หลายคนที่กำลังมองหาทางเลือกในการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คงเคยได้ยินชื่อมหาวิทยาลัยอินเตอร์ในประเทศไทยมาบ้าง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะได้ทั้งความรู้ ประสบการณ์ และการใช้ชีวิตในต่างประเทศ โดยไม่ต้องไปไกลถึงเมืองนอก แต่สิ่งที่หลายคนอาจสงสัยคือ การสมัครเรียนมหาวิทยาลัยอินเตอร์ต้องใช้ผลคะแนนอะไรบ้าง วันนี้เรามีคำตอบ


คะแนนที่ใช้ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยอินเตอร์มีอะไรบ้าง

ในการสมัครเรียนมหาวิทยาลัยอินเตอร์ในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะใช้ผลคะแนนสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษเป็นเกณฑ์หลัก ซึ่งมีให้เลือกสอบหลากหลายแบบ ดังนี้

IELTS (International English Language Testing System)

IELTS เป็นการทดสอบภาษาอังกฤษมาตรฐานนานาชาติ ที่ได้รับการยอมรับจากสถาบันการศึกษา บริษัท และองค์กรต่างๆ เป็นจำนวนมาก โดยจะวัดทักษะภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การฟัง (Listening), การอ่าน (Reading), การเขียน (Writing) และการพูด (Speaking) ซึ่งผู้สอบจะได้คะแนนสำหรับแต่ละทักษะ ตั้งแต่ระดับ 1-9 และมีคะแนนเฉลี่ยรวมทุกทักษะ สามารถใช้ผลสอบยื่นสมัครเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาได้ทั่วโลก

TOEFL (Test of English as a Foreign Language)

TOEFL คือ ข้อสอบวัดความสามารถภาษาอังกฤษสำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในการสมัครเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ข้อสอบ TOEFL จะวัดทักษะด้านการฟัง (Listening), การอ่าน (Reading), การพูด (Speaking) และการเขียน (Writing) โดยมีทั้งแบบ TOEFL iBT ซึ่งสอบผ่านทางคอมพิวเตอร์ และแบบ TOEFL ITP ที่สอบด้วยกระดาษ

CU-TEP (Chulalongkorn University Test of English Proficiency)

CU-TEP เป็นข้อสอบภาษาอังกฤษที่จัดสอบโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษของนิสิตนักศึกษา โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การฟัง (Listening) 60 ข้อ, การอ่าน (Reading) 60 ข้อ และการเขียน (Writing) 2 ข้อ ใช้เวลาสอบทั้งหมด 2 ชั่วโมง 30 นาที ผลสอบสามารถนำไปใช้สมัครเรียนหรือสมัครงานได้ตามที่หน่วยงานต่างๆ กำหนด

TU-GET (Thammasat University General English Test)

TU-GET คือ การทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษทั่วไป ซึ่งจัดสอบโดยสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อใช้วัดระดับความสามารถภาษาอังกฤษของผู้เรียน ข้อสอบประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ การฟัง (Listening), การใช้ภาษา (Language Use), การอ่าน (Reading) และการเขียน (Writing) โดยมีจำนวนข้อสอบรวม 140 ข้อ ใช้เวลาทำข้อสอบประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาที ผลคะแนนมีอายุ 2 ปี นับจากวันสอบ

SAT (Scholastic Aptitude Test)

SAT เป็นการทดสอบมาตรฐานเพื่อวัดความพร้อมในการเรียนระดับมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาและคณะอินเตอร์ของมหาวิทยาลัยในไทย โดยจะเป็นการประเมินว่า นักศึกษามีทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียนบรรยายที่ดี ที่ช่วยให้สามารถประสบความสำเร็จในการศึกษาได้หรือไม่ จัดสอบโดยองค์กร College Board ซึ่งข้อสอบ SAT จะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่

  • Evidenced – Based Reading & Writing ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 40 นาที (มีคะแนนเต็ม 800 คะแนน) แบ่งย่อยออกเป็น 2 ชุด คือ Reading มี 52 ข้อ และ Writing and Language มี 44 ข้อ จาก 4 บทความ
  • Math ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 20 นาที (มีคะแนนเต็ม 800 คะแนน) แบ่งย่อยออกเป็น 2 ชุด คือ Math Test – No Calculator (ไม่สามารถนำเครื่องคิดเลขเข้าไปใช้ได้) มีทั้งหมด 20 ข้อ และ Math Test – Calculator (สามารถใช้เครื่องคิดเลขได้) มีทั้งหมด 38 ข้อ


ทั้งนี้ สำหรับการนำคะแนนสอบ SAT ไปใช้ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยอินเตอร์ในไทย จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละมหาวิทยาลัย/คณะ/สาขา บางคณะดูแค่คะแนน SAT MATH บางคณะดูเฉพาะ SAT Reading & Writing หรือ บางคณะใช้คะแนนสอบทั้งสองส่วนเป็นเกณฑ์

A-Level (Advanced Level General Certificate of Secondary Education)

A-Level คือ การทดสอบความรู้ทางวิชาการสำหรับนักเรียนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ตามระบบการศึกษาของประเทศอังกฤษ ซึ่งจะเทียบเท่ากับวุฒิการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 ของประเทศไทย สามารถใช้ในการยื่นเข้ามหาวิทยาลัยในหลักสูตรอินเตอร์ได้ โดยนักเรียนจะต้องเลือกสอบตามรายวิชาที่คณะนั้น ๆ กำหนด ในส่วนของการสอบ จะจัดสอบโดย Cambridge International Examinations (CIE) ผลการสอบสามารถใช้สมัครเรียนต่อมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร รวมถึงนานาประเทศทั่วโลก มีรายวิชาประมาณ 55 วิชา สามารถแบ่งได้ 5 กลุ่มวิชา ดังนี้

  • English Language and Literature
  • Mathematics
  • Sciences
  • Humanities and Social Sciences
  • Languages
  • Creative and Professional


สรุปบทความ

การเลือกสอบวัดระดับภาษาอังกฤษเพื่อใช้สมัครเรียนมหาวิทยาลัยอินเตอร์ในไทยนั้น มีตัวเลือกให้เลือกค่อนข้างเยอะ ไม่ว่าจะเป็น IELTS, TOEFL, CU-TEP, TU-GET, SAT หรือ A-Level ซึ่งแต่ละข้อสอบก็จะมีรูปแบบ เนื้อหา จุดเด่น และระยะเวลาในการเก็บผลสอบที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น ก่อนตัดสินใจเลือกสอบ ควรศึกษาข้อมูลของแต่ละข้อสอบให้ดีก่อน ว่าเราถนัดแบบไหน เหมาะกับสาขาที่อยากเรียนหรือไม่ และมีเวลาเตรียมตัวมากน้อยแค่ไหน เพื่อที่จะสามารถเลือกสอบในรูปแบบที่ใช่ เตรียมตัวอย่างเต็มที่ และมีความพร้อมในการสอบมากที่สุด เพราะผลคะแนนที่ดีจะช่วยเปิดประตูสู่มหาวิทยาลัยในฝันได้ไม่ยาก

สุดท้ายนี้สำหรับคนที่กำลังมองหามหาวิทยาลัยอินเตอร์ในไทยเพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี เราขอแนะนำ มหาวิทยาลัยนานาชาติสแตมฟอร์ด (Stamford Internaltional University) มีหลักสูตรให้เลือกถึง 4 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต, หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต, หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สำหรับผู้ที่สนใจสมัครเรียนหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ผ่านช่องทางดังนี้