ต้องบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ว่าเมื่อวันที่ 18 มิ.ย.2567 ที่ประชุมวุฒิสภา (สว.) มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.เพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. หรือร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม วาระที่ 2-3 ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 130 เสียง ไม่เห็นด้วย 4 เสียง และงดออกเสียง 18 เสียง โดยไม่มีการแก้ไข ประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รับรองการแต่งงานของคนเพศเดียวกันอย่างถูกกฎหมาย สาระสำคัญของพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมมีดังนี้ 1. สิทธิในการหมั้น แต่งงาน และหย่าร้าง คู่สมรสLGBTQIAN+ จะได้รับสิทธิตามกฎหมายในการหมั้น หรือแต่งงาน ซึ่งสามารถจดทะเบียนสมรสในไทยและใช้สิทธิคู่สมรสได้อย่างเต็มที่เช่นเดียวกับคู่สมรสชายหญิง รวมไปถึงในกรณีที่ต้องการหย่าร้างทั้งโดยสมัครใจหรือฟ้องหย่า ก็มีสิทธิได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมเช่นกัน 2.สิทธิในการเป็นผู้ปกครองของบุตรบุญธรรมร่วมกัน 3.สิทธิในการดูแลชีวิตของคู่สมรสตามกฎหมาย ซึ่งมีสิทธิในการลงนามยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่ายได้ในฐานะคู่สมรส และเป็นผู้ตัดสินใจแทนเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล 4.สิทธิในการรับมรดกจากคู่สมรส 5.สิทธิในการจัดการทรัพย์สินหรือสินสมรสร่วมกัน

ณชเล บุญญาภิสมภาร กรรมาธิการสมรสเท่าเทียมภาคประชาชน และรองประธานมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน  กล่าวว่า ก่อนที่กระบวนการทางกฏหมายจะประกาศใช้ซึ่งใช้ระยะเวลา 120 วัน มองว่าไม่จำเป็นที่จะต้องรอกฏหมายประกาศใช้ ภาครัฐหรือภาคส่วนอื่นๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถทำงานล่วงหน้าได้ ซึ่งการตั้งรับอันดับแรกคือการเตรียมพร้อมในภาคส่วนต่างๆที่ต้องจดทะเบียนสมรส เพื่อจะทำเกิดระบบที่เป็นมิตรเหมือนกับจดทะเบียนสมรสชายหญิง ซึ่งเจ้าหน้าที่ ที่ทำหน้าที่ในจุดนี้ต้องมีทัศนคติที่โอบรัดควรเตรียมการได้เลย โดยไม่ต้องรอให้กฏหมายประกาศใช้ อับดับที่ 2 การตอบคำถามเรื่องสิทธิมองว่าอาจจะต้องประกอบหลายภาคส่วน เช่นภาครัฐจะต้องให้ความรู้ เพราะมีการปรับกฏหมาย นศ.ที่เรียนด้านกฏหมาย หรือนักกฏหมาย ทนายต้องมาเรียนรู้กฏหมายที่ถูกปรับใหม่ ขณะเดียวภาคประชาสังคมต้องให้ความรู้พร้อมกับภาครัฐเพื่อให้คนรับรู้สิทธิ โดยต้องใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายไม่ใช่ภาษากฏหมาย เป็นการออกแบบที่คำนึงถึงการสร้างความเข้าใจให้กับทุกคนในสังคมไม่เฉพาะLGBTQIAN+ เพราะเป็นกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ส่งผลกระทบกับทุกคน

เราคิดว่าว่าสังคมและสื่อมวลชนต้องจับตาดูว่า คนข้ามเพศคู่ไหนที่จะมาจดทะเบียนสมรสเป็นคู่แรกเมื่อกฏหมายบังคับใช้”

