สถาบันรอยเตอร์ส จัดทำและเผยแพร่รายงาน “ดิจิทัล นิวส์ รีพอร์ต” ประจำปี 2567 ภายหลังการประเมินสถานการณ์สื่อและข่าว ใน 47 ประเทศทั่วโลก ซึ่งสำหรับประเทศไทย รายงานงานพบว่า สื่อในไทยมีอิสระในการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐบาลและการทุจริต แต่ยังคงมีการเซ็นเซอร์ตัวเอง ในประเด็นอ่อนไหวต่าง ๆ

นอกจากนี้ รายงานระบุเสริมว่า การรายงานที่โปร่งใส, การส่งเสริมความรับผิดชอบ และการอภิปรายอย่างมีข้อมูล ยังคงเป็นสิ่งที่สื่อไทย “มีไม่เพียงพอ” เนื่องจากสื่อมวลชนส่วนใหญ่ กลัวที่จะพูดถึงกลุ่มชนชั้นสูงที่ทรงอำนาจในประเทศ อีกทั้งการเซ็นเซอร์ตัวเอง ยังคงเป็นแนวปฏิบัติที่แพร่หลายในสื่อกระแสหลัก

ในแง่ของแหล่งข่าว รายงานพบว่า ชาวไทยใช้แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ในการรับข่าวสาร ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก, ยูทูบ, ไลน์ และติ๊กต็อก ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวบ่งบอกถึงการเปิดกว้างต่อแหล่งข้อมูลที่หลากหลายมากขึ้น รวมถึงความเต็มใจที่จะมีส่วนร่วมในข่าวสารรูปแบบใหม่ และอาจนำไปสู่ภูมิทัศน์ของสื่อที่มีความหลากหลาย และมีความครอบคลุมยิ่งขึ้นไทยด้วย

ทั้งนี้ สื่อไทยที่มีความน่าเชื่อถือในอันดับต้น ๆ ตามรายงานของสถาบันรอยเตอร์ส ได้แก่ ช่อง 7 HD มีความน่าเชื่อถือ 74%, เวิร์คพอยท์ มีความน่าเชื่อถือ 73%, ไทยพีบีเอส มีความน่าเชื่อถือ 72% ส่วนพีพีทีวี ช่อง 36, ไทยรัฐ และ MCOT มีความน่าเชื่อถือเท่ากันที่ 70%

ขณะที่ เดลินิวส์ มีความน่าเชื่อถืออยู่ที่ 65% ในปีนี้ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 64% เมื่อปีที่แล้ว.