นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังร่วมรับฟังความคิดเห็น (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านพลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2567-2580 หรือเออีดีพี 2024ว่า จุดยืน ส.อ.ท. ตามร่างแผนเออีดีพี 2024  ต้องส่งเสริมเอทานอลต่อไป โดยน้ำมันพื้นฐาน ต้องเป็น อี 20 หรือน้ำมันเบนซิน ที่มีส่วนผสมเอทานอล อัตราส่วน 20%  ไม่ใช่อี 10 หรือน้ำมันเบนซิน ที่มีส่วนผสมเอทานอล อัตราส่วน 10% ตามแผนเออีดีพีใหม่ ที่จะปรับลดจากอี 20 เหลืออี10

ทั้งนี้ ส.อ.ท. ขอแสดงความเห็นต่อ (ร่าง) AEDP 2024 ดังนี้

1. กระบวนการจัดทำขาดความโปร่งใส จัดทำแบบเร่งรัด ไม่เป็นไปตามเสียงส่วนใหญ่ ขาดการมีส่วนร่วมจากภาคเกษตรกร ภาคการค้า

2. ทำลายศักยภาพของประเทศ ปิดเส้นทางการแข่งขัน ตัดระบบรายได้ของเกษตรกรมากกว่า 1.2 ล้านครัวเรือน เพิ่มโอกาสให้ต่างชาติกดราคาสินค้าเกษตร ทำลายโอกาสในการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน   ลดความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมเอทานอล 

3. ขัดแย้งยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาของประเทศจากการบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero  และการพัฒนาเศรษฐกิจโมเดล BCGควรวาง Roadmap การพัฒนาอุตสาหกรรมเอทานอล ระยะสั้น กลาง ยาว เพื่อปรับไปสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานเป็นอุตสาหกรรมเอทานอลมูลค่าสูง ได้ตามระยะเวลาที่สมเหตุสมผล

ส.อ.ท.ได้จัดทำข้อเสนอ 3 ข้อหลัก คือ  

1. สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

– ส่งเสริมอุตสาหกรรมการเกษตรที่เป็นจุดแข็งของประเทศ พัฒนาประสิทธิภาพการเกษตรต้นน้ำ ลดต้นทุนการผลิต ลดการพึ่งพาสินค้าและพลังงานฟอสซิลจากต่างประเทศ

1.1 ส่งเสริมอุตสาหกรรมการเกษตรที่เป็นจุดแข็งของประเทศ 

o ลดการพึ่งพา สินค้าและพลังงานฟอสซิลจากต่างประเทศ สร้างรายได้แก่เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยและมันสำปะหลังกว่า 170,000 ล้านบาทต่อปี กระจายรายได้สู่เกษตรกร 1.2 ล้านครัวเรือน

o สร้างอำนาจต่อรอง สินค้าเกษตร เป็น Hub ของมันสำปะหลังจากประเทศเพื่อนบ้าน ป้องกันการกดราคามันเส้นจากประเทศจีน 

1.2 พัฒนาประสิทธิภาพการเกษตรต้นน้ำ ลดต้นทุนการผลิต

o เพิ่มผลผลิต (Yield) ต่อไร่ ใช้เทคโนโลยีในการเพาะปลูก เก็บเกี่ยว บริหารจัดการวัตถุดิบ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนเชื้อเพลิงเอทานอลและผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องในอนาค

1.3 สร้างความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ

o ลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ โดยการใช้แก๊สโซฮอล์ E20 ที่ผลิตเองในประเทศ เป็นน้ำมันเบนซินพื้นฐาน ช่วยลดการนำเข้าน้ำมันดิบ 10,493 ล้านลิตร/ปี รวมทั้งสร้างรายได้ต่อห่วงโซ่อุตสาหกรรม 56,000 ล้านบาท/ปี (กรมธุรกิจพลังงาน)

2. ส่งเสริมการพัฒนาของอุตสาหกรรมเอทานอลด้วยเศรษฐกิจโมเดล BCG

– ส่งเสริมแก๊สโซฮอล์ E20 สร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรม เปิดเสรีเอทานอลบริสุทธิ์เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน พัฒนาสู่อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพด้วยเศรษฐกิจโมเดล BCG และ ESG

3. สนับสนุนการบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero

– ลดการปลดปล่อยคาร์บอนในปัจจุบันด้วยแก๊สโซฮอล์ E20 พัฒนาเทคโนโลยีและเชื้อเพลิงใหม่ลดการปลดปล่อยคาร์บอนมากขึ้น และส่งเสริมตลาดสินค้าและพลังงานสะอาดด้วย Carbon tax

