ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) หรือปตท. เปิดเผยว่า ปตท.ดำเนินธุรกิจแข็งแรง ร่วมกับสังคมไทยและเติบโตในระดับโลก เดินหน้าธุรกิจบนหลักความยั่งยืนอย่างสมดุล ให้เหมาะกับบริบทองค์กรทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี พร้อมเดินหน้าให้ ปตท.เป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติที่สร้างประโยชน์ให้กับประเทศไทยและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล บริหารองค์กรด้วยความโปร่งใส มีการกำกับดูแลที่ดีมีธรรมาภิบาล

ทั้งนี้ปตท.ในฐานะเป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติ จะเข้าไปมีบทบาททั้งการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในประเทศ และโครงการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ Carbon Capture and Storage (CCS) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ไทยก้าวสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสิทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี พ.ศ. 2608 และ CCS เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ในอนาคคต

ปัจจุบัน ปตท. ได้เริ่มเข้าไปลงทุนธุรกิจไฮโดรเจนในต่างประเทศ เช่น ตะวันออกกลาง ญี่ปุ่น เพื่อศึกษาและเรียนรู้เทคโนโลยี และหากในอนาคตธุรกิจนี้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน ปตท. ก็พร้อมที่จะขยายการลงทุนในประเทศไทย ให้สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ เช่น หากรัฐเริ่มส่งเสริมให้นำไฮโดรเจนมาผสมรวมในท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ทาง ปตท. ก็พร้อมดำเนินการตามนโยบายต่อไป รวมถึงในอนาคตอาจขยายการลงทุนเข้าไปสู่การใช้ไฮโดรเจนในธุรกิจ Mobility ต่อไปด้วย

ส่วนกรณีที่ภาครัฐเดินหน้าผลักดันความร่วมมือการสำรวจปิโตรเลียมในแหล่งพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา (OCA) ปตท. พร้อมจะเข้าไปมีส่วนร่วมกับภาครัฐแน่นอน เนื่องจากเป็นเรื่องความมั่นคงพลังงานประเทศ

สำหรับทิศทางและกลยุทธ์ของกลุ่ม ปตท.เน้นการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน สร้างการเติบโตทางธุรกิจ ควบคู่กับการบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างสมดุล เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊ซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี พ.ศ. 2593 ประกอบด้วย 5 แนวทาง ได้แก่

1. ยกระดับความสามารถทางการแข่งขันให้กับธุรกิจที่มีอยู่เดิม ทำธุรกิจให้แข็งแรง ปรับ Portfolio หาพันธมิตรทางธุรกิจที่มีศักยภาพ พร้อมต่อยอดสร้างการเติบโตในเรื่องที่ถนัดแบ่งเป็น 2 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่

กลุ่มธุรกิจ Hydrocarbon and Power ประกอบด้วย

• ธุรกิจสำรวจและผลิต: สร้างความต่อเนื่อง มั่นคงทางวัตถุดิบ จัดหา source ใหม่ที่มีต้นทุนต่ำสร้างผลตอบแทนที่ดี และต้องสร้างการเติบโต Hydrocarbon ควบคู่กับการทำ Decarbonization
• ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ: สร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจเดิม ซึ่งต้องมีความ Competitive และ Lean แสวงหา Alternative Source ทั้ง Pipe gas และ LNG และมีต้นทุนที่แข่งข้นได้ และต้อง Alignment การทำงานร่วมกับภาครัฐ
• ธุรกิจไฟฟ้า: ภารกิจหลักคือการสร้างความมั่นคง และรักษา Reliability ให้กับกลุ่ม ปตท. พร้อมกับการจัดหาพลังงานสะอาดเพื่อช่วย Decarbonization & Net Zero ของกลุ่ม ปตท. และแสวงหาโอกาสสร้างการเติบโตทั้งในและต่างประเทศ
• ธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น: สร้างความแข็งแรง เติบโตร่วมกับ Strategic Partner รวมทั้ง Competitiveness ด้าน Cost & Feedstock Flexibility ต้องมีการ Synergy Enhancement and Optimization ทั้งกลุ่ม ปตท. รวมถึงการมุ่งเน้นสร้างการเติบโตใน High Value & Low Carbon Business
• ธุรกิจค้าปลีก: มุ่งเน้นการลงทุนที่มี Substance มีความสำคัญต่อผลประกอบการและเป็นประโยชน์ต่อสังคมแต่ Asset light
• ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ: ต้องสร้าง Synergy ภายในกลุ่ม ปตท. ยกระดับขยายผลทั้งในและต่างประเทศ