กรรมาธิการสมรสเท่าเทียมภาคประชาชน และรองประธานมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน  กล่าวต่อว่า หลังจากนี้ประเทศไทยจะเปลี่ยนประวัติศาตร์ใหม่จากตำราเรียนที่ผ่านมา ในระบบการศึกษาของประเทศไทย หลังจากที่มีกฏหมายตรงนี้ซึ่งเป็นกฏหมายของประเทศ จะต้องมาวาวงรากฐานทางการศึกษากันใหม่ ในเรื่องความสัมพันธ์ของคนเพศเดียวกันหรือคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ที่จะต้องไม่ตีตราว่าเป็นเรื่องผิดธรรมชาติ ผิดปกติ จะต้องทำให้คนที่มีความสัมพันธ์ของคนรักเพศเดียวกัน หรือมีความหลากหลายทางเพศเป็นเรื่องปกติ เป็นธรรรมชาติ และสร้างระบบการศึกษาใหม่ว่าคนทุกคนไม่ว่าจะเป็นเพศไหนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม โดยเฉพาะการใช้ภาษาของคนที่มีความหลากหลายทางเพศ เมื่อมีกฏหมายจำเป็นที่คนจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาความหลากหลายทางเพศ โดยเฉพาะภาษาที่เป็นกลางทางเพศที่ใช้ในการออกแบบสมรสเท่าเทียม อาทิเช่นคำว่าสามีภรรยาได้เปลี่ยนเป็นคู่สมรสหรือคำว่าชายและหญิงเปลี่ยนเป็น “บุคคล”

อย่างไรก็ตามขณะนี้ชุมชนที่มีความหลากหลายทางเพศ กำลังผลักดันให้เกิดพ.ร.บ.รับรองอัตลักษณ์ทางเพศสภาพ เรามองว่ากฏหมายรับรองอัตลักษณ์ทางเพศสภาพมีความสำคัญ เป็นการเพิ่มทางเลือก ในการระบุเพศในเอกสารราชการ ได้ใช้คำนำหน้านามที่ตนเองรู้สึกหรืออยากใช้ เพื่อให้คนรู้สึกว่าตัวเองสมบูรณ์พร้อมในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่จะเลือกได้ ซึ่งเป็นกฏหมายอีกตัวฉีกออกมาจากสมรสเท่าเทียม ซึ่งพ.ร.บ.รับรองอัตลักษณ์ทางเพศสภาพ มีร่างพ.ร.บ.ของประชาชนแล้ว ขณะเดียวก็มีร่างพ.ร.บ.ฯของพรรคก้าวไกล ที่ถูกปัดตกในชั้นส.ส. คิดว่าพรรคก้าวไกลคงจะปรับปรุงร่างฯและนำสู่ที่ประชุมรัฐสภาต่อไป ส่วนของภาครัฐขณะนี้มีร่างพ.ร.บ.ฯ รับรองอัตลักษณ์ทางเพศสภาพ ที่ร่างโดยกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เมื่อ2 เดือนที่ผ่านมาได้เปิดประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนไปแล้ว กำลังนำความคิดเห็นมาปรับแก้ โดยทั้ง2ร่างพ.ร.บ.ฯจะนำเสนอไปพร้อมกัน

สุดท้ายปลายทางจะไปเจอที่ชั้นคณะกรรมาธิการเพื่อทำให้เป็นร่างพ.ร.บ.ฯเดียวกัน เพื่อเสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร์ เช่นเดียวกับร่างพ.ร.บ.สมรสมเท่าเทียม ที่ได้เสนอมาถึง 4 ร่างพ.ร.บ.ฯสุดท้ายก็เหลืองร่างพ.ร.บ.ฯเพียงร่างเดียว ทั้งนี้ มูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกระเทยและสิทธิมนุษยชนได้ทำงานเรื่องร่างพ.ร.บ.ฯ รับรองอัตลักษณ์ทางเพศสภาพตั้งปี 2022 เริ่มจากการศึกษาความต้องการก่อน แน่นอนว่าคนข้ามเพศต้องการกฏหมายตัวนี้ จนพัฒนามีร่างพ.ร.บ.ฯของตัวเอง