รายงานธนาคารแห่งประเทศไทย (bot.or.th) และฝ่ายวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลชอบรถ (Chobrod.com) เปิดเผยตลาดรถยนต์ครึ่งปีแรกของปี 2567 ว่ารถยนต์ 9 ใน 10 รุ่นที่ได้รับความนิยมสูงสุดในไทยมาจากแบรนด์ญี่ปุ่น โดยมีเพียง Ford Ranger จากอเมริกาเท่านั้นที่ติดอันดับ Isuzu D-Max ครองอันดับ 1 ด้วยจำนวนการค้นหาเกือบ 163,000 ครั้ง ตามด้วย Honda Civic และ Toyota Hilux Revo ที่ครองอันดับ 2 และ 3 ด้วยจำนวนการค้นหา 148,000 และ 130,000 ครั้งตามลำดับ

รถกระบะ รถยนต์สมรรถนะสูงอย่าง Honda CR-V, Toyota Fortuner หรือรถเก๋งที่มีพื้นที่กว้างขวางอย่าง Honda Civic, Honda Accord เป็นที่ต้องการของผู้ซื้อมากที่สุด เนื่องจากมีพื้นที่กว้างขวาง และตอบสนองความต้องการด้านการขนส่งได้ดี

แบรนด์รถยนต์ที่คนไทยค้นหาเยอะที่สุดส่วนใหญ่เป็นรถยนต์จากญี่ปุ่น โดย Toyota นำโด่งด้วยการค้นหา 25.6% ตามด้วย Honda และ Isuzu ที่มีการค้นหา 16.5% และ 7.2% ตามลำดับ ฝั่งรถยนต์จากเยอรมนีอย่าง BMW และ Mercedes-Benz ก็ได้รับความนิยมในไทยเช่นกัน โดยเฉพาะรถยนต์มือสองของทั้งสองแบรนด์นี้ ได้รับความต้องการสูงมาก มีการค้นหาเฉลี่ยมากกว่า 54,000 ครั้งต่อเดือน

สำหรับตลาดรถยนต์มือสองในประเทศไทยในช่วงปี 2566-2567 ว่าเผชิญกับความท้าทายอย่างมาก ในปี 2566 จำนวนรถยนต์ที่ถูกสถาบันการเงินยึดมีประมาณ 250,000-300,000 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าจากปีก่อนหน้า (150,000-180,000 คัน) รถที่ถูกยึดทั้งหมดจะถูกส่งไปลานประมูลต่างๆ กลายเป็นว่าปี 2566 มีรถเข้าลานประมูลสูงถึงเกือบ 3 แสนคัน ส่งผลให้ปริมาณรถมือสองล้นตลาด ผู้ประกอบกิจการรถมือสองจำเป็นต้องกดราคาขายให้ต่ำไป บางเต็นท์อาจถึงขั้นต้องยอมปล่อยขาดทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของธุรกิจให้ยังคงดำเนินต่อไปได้ การลดลงของราคานี้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในหลายมิติ แต่ในขณะเดียวกัน ก็เปิด “โอกาสทอง” ให้ผู้ซื้อสามารถเข้าถึงรถยนต์ที่ต้องการได้ในราคาที่ถูกลงกว่าเดิม 

นอกจากนี้ สถาบันการเงินยังเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าที่ประกอบอาชีพอิสระ เนื่องจากการพิสูจน์รายได้อาจเป็นเรื่องยาก ทำให้กลุ่มผู้ซื้อรถกระบะที่มีศักยภาพลดลงมาก ราคาของรถกระบะจึงลดลงเร็วกว่ากลุ่มรถยนต์อื่นๆ ในขณะเดียวกัน เต็นท์รถก็ลดการรับซื้อรถกระบะ และลดสัดส่วนของรถกระบะในพอร์ตการขายลงด้วย ขณะที่รถยนต์ประเภทอเนกประสงค์ (SUV, MPV) กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากมีพื้นที่กว้างขวาง เหมาะสำหรับการเดินทางไกลของครอบครัว และอนุมัติสินเชื่อได้ง่ายกว่า

ในสถานการณ์เศรษฐกิจทั่วไปที่ยากลำบาก ส่งผลให้ความต้องการซื้อรถยนต์ในประเทศไทยลดลงตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566 การค้นหารถยนต์มือสองลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2566 จนถึงเดือนเมษายน 2567 เหลือเพียง 660,000 ครั้ง แต่ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2567 เศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น การท่องเที่ยวและการใช้จ่ายส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่งผลให้ความต้องการรถยนต์ก็เริ่มเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ราคารถยนต์ลดลง เป็นโอกาสของผู้ซื้อรถยนต์ โดยปี 2566 มีรถยนต์เกือบ 300,000 คัน จากสถาบันสินเชื่อเข้าสู่ศูนย์ประมูล ทำให้ปริมาณรถยนต์มือสองเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ในขณะที่ความต้องการซื้อรถยนต์ลดลง ส่งผลให้เกิดภาวะอุปทานล้นตลาด ราคาขายรถยนต์มือสองจึงลดลงอย่างมาก ภายใน 18 เดือนนับจากต้นปี 2566 ราคาขายรถยนต์มือสองลดลงถึง 18%

อย่างไรก็ตาม ราคาที่ลดลงอย่างรวดเร็วนี้ เป็นโอกาสสำหรับผู้ซื้อที่ต้องการเป็นเจ้าของรถยนต์ในราคาที่ถูกกว่าเดิม ภายในเดือนมิถุนายน 2567 สัญญาณเศรษฐกิจบ่งบอกว่าเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และสถาบันการเงินเริ่มปล่อยสินเชื่อเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้มากขึ้นเพื่อลดหนี้เสีย ดังนั้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 ราคาของรถยนต์มือสองอาจปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง ผู้ซื้อควรพิจารณาสมดุลของงบประมาณและเลือกเวลาที่เหมาะสมในการซื้อรถยนต์