กลุ่มธุรกิจ Non-Hydrocarbon Business ที่เป็น New S-Curve หรือธุรกิจใหม่ มีหลักในการดำเนินธุรกิจ ดังนี้

กลยุทธ์ที่ทำเรื่อง EV / Life Science & Healthcare / Digital มีความสอดคล้องกับ Global Megatrends แต่ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว องค์กรจึงต้องปรับตัวเร็ว และต้อง Revisit

Revisit value chain ว่า area ใด มีความน่าสนใจ มีอนาคต และเป็นประโยชน์ต่อ ปตท. และประเทศไทย หรือ area ใดที่ ปตท. มีจุดแข็งสามารถ Synergy ในกลุ่ม ปตท. เพื่อที่จะสร้างความแตกต่างได้ ประกอบด้วย

• ธุรกิจ EV และ Logistics ต้องเข้าใจ value chain เลือกเล่นใน space ที่เหมาะสม
• ธุรกิจ Life Science ร่วมมือกับพันธมิตรสร้างประโยชน์ให้กับประเทศ
• ธุรกิจ Industial AI ต้องยกระดับ ขยายผลทั้งกลุ่ม ปตท. ช่วยให้ธุรกิจเดิมเข้มแข็ง และต่อยอดเป็นธุรกิจใหม่

2. สร้างการเติบโต หาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ (Growth: New Business & Opportunity) ต่อยอดสร้างการเติบโตในธุรกิจ โดยเฉพาะด้านความยั่งยืน คือ ธุรกิจไฮโดรเจนและคาร์บอน (Hydrogen and Carbon Business Integration Strategy) สร้างการเติบโตต่อยอดจากเป้าหมาย Decarbonization มุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์แบบบูรณาการทั้งกลุ่ม ปตท. โดยกำหนดบทบาทหน้าที่ชัดเจนและมีเป้าหมายร่วมกัน ใช้จุดแข็งของทุกบริษัทในกลุ่ม โดยมี ปตท. เป็นผู้กำกับดูแลภาพรวม ร่วมผลักดันและขับเคลื่อนให้สำเร็จเป็นโอกาส ransform ธุรกิจเดิมของกลุ่ม ปตท. ให้มี Advantage เพิ่มขึ้น และสามารถพัฒนาเป็นธุรกิจใหม่

3. สร้างความชัดเจนในแนวทางความยั่งยืนทุกมิติ ด้วยการบูรณาการเข้าไปในธุรกิจ ผสานการบริหารจัดการ Portfolio และ Net Zero เข้าด้วยกันทั้งกลุ่ม ปตท. มุ่งสู่การเป็น Net Zero Company ควบคู่กับการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาว และสร้างคุณค่าสู่สังคม ผ่านแนวทาง ปรับ Portfolio การลงทุนและปรับโครงสร้างธุรกิจให้มีความยืดหยุ่น สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ลดการใช้พลังงาน เพิ่มการใช้พลังงานสะอาด และ ชดเชยคาร์บอน ด้วยเทคโนโลยีดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCS) และโครงการปลูกป่า

4. สร้างปัจจัยที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม (Enablers for Transformation) ได้แก่ สร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (Operational Excelence) เพื่อพัฒนาขีดความสามารถ เนื่องจากมีปัจจัยภายนอกต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ จึงควรมุ่งเน้นทำสิ่งที่ควบคุมได้อย่างเข้มข้น ต้องสร้างความแข็งแกร่งจากภายใน (Build core resilience) ลดต้นทุน โดยการยกระดับ Operation & Efficiency ด้วยการนำเทคโนโลยี ดิจิทัล และ AI มาประยุกต์ใช้ โดยมีแผนงานและเป้าหมายที่ชัดเจน และขยายผลทั่วทั้งกลุ่ม ปตท. อีกทั้ง ต้องทำ Lean Organization ร่วมกับ Digital Transformation ซึ่งต้องเริ่มในวันที่องค์กรยังแข็งแรง จัดลำดับความสำคัญ เริ่มทำโครงการที่เห็นผลลัพธ์เร็ว เพื่อให้เกิดการยอมรับในทุกระดับ และต้องสร้างความเข้มแข็งด้าน Culture สร้างความตระหนัก ปลูกฝังให้พนักงานกล้าที่จะปรับและพร้อมที่จะเปลี่ยนเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