สร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

1.1 ส่งเสริมอุตสาหกรรมการเกษตรที่เป็นจุดแข็งของประเทศ 

o ลดการพึ่งพา สินค้าและพลังงานฟอสซิลจากต่างประเทศ สร้างรายได้แก่เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยและมันสำปะหลังกว่า 170,000 ล้านบาทต่อปี กระจายรายได้สู่เกษตรกร 1.2 ล้านครัวเรือน

o สร้างอำนาจต่อรอง สินค้าเกษตร เป็น Hub ของมันสำปะหลังจากประเทศเพื่อนบ้าน ป้องกันการกดราคามันเส้นจากประเทศจีน 

1.2 พัฒนาประสิทธิภาพการเกษตรต้นน้ำ ลดต้นทุนการผลิต

o เพิ่มผลผลิต (Yield) ต่อไร่ ใช้เทคโนโลยีในการเพาะปลูก เก็บเกี่ยว บริหารจัดการวัตถุดิบ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนเชื้อเพลิงเอทานอลและผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องในอนาค

1.3 สร้างความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ

o ลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ โดยการใช้แก๊สโซฮอล์ E20 ที่ผลิตเองในประเทศ เป็นน้ำมันเบนซินพื้นฐาน ช่วยลดการนำเข้าน้ำมันดิบ 10,493 ล้านลิตร/ปี รวมทั้งสร้างรายได้ต่อห่วงโซ่อุตสาหกรรม 56,000 ล้านบาท/ปี (กรมธุรกิจพลังงาน)

2. ส่งเสริมการพัฒนาของอุตสาหกรรมเอทานอลด้วยเศรษฐกิจโมเดล BCG

2.1 ปัจจุบัน – สร้างตลาดเชื้อเพลิงไว้รองรับ 

สร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมเอทานอลด้วยแก๊สโซฮอล์ E20 เพื่อให้อุตสาหกรรมอยู่รอด เติบโต ก่อนเปลี่ยนผ่าน ไปสู่อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงด้วยเศรษฐกิจโมเดล BCG

2.2 ระยะเร่งด่วน – เปิดเสรีตลาดเอทานอลบริสุทธิ์

เปิดเสรีตลาดเอทานอลบริสุทธิ์ เพื่อให้อุตสาหกรรมเอทานอลเชื้อเพลิง ขยายไปสู่อุตสาหกรรมมูลค่าสูง ที่สามารถทำได้ทันที เช่น อุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ สารสกัดสมุนไพร เครื่องสำอางค์ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เป็นต้น

2.3 อนาคต – พัฒนาสู่อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพใหม่* 

ในระยะ 5 – 7 ปี เร่งพัฒนาและเตรียมความพร้อมทั้งในด้านความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเอทานอล เทคโนโลยีการผลิต มาตรฐานความยั่งยืนตามแนวทาง ESG

* หากไม่สร้างความเข้มแข็งและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันตามข้อ 2.1 – 2.2 อุตสาหกรรมเอทานอลจะมีโอกาสน้อยมากที่จะไปต่อจนถึงการพัฒนาสู่อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพใหม่ได้ 

3. ลดการปลดปล่อยมลพิษและคาร์บอน นำพาประเทศสู่ Carbon Neutrality และ Net Zero

3.1 ลดการปลดปล่อยคาร์บอนในรถยนต์ปัจจุบัน 

แก๊สโซฮอล์ E20 ลดการปลดปล่อย CO23.45 ล้านตัน ลดการปลดปล่อยได้มากกว่าการใช้ E10 0.89 ล้านตัน หรือเทียบเท่ากับการดูดซับของป่าโกงกาง 3.13 แสนไร่ต่อปี (กรมธุรกิจพลังงาน)

3.2 เพิ่มการลดการปลดปล่อยคาร์บอนจากรถยนต์

โดยส่งเสริมการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีและเชื้อเพลิงสะอาดใหม่ๆ เช่น Hydrogen

3.3 ประกาศใช้ Carbon Tax ในอัตราที่เหมาะสม 

สามารถส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและขยายตลาดของอุตสาหกรรมสีเขียวสนับสนุนแนวทาง ESG เช่น เชื้อเพลิงเอทานอล เอทานอลสำหรับอุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ สารสกัดสมุนไพร เครื่องสำอาง อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF) และไบโอเอทิลีน (Bio Ethylene) เป็นต้น