วยในการลดต้นทุนการผลิต เช่น LEAN Manufacturing จำนวน 47.6%
อันดับ 3 : สร้างเครือข่ายและพันธมิตรเพื่อร่วมกันแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ จำนวน 47.6%
อันดับ 4 : ขยายตลาดใหม่หรือทำตลาดในหลายประเทศเพื่อลดความเสี่ยง จากการพึ่งพาตลาดเดียว จำนวน 45.5%

7.ในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 ภาครัฐควรเร่งปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมในเรื่องใด เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว
อันดับ 1 : ปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ และทบทวนมาตรการส่งเสริมการลงทุน เพื่อส่งเสริมการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม 48.3%
อันดับ 2 : พัฒนาระบบการศึกษา และส่งเสริมการพัฒนาทักษะแรงงาน Upskill & Reskill & Newskill ให้ตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต 46.9%
อันดับ 3 : ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมแบบมุ่งเป้าในภาคการผลิต 42.7%
อันดับ 4 : สนับสนุนการลงทุนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด 26.6%
และการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานสู่ความยั่งยืน

8. คาดการณ์ GDP เศรษฐกิจไทยทั้งปี 2567 จะขยายตัวในระดับใด
อันดับ 1 : ขยายตัวต่ำกว่า 2% จำนวน 51.7%
อันดับ 2 : ขยายตัว 2 – 3% จำนวน 39.9%
อันดับ 3 : ขยายตัว 3 – 4% จำนวน 5.6%

อันดับ 4 : ขยายตัวมากกว่า 4% จำนวน 2.8%