เมื่อวันที่ 28 ก.ค. สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ยาเสพติดกับสังคมไทย” ระหว่างวันที่ 23-26 กรกฎาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,128 คน สำรวจผ่านทางออนไลน์และภาคสนาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างเคยพบเห็นคนใกล้ตัวใช้หรือซื้อยาเสพติด ร้อยละ 47.70 โดยมองว่าสาเหตุที่คนหันไปพึ่งยาเสพติดเพราะซื้อขายได้ง่ายขึ้น ร้อยละ 82.54 ด้านการจัดการปัญหายาเสพติดในประเทศไทยปัจจุบันก็ยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 88.21

สาเหตุที่ยาเสพติดปราบปรามไม่หมดสิ้นเพราะยาเสพติดราคาถูกและหาได้ง่าย ร้อยละ 79.40 ส่วนการที่ให้กัญชาและกัญชงกลับไปเป็นยาเสพติดน่าจะส่งผลให้เศรษฐไทยดีขึ้น ร้อยละ 36.10 ใกล้เคียงกับเศรษฐกิจแย่ลง ร้อยละ 34.74 และภาพลักษณ์รัฐบาลน่าจะดีขึ้น ร้อยละ 45.12

ทั้งนี้อยากให้รัฐบาลแก้ปัญหายาเสพติดด้วยการเพิ่มบทลงโทษและบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ร้อยละ 81.14 โดยคาดหวังว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะปราบปรามยาเสพติดได้ ร้อยละ 56.91

นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล กล่าวว่า จากผลสำรวจสะท้อนให้เห็นว่าปัญหายาเสพติดไม่ได้อยู่ในมุมมืดของสังคมอีกต่อไป โดยมีกลุ่มตัวอย่างกว่า 47% ที่เคยพบเห็นผู้ใช้และซื้อยาเสพติด เนื่องจากยาเสพติด ซื้อง่าย-ขายคล่อง-ล่องหน กล่าวคือ ยาเสพติดราคาถูก หาซื้อได้ง่าย และผู้ขายก็ล่องหนไปในเงามืด การปราบปรามไม่ทั่วถึง ประชาชนจึงมองว่าการแก้ปัญหายาเสพติดยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้น เมื่อกัญชาและกัญชงจะกลับสถานะเป็นยาเสพติด บางส่วนจึงรู้สึกว่าน่าจะทำให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลดีขึ้น การปราบปรามปัญหายาเสพติดจึงเป็นความท้าทายของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นจากประชาชน

ยาเสพติดกับสังคมไทย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อานุภาพ รักษ์สุวรรณ อาจารย์สาขาวิชากฎหมายมหาชนและการบริหารงานยุติธรรม โรงเรียนกฎหมายและการเมือง ระบุว่า ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่ายาเสพติดยังเป็นปัญหาทั่วไปในสังคมไทย เมื่อยาเสพติดหาซื้อได้ง่าย คนก็สามารถเข้าถึงยาเสพติดได้ง่าย ส่งผลให้มีคนเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดมากขึ้น ปัญหายาเสพติดมีความซับซ้อนทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง รัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยใช้มาตรการต่าง ๆ ทั้งการป้องกันยาเสพติด ในประชากรกลุ่มต่าง ๆ

สรุปวิเคราะห์ผลโพล : ยาเสพติดกับสังคมไทย เช่น เด็ก เยาวชน และผู้ใช้แรงงาน รวมถึงการป้องกันยาเสพติดในชุมชน การปราบปราม การบังคับใช้กฎหมายและการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพยาเสพติด อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่าประชาชนถึงร้อยละ 88.21 มองว่าการจัดการปัญหายาเสพติดของรัฐบาลไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ สิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคมคือ การยกระดับการดำเนินงานทั้งด้านการป้องกันยาเสพติด

การปราบปรามเครือข่ายยาเสพติด การบังคับใช้กฎหมาย และการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดอย่างจริงจัง ที่สำคัญคือหน่วยงานต่าง ๆ ต้องให้ความสำคัญกับการบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างแท้จริง