เมื่อวันที่ 4 ก.ค. นายนิกร จำนง เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตรา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า มีประเด็นที่กรรมาธิการเห็นชอบร่วมกัน 1. โดยกรรมาธิการเห็นชอบร่วมกันที่จะใช้การนิรโทษกรรมรูปแบบผสมผสาน หรือการให้เป็นไปโดยอัตโนมัติ และมีคณะกรรมการกลั่นกรอง ภายใต้กระบวนการหากผู้มีสิทธิตามกฎหมายประสงค์ใช้สิทธิ ให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการ และกรณีที่คดีอยู่ในขั้นตอนการสอบสวน ให้พนักงานหรือตำรวจยุตติการสอบสวน หากอยู่ในขั้นตอนพนักงานอัยการให้ถอนฟ้อง หากกรณีจำเลยถูกฝากขังในเรือนจำให้ศาลพิจารณาออกหมายปล่อย ส่วนกรณีที่คดีมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว หรือมีการจำขังไปแล้ว สามารถออกหมายให้กรมราชทัณฑ์ปล่อยตัว กรณีที่คดีสิ้นสุดและอยู่ระหว่างการคุมขัง

นายนิกร กล่าวต่อว่า ส่วนในกรณีที่คดีถึงที่สุด ผู้ที่เคยต้องคำพิพากษากระทำผิด ประสงค์จะขอลบล้างประวัติ ให้ยื่นคำร้องต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อที่จะลบประวัติดังกล่าว และในหลักการให้กรรมการดำเนินการและทำรายงานเกี่ยวกับคดี เสนอกับกรรมการผู้พิจารณา หากกรรมการไม่มีความเห็นแย้ง ภายใน 15 วัน ก็สามารถออกหนังสือดำเนินการได้ นอกจากนี้ ผู้ที่ได้รับสิทธิพิเศษสามารถยื่นคำร้องหากมีการตกหล่นสามารถยื่นดำเนินการได้ 

นายนิกร กล่าวต่อไปว่า ขณะเดียวกันมีความเห็นชอบร่วมกันเรื่องขององค์ประกอบคณะกรรมการนิรโทษกรรม 1. รมว.ยุติธรรมเป็นประธาน 2. ปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นรองประธานกรรมการ 3. กรรมการโดยตำแหน่ง ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อัยการสูงสุด อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ อธิบดีกรมบังคับคดี อธิบดีกรมคุมประพฤติ อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง และนายกสภาทนายความ

4. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีความรู้ความสามารถความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านกฎหมาย ด้านสิทธิมนุษยชน ด้านกระบวนการยุติธรรม จำนวนด้านละ 1 คน เสนอชื่อมาจากคณะรัฐมนตรี 5. กรรมการผู้แทนองค์กรภาคประชาชนหรือภาคประชาสังคม ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เกี่ยวกับบริบททางการเมือง แก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและความปรองดองสมานฉันท์กันเอง 3 คน ตามหลักเกณฑ์วิธีการเงื่อนไขที่ ครม. กำหนด 6. อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ แต่งตั้งข้าราชการของกรมกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ จำนวนไม่เกิน 2 คน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

อำนาจของคณะกรรมการรัฐทศกรรมแบบผสมผสาน มีหน้าที่ดังนี้ 1. พิจารณารายงานคดีที่จะให้มีการนิรโทษกรรมที่หน่วยงานราชการในกระบวนการยุติธรรมตามข้อ 1 เสนอ หากมีความเห็นแย้งให้ตอบกลับหน่วยงานราชการภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับรายงาน 2. พิจารณาอุทธรณ์กรณีผู้ใช้สิทธิ์ยื่นคำร้องต่อหน่วยงานราชการ แต่ได้รับการปฏิเสธไม่ดำเนินการ มีสิทธิ์ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการนิรโทษกรรมและให้มีผลผูกพันกับหน่วยงานราชการ

นายนิกร กล่าวต่อไปว่า 3. หยิบยกคดีคดีที่รับผลกระทบตาม พ.ร.บ. นี้ แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้หยิบยกขึ้นพิจารณาเพื่อส่งให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งกรณีที่กรรมการเห็นเอง หรือกรณีที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้เสียหายหรือผู้เกี่ยวข้องร้องขอ 4. พิจารณาชี้ขาดกรณีกรณีที่มีปัญหามาสู่คณะกรรมการว่าคดีใดได้รับสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้หรือไม่ จากการเสนอของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องผู้เสียหายและผู้เกี่ยวข้องรวมถึงกรณีกรณีที่คณะกรรมการพบเห็นเอง 5. จัดทำรายงานผลปฏิบัติหน้าที่ประจำปีเสนอต่อ ครม. เพื่อเสนอรัฐสภารับทราบและเผยแพร่ต่อสาธารณชน 6. สื่อสารสร้างความเข้าใจสาธารณะ เพื่อนำไปสู่การสร้างความปรองดอง และ 7. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการตาม พ.ร.บ. นี้

นายนิกร กล่าวต่อว่า การประชุมครั้ง ต่อไปจะหารือเกี่ยวกับการไม่ให้กระทำความผิดซ้ำ และการคืนสิทธิบางประการ และพิจารณาถึงฐานความผิด โดยจะทำเป็นบัญชีแนบท้ายกฎหมาย ว่าประกอบด้วยความผิดอะไรบ้าง ที่จะนิรโทษกรรมให้ ส่วนคดีความผิดที่เกี่ยวกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จะนำไปพิจารณาวาระสุดท้าย

“เดิมที่ศึกษาตลอดมา 17 ฐานความผิดยังไม่มี แต่สนทนาเพื่อสิทธิมนุษยชนได้เสนอมา ส่วนการตัดสินใจว่าจะรวมหรือไม่รวม ซึ่งตอนนี้ข้อมูลครบถ้วนแล้ว แต่ตอนนี้มี 25 ฐานความผิด เป็นจำนวนคดีเท่าไรมีหมดแล้ว อยู่ที่ว่าเราจะเสนอว่าเราจะชี้ว่าให้มีฐานความผิดอะไรบ้าง 112 จะรวมหรือไม่ ยังอยู่ในการตัดสินใจ เข้าใจว่าสัปดาห์หน้าจะพิจารณาเรื่องนี้หรืออีกครั้งหนึ่งก็จะจบแล้ว” นายนิกร กล่าว

นายนิกร กลาวต่อว่า ขณะนี้มีการทยอยเตรียมทำรายงานสรุปการประชุมแล้ว โดยรายงานของคณะอนุกรรมธิการ ได้สั่งทำแล้ว จัดพิมพ์แล้ว เหลือเพียงรายงานของคณะกรรมการชุดใหญ่ โดยคาดว่าจะเสนอได้ในช่วงสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ หรือล่าช้าออกไปไม่เกิน 2 สัปดาห์.