คนทำงานออฟฟิศส่วนใหญ่มักต้องเผชิญกับปัญหาออฟฟิศซินโดรม หรืออาการปวดเมื่อยต่างๆ จากการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ซึ่งการเลือกใช้โต๊ะทำงานที่เหมาะสมนับเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยป้องกัน บรรเทา และลดอาการออฟฟิศซินโดรมได้เป็นอย่างดี วันนี้เรามีเทคนิคการเลือกโต๊ะทำงาน และการจัดสรรพื้นที่ทำงานมาฝาก เพื่อให้คุณทำงานได้อย่างสบายและห่างไกลจากออฟฟิศซินโดรม

5 เทคนิคการเลือกโต๊ะทำงาน เพื่อลดอาการออฟฟิศซินโดรม

1. เลือกโต๊ะที่มีความสูงเหมาะสมกับสรีระของคุณ

โต๊ะทำงานที่ดีควรมีความสูงพอดีกับสรีระของผู้ใช้งาน โดยเมื่อนั่งทำงาน ข้อศอกควรอยู่ในแนวเดียวกับพื้นโต๊ะ ไม่ต้องก้มหรือยกไหล่ขึ้นเวลาพิมพ์งานหรือใช้เมาส์ เพื่อไม่ให้เกิดอาการปวดไหล่ ปวดต้นคอ และอาการต่างๆของออฟฟิศซินโดรม

2. หาโต๊ะทำงานที่มีพื้นที่กว้างขวางเพียงพอต่อการใช้งาน

พื้นที่บนโต๊ะทำงานควรมีขนาดกว้างพอที่จะวางอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็น เช่น คอมพิวเตอร์ เอกสาร โทรศัพท์ ได้อย่างสะดวก เพราะหากวางของไม่เป็นระเบียบ หรือวางของซ้อนทับกันจนรก อาจจะทำให้ต้องก้ม หรือบิดตัว เอี้ยวตัว เพื่อเอื้อมหยิบของบ่อยๆ ซึ่งอาจทำให้รู้สึกปวดมากขึ้นได้

3. เน้นโต๊ะทำงานที่ปรับระดับได้ เพื่อให้นั่งหรือยืนทำงานถนัดมือ

โต๊ะทำงานแบบปรับระดับได้ ไม่ว่าแบบใช้มือหมุนหรือใช้ระบบไฟฟ้า จะช่วยให้คุณสามารถปรับความสูงของพื้นโต๊ะให้เหมาะกับการนั่งหรือยืนทำงานในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถแบบนี้จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ลดอาการปวดเมื่อยจากการนั่งทำงานท่าเดิมนานๆ ป้องกันออฟฟิศซินโดรมได้ดี

4. ดูวัสดุที่ใช้ทำโต๊ะ เลือกพื้นผิวด้านไม่สะท้อนแสงจ้า ผิวไม่ลื่นหรือมันจนเกินไป

วัสดุที่ใช้ทำโต๊ะทำงานก็เป็นอีกปัจจัยที่ไม่ควรมองข้าม ควรเลือกโต๊ะที่มีพื้นผิวด้าน ไม่สะท้อนแสงจ้าจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ เพื่อไม่ให้เกิดอาการปวดตาหรือตาพร่ามัว นอกจากนี้พื้นโต๊ะควรเป็นวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย ผิวไม่ลื่นหรือมันวาวจนทำให้ของวางไม่อยู่กับที่ ป้องกันอุบัติเหตุระหว่างทำงานเพิ่มเติมจากออฟฟิศซินโดรม

5. เสริมอุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น เก้าอี้สำนักงาน ที่พักเท้า ที่วางแขน หรือรางวางสายไฟให้เป็นระเบียบ

นอกจากการเลือกโต๊ะทำงานที่เหมาะสมแล้ว การเสริมอุปกรณ์ต่างๆ ก็ช่วยลดความเสี่ยงของออฟฟิศซินโดรมได้เช่นกัน เช่น เก้าอี้สำนักงาน การใช้ที่พักเท้าเพื่อลดแรงกดทับที่หลังและสะโพก การใช้ที่วางแขนช่วยพยุงแขนขณะพิมพ์เพื่อลดอาการปวดไหล่ รวมถึงการใช้ตะขอหรือรางเก็บสายไฟให้เป็นระเบียบ ป้องกันอุบัติเหตุหรือการเกี่ยวสะดุดสายไฟโดยไม่ตั้งใจ


เคล็ดลับการจัดโต๊ะทำงานให้ถูกหลักสรีรศาสตร์ ห่างไกลออฟฟิศซินโดรม

นอกจากการเลือกโต๊ะทำงานที่เหมาะสมแล้ว การจัดวางอุปกรณ์บนโต๊ะให้ถูกต้องตามหลักสรีรศาสตร์ ก็ช่วยป้องกันออฟฟิศซินโดรมได้ดีไม่แพ้กัน โดยมีเคล็ดลับดังนี้

จัดจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา ไม่ต้องก้มหรือเงยคอจนปวดตึง

ควรวางจอคอมพิวเตอร์ให้ขอบบนของจออยู่ที่ระดับเดียวกับสายตา เพื่อไม่ต้องก้มคอลงหรือเงยคอขึ้นขณะมองจอ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการออฟฟิศซินโดรม ที่ทำให้มีอาการปวดบริเวณลำคอและบ่า

วางแป้นพิมพ์และเมาส์ให้อยู่ในระยะที่สามารถเอื้อมถึงได้

แป้นพิมพ์และเมาส์ควรอยู่ในระยะที่มือและแขนวางได้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่ต้องเอื้อมหรือยื่นไปข้างหน้ามากจนเกินไป ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมในรูปแบบอาการปวดไหล่ ปวดข้อมือ หรือเอ็นอักเสบได้

เว้นพื้นว่างใต้โต๊ะให้เพียงพอ เพื่อให้ขาได้เหยียดเป็นบางครั้ง เพื่อคลายเมื่อย

พื้นที่ว่างใต้โต๊ะต้องมีความกว้างและสูงพอที่จะให้คุณนั่งได้อย่างสบาย ขยับขาได้โดยไม่ติดขัด และยืดเหยียดได้ในบางครั้งเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือดและคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดขาจากออฟฟิศซินโดรม

เลือกใช้เก้าอี้ทำงานที่นั่งสบาย ปรับความสูงได้ พนักพิงรองรับหลังได้ดี เบาะนุ่มแต่ไม่ยวบจนเกินไป

สุดท้าย เก้าอี้สำนักงาน หรือเก้าอี้ทำงานก็เป็นอีกอย่างที่ควรให้ความสำคัญไม่แพ้โต๊ะทำงาน ควรเลือกเก้าอี้ที่ปรับระดับความสูงต่ำได้ เพื่อให้นั่งได้พอดีกับความสูงของโต๊ะ พนักพิงรองรับหลังและเอวได้ดี ช่วยลดอาการปวดหลังจากออฟฟิศซินโดรมได้ และเบาะรองหลัง ควรมียืดหยุ่น ปรับตามสรีระผู้ใช้งาน และไม่ยวบจนทำให้หลังงอหรือไหล่ห่อ

การเลือกโต๊ะทำงานที่เหมาะสม พร้อมจัดวางอุปกรณ์และเลือกเก้าอี้ให้ถูกหลักสรีรศาสตร์ จะช่วยให้คุณนั่งทำงานได้อย่างสบาย ไร้อาการปวดเมื่อย และห่างไกลจากอาการออฟฟิศซินโดรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