จากกรณีโลกออนไลน์เผยแพร่เรื่องราวของชายหนุ่มคนหนึ่ง ที่โชคร้ายโดนงูกัดเข้าที่ขา ภายหลังใช้เชือกรัดบริเวณเหนือบาดแผลก่อนไปยัง รพ. ในพื้นที่พร้อมรูปถ่ายงูตัวต้นเหตุ พอไปถึงก็ได้รับการรักษาเบื้องต้น ก่อนจะให้ยาแก้ไข้แก้ปวดกลับมาบ้าน สอบถามได้ทราบความว่า งูตัวดังกล่าวไม่มีพิษ แต่ด้วยความสงสัย เพราะเมื่อนำรูปงูไปโพสต์ลงโซเชียลแล้ว ปรากฏว่ามีหลายเสียงยืนยันว่าเป็นงูกะปะ จึงได้ตัดสินใจขับรถมารักษาต่อที่ รพ. ตัวเมืองชัยภูมิ ปรากฏว่าคราวนี้ แพทย์ยืนยันว่า งูที่กัดคือ งูกะปะ จริง และหากไม่ได้รับการรักษาโดยเร็วแล้ว อาจต้องตัดขาทิ้ง เพราะพิษจะส่งผลต่อระบบเลือด

เกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. นายบุญโฮม ภิรมย์กิจ อายุ 47 ปี เกษตรกรผู้ปลูกมันสําปะหลังรายหนึ่งในพื้นที่ จ.ชัยภูมิ เปิดเผยว่า เหตุเกิดเมื่อเวลา 02.00 น. วันที่ 10 มิ.ย. 67 ที่ผ่านมา โดยตนตื่นมาเข้าห้องน้ำ แต่กลับโดนงูฉกเข้าที่ขา จึงรีบใช้เชือกรัดขาเหนือบาดแผล บีบเอาเลือดตรงแผลออก พร้อมกับถ่ายรูปงูลงโซเชียล พร้อมกับรีบเดินทางไป รพ. ในพื้นที่ทันที ปรากฏว่าทาง รพ. แจ้งว่า น่าจะเป็นไม่ใช่งูมีพิษ พร้อมแจกยาพาราเซตามอล (ยาแก้ไข้แก้ปวด) ก่อนจะให้กลับมาพักที่บ้าน

อย่างไรก็ตาม ระหว่างนั้น ตนพบว่าเพื่อน ๆ ในโลกโซเชียล ต่างให้ความเห็นในทิศทางเดียวกันว่าน่าจะเป็น “งูกะปะ” ที่มีพิษร้ายแรง ทำให้ตนรีบเดินทางมายัง รพ. ตัวเมืองชัยภูมิ ก่อนได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งหากมาช้ากว่านี้ อาจต้องตัดส่วนขาที่โดนกัดทิ้ง ต้องขอบคุณเพื่อน ๆ ที่เข้ามาให้ความรู้ รวมทั้งฝากไปยัง รพ. หลาย ๆ แห่ง ช่วยตรวจสอบงูและรักษาคนไข้โดยเร็วด้วย ถ้าหากไม่แน่ใจ ก็ควรส่งตัวไปรักษาที่ รพ.ศูนย์ใหญ่ เพื่อความปลอดภัยของคนไข้เอง

ทั้งนี้ หลังจากมีกระแสข่าวเรื่องดังกล่าวออกไปทำให้เกิดเสียงวิพาก์วิจารณ์กันอย่างกว่างขวาง ปรากฏว่า ผู้อำนวจโรงพยายาลแห่งแรก ที่ นายบุญโฮม ไปรับการรักษา ได้ชี้แจงว่าโดยอ้างว่า รพ.ทำการตรวจรักษาตามขั้นตอนแล้วพบว่า ค่าความหนืดของเลือดยังปกติ จึงให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้ แต่ด้วยคำพูดที่สื่อสารอาจไม่เข้าใจกัน เพราะงูที่กัดอาจจะปล่อยพิษไม่มาก ไม่ถึงขึ้นอันตรายร้ายแรง จึงเป็นการเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ทางรพ.ฝากขอโทษไปยังผู้บาดเจ็บด้วย จากนี้จะกำชับให้เจ้าหน้าที่ทุกคน ใช้คำพูดในการสื่อสารที่เข้าใจมากกว่านี้ เพื่อไม่เกิดการเข้าใจผิดเช่นนี้อีกต่อไป.