ในช่วงต้นปี โดยภายในงานมีผู้นำทั่วโลกจากทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจเข้าร่วมมากกว่า 1,600 คน ซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิจากประเทศไทย 18 รายเข้าร่วมด้วย หัวข้อการประชุมจึงเน้นไปที่ประเด็น “พรมแดนใหม่ของการเติบโต” ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดต่างร่วมมือกันผ่านการพูดคุยและพิจารณา เพื่อหาวิถีทางในการปรับตัวเข้ากับโลกที่พัฒนาอย่างรวดเร็วนี้

ธีมของงานดังกล่าว เป็นการตอกยํ้าถึงจุดมุ่งเน้นเชิงกลยุทธ์ โดยเฉพาะ แนวคิด “Sustainomy” ที่มุ่งมั่นในการสร้าง ‘นิยามใหม่ของระบบทุนนิยม’ ที่ไม่เพียงให้ความสำคัญแค่เรื่องผลตอบแทนทางการเงิน แต่ต้องให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ที่นำมาซึ่ง​ความยั่งยืนของ​สิ่งแวดล้อม และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนในสังคมควบคู่ไปด้วย เป็นแนวทางใหม่ เพื่อสร้างคุณค่าและระเบียบโลกชุดใหม่ ที่เสริมความแข็งแรงให้กับเศรษฐกิจเดิม ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม และผลักดันการเติบโตของระบบนิเวศครั้งใหม่

“ปิยะชาติ อิศรภักดี” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แบรนดิ แอนด์ คอมพานีส์ จำกัด ในฐานะนักธุรกิจไทยที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมในฐานะสมาชิกของสภาอนาคตโลก (Global Future Council) มีบทบาทสำคัญในการร่วมกำหนดทิศทางในประเด็นสำคัญต่าง ๆ ของโลก ได้แสดงวิสัยทัศน์ในงาน ผ่านการปาฐกถา 3 หัวข้อสำคัญ ได้แก่

โมเดลการเติบโตแห่งอนาคต (Next-Generation Growth Models): ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เทรนด์ทางเทคโนโลยี ภูมิรัฐศาสตร์ และสังคม ล้วนสร้างความเปลี่ยนแปลง ต่อสภาพภูมิทัศน์พื้นฐานของโลก นำไปสู่การถือกำเนิดของโมเดลหลากหลาย ที่สร้างการเติบโตที่แปลกใหม่ ไม่ทอดทิ้งใครไว้เบื้องหลัง ยั่งยืน และมั่นคง กว่า 11 ปี แบรนดิ ได้เป็นส่วนสำคัญในการสร้างเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น ผ่านการวางรากฐานสู่การเติบโตที่ไม่เหมือนใคร ด้วยกลยุทธ์และการปรับใช้กลยุทธ์ ที่เตรียมพร้อมสำหรับอนาคตให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ในการปาฐกถาเกี่ยวกับหัวข้อดังกล่าว

“ปิยะชาติ” ได้นำเสนอแนวทางให้ผู้เข้าร่วมได้เห็นภาพของโมเดลการเติบโตในปัจจุบัน และชี้นำไปที่การเปลี่ยนผ่านไปสู่โมเดลการเติบโตแห่งอนาคต ซึ่งเน้นยํ้าความสำคัญของการมีส่วนร่วมระหว่างผู้คน ภาครัฐ และภาคเอกชน โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ความกระจ่างเกี่ยวกับแนวทางการเติบโตในอนาคตของเศรษฐกิจโลก

สำหรับผู้ประกอบการเชิงนิเวศ หรือ Ecopreneurship คือ การผสมกันระหว่างความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) กับการดูแลสิ่งแวดล้อม (Environmental Stewardship) ซึ่งถือเป็นพลวัตสำคัญที่จะปรับสภาพภูมิทัศน์ทางธุรกิจได้ โดย “ปิยะชาติ” ได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ทั้งผู้นำภาคธุรกิจ และภาครัฐ รวมทั้งผู้ประกอบการภายใน (Intrapreneur) สามารถนำไปปรับใช้ เพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน นอกจากนั้นยังชี้ให้เห็นถึงเส้นทาง ที่จะส่งเสริมให้ความเป็นผู้ประกอบการเชิงนิเวศกลายเป็นความปกติ (Mainstreaming) ในหลากหลายภาคส่วน และเพื่อสร้างเศรษฐกิจสีเขียวที่สามารถนำไปใช้ได้จริงได้อีกด้วย

ขณะที่วิสัยทัศน์สู่อนาคต: เป้าหมายระดับโลก ในขณะที่กำหนดเวลาสำหรับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Deve lopment Goals) ใกล้เข้ามาทุกที การบรรลุเป้าหมายเหล่านี้กลับยังคงเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่อยู่ “ปิยะชาติ” จึงเน้นยํ้าถึงความจำเป็นในการผลักดันทั้งในแง่มุมการลงทุนและการตั้งเจตนารมณ์เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายภายในปี 2030 เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ทรงพลังสำหรับการเติบโตระยะยาวที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง อันจะสร้างอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคนให้เกิดขึ้นจริงได้การมีส่วนร่วมในการประชุมในเวทีโลกครั้งนี้ของคุณอาร์มจึงตอกยํ้าถึงความเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในระดับโลกอย่างชัดเจน.