จากกระแส “ลิซ่า แบล็กพิงก์” (ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล) ได้เลือกโลเคชั่นถนนเยาวราช กรุงเทพฯ ประเทศไทย ถ่ายทำ MV เพลงใหม่ ROCKSTAR เพลงแรกของค่ายตนเอง LLOUD ได้สร้างความตื่นตาตื่นใจ เพลงพุ่งติดเทรนด์โลก ทำให้บรรยากาศการท่องเที่ยวไทย เป็นไปด้วยความคึกคัก

ที่สำคัญ “ลิซ่า” ได้เลือกถนนเยาวราช เป็นโลเคชั่นหลักของ MV เพลง ROCKSTAR เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ดึงดูดการท่องเที่ยว และสนับสนุนนโยบายการถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทยของรัฐบาล ถือเป็นซอฟต์พาวเวอร์อย่างหนึ่ง ที่ช่วยให้ต่างชาติรู้จักประเทศไทย และสร้างรายได้ให้กับประเทศ

สถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศทั้งหมด 49 จังหวัด เปิดสถิติมากที่สุด 10 จังหวัด ปี 2567 (ม.ค.-มิ.ย.) มีที่ไหนบ้าง?
1. กรุงเทพมหานคร จำนวน 152 เรื่อง เช่น วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร สถานีรถไฟหัวลำโพง เยาวราช เป็นต้น
2. จังหวัดปทุมธานี จำนวน 44 เรื่อง เช่น ACTS Studio มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นต้น
3. จังหวัดชลบุรี จำนวน 33 เรื่อง เช่น ถนนเลียบชายหาดพัทยา เกาะล้าน เกาะสีชัง เป็นต้น
4. จังหวัดนนทบุรี จำนวน 22 เรื่อง เช่น อิมแพ็ค อารีนา ถนนบอนด์สตรีท เมืองทองธานี เป็นต้น
5. จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 21 เรื่อง เช่น เมืองโบราณ The Studio Park ท่าเรือศุภนาวา เป็นต้น
6. จังหวัดภูเก็ต จำนวน 21 เรื่อง เช่น หาดพาราไดซ์ ย่านเมืองเก่าภูเก็ต พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี เป็นต้น
7. จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 16 เรื่อง เช่น อำเภอพนม เป็นต้น
8. จังหวัดนครปฐม จำนวน 16 เรื่อง เช่น ตลาดน้ำดอนหวาย มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เป็นต้น
9. จังหวัดพังงา จำนวน 14 เรื่อง เช่น เขาตาปู หรือเกาะตะปู เป็นต้น
10. จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 14 เรื่อง เช่น หมู่บ้านแม่กำปอง ปางช้างแม่สา อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เป็นต้น

กองถ่ายประเทศไหน เข้ามาถ่ายทำหนังในไทยมากที่สุด?
1. อินเดีย จำนวน 26 เรื่อง
2. เกาหลี จำนวน 25 เรื่อง
3. ญี่ปุ่น จำนวน 24 เรื่อง
4. จีน จำนวน 24 เรื่อง
5. สหรัฐอเมริกา จำนวน 17 เรื่อง
6. ฮ่องกง จำนวน 14 เรื่อง
7. สหราชอาณาจักร จำนวน 14 เรื่อง
8. เนเธอร์แลนด์ จำนวน 11 เรื่อง
9. เยอรมนี จำนวน 11 เรื่อง
10. ฝรั่งเศส จำนวน 9 เรื่อง

จากข้อมูลที่ปรากฏ พบว่า ประเภทภาพยนตร์ที่เข้ามาถ่ายทำมากที่สุด
อันดับ 1 เป็นโฆษณาและประชาสัมพันธ์
อันดับ 2 สารคดี
อันดับ 3 รายการโทรทัศน์
อันดับ 4 ภาพยนตร์เรื่องยาว
อันดับ 5 มิวสิกวิดีโอ
อันดับ 6 เกมโชว์และเรียลิตี้
อันดับ 7 ภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์
อันดับ 8 Stock Footage
อันดับ 9 ละครโทรทัศน์

สถิติการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย ปี 2567 จำนวน 233 เรื่อง งบประมาณการถ่ายทำทั้งสิ้น 3,560 ล้านบาท

  • มกราคม 2567 จำนวน 46 เรื่อง 1,170 ล้านบาท
  • กุมภาพันธ์ 2567 จำนวน 45 เรื่อง 475.15 ล้านบาท
  • มีนาคม 2567 จำนวน 41 เรื่อง 1,100 ล้านบาท
  • เมษายน 2567 จำนวน 39 เรื่อง 360.69 ล้านบาท
  • พฤษภาคม 2567 จำนวน 43 เรื่อง 301.62 ล้านบาท
  • มิถุนายน 2567 จำนวน 19 เรื่อง 156.75 ล้านบาท

เปิดสถิติรายได้ถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2559-2567

  • ปี 2559 จำนวน 779 เรื่อง สร้างรายได้ 2,371 ล้านบาท
  • ปี 2560 จำนวน 810 เรื่อง สร้างรายได้ 3,074 ล้านบาท
  • ปี 2561 จำนวน 714 เรื่อง สร้างรายได้ 3,139 ล้านบาท
  • ปี 2562 จำนวน 740 เรื่อง สร้างรายได้ 4,863 ล้านบาท
  • ปี 2563 จำนวน 176 เรื่อง สร้างรายได้ 1,747 ล้านบาท (ช่วงการระบาดโควิด-19)
  • ปี 2564 จำนวน 121 เรื่อง สร้างรายได้ 4,657 ล้านบาท
  • ปี 2565 จำนวน 346 เรื่อง สร้างรายได้ 4,668 ล้านบาท
  • ปี 2566 จำนวน 346 เรื่อง สร้างรายได้ 6,753 ล้านบาท
  • ปี 2567 จำนวน 233 เรื่อง สร้างรายได้ 3,560 ล้านบาท (ม.ค.-มิ.ย.)

ทั้งนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ตั้งเป้ารายได้ถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทยตลอดปี 2567 ไว้ที่ 7,500 ล้านบาท

ที่มา : กองกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต่างประเทศ กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ณ วันที่ 28 มิ.ย. 67