5. รักษาพื้นฐานสำคัญ มุ่งเน้นธรรมาภิบาลและการกำกับกิจการที่ดี บริหารองค์กรด้วยความโปร่งใส มีธรรมาภิบาลยึดถือ Way of Conduct อย่างเคร่งครัด รวมถึงการบริหารบุคลากร ด้วยความยุติธรรม โปร่งใส สร้าง Ecosystem ส่งเสริมคนดีและคนเก่งให้เติบโตอย่างเหมาะสม รวมถึงการมีความเป็นเลิศทางด้านการเงิน (Financial Excellence) ซึ่งถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการดำเนินธุรกิจ

“ปตท. ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติ จะนำนโยบายรัฐบาลมาดำเนินการให้สอดคล้องกับบริบทของธุรกิจ ปตท. โดยคำนึงถึงประชาชน และผู้มีส่วนได้เสียอย่างเหมาะสม บทพื้นฐานความสมดุลด้านมั่นคงด้านพลังงาน กำไรที่เหมาะสม การคำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม”

นอกจากนี้ปตท.เตรียมทบทวนกลยุทธ์ธุรกิจตามแผนลงทุน 5 ปีใหม่(2568-2572) ภายในเดือน ส.ค.นี้ โดยจะต้องนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการ ปตท.(บอร์ด ปตท.) อนุมัติต่อไป คาดว่า จะเห็นความชัดเจนได้ในช่วงเดือน ก.ย.- ต.ค.นี้ ทั้งวงเงินลงทุน ธุรกิจที่จะเร่งเดินหน้าต่อ และธุรกิจที่จะอาจปรับลดขนาด หรือถอยการลงทุนลง เป็นต้น ซึ่งปตท.จะดำเนินการอย่างระมัดระวัง และเชื่อว่าจะเป็นผลดีต่อการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนหลังเห็นแผนการลงทุนที่ชัดเจนออกมาในอนาคต

ทั้งนี้ การทบทวนกลยุทธ์ธุรกิจในครั้งนี้ จะทบทวนธุรกิจของปตท.ทั้งหมด ทั้งในส่วนของธุรกิจ Hydrocarbon and Power ได้แก่ ธุรกิจสำรวจและผลิต,ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ,ธุรกิจไฟฟ้า,ธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น,ธุรกิจค้าปลีก และธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ และในส่วนของธุรกิจ Non-Hydrocarbon Business ได้แก่ ธุรกิจEV ,ธุรกิจLogistics ,ธุรกิจLife Science และธุรกิจDigital / AI

“โลกเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว องค์กรจึงต้องปรับตัวเร็ว และต้อง Revisit ทั้งธุรกิจ Hydrocarbon และ ธุรกิจ Non-Hydrocarbon เช่น จีนที่มีปัญหาสภาวะเศรษฐกิจและมีการปรับกลยุทธ์การลงทุนที่เดิมการก่อสร้างโรงงานเคยใช้เวลา 5 ปี และปัจจุบันเหลือ 3-4 ปี ก็จะทำให้มีกำลังการผลิตใหม่เข้าสู่ตลาดปริมาณมาก จึงต้องทบทวนผลกระทบเหล่านี้ที่เป็นปัจจัยจากภายนอกประเทศ เป็นต้น ขณะที่ธุรกิจใหม่ อย่าง EV ซึ่งมี Value Chain ที่เกี่ยวข้องในหลายมิติ ก็ต้องพิจารณาให้ครอบคลุม”

ที่ผ่านมา คณะกรรมการ ปตท.(บอร์ด ปตท.) เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2566 ได้มีมติอนุมัติงบฯลงทุน 5 ปี (ปี 2567-2571) ของ ปตท. และบริษัทที่ ปตท. ถือหุ้น 100% วงเงินรวม 89,203 ล้านบาท

นอกจากนี้ ปตท.พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจสอดรับกับนโยบายของรัฐบาล โดยจะผลักดันด้านพลังงานให้เป็นไปตาม “แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2567-2580 หรือ PDP 2024” ฉบับใหม่ โดยเฉพาะการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดมากขึ้นในสัดส่วน 51% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด