นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ตามที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แถลงวิสัยทัศน์และแนวทางเพื่อขับเคลื่อน IGNITE THAILAND จุดพลัง รวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง ยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเกษตรและอาหารของโลก พร้อมผลักดันเป้าหมายสร้างรายได้เพิ่มขึ้น 3 เท่า ใน 4 ปี ผ่านการขับเคลื่อนด้วย 2 มาตรการ คือ มาตรการสร้างภูมิคุ้มกันและความยั่งยืน และมาตรการยกระดับสินค้าเกษตรสู่การเพิ่มรายได้ โดยจะมีการดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ ด้านปัจจัยการผลิต พันธุ์ ดิน ปุ๋ย น้ำ พัฒนาพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ส่งเสริมการนำเทคนิคการปรับแต่งหรือแก้ไขยีน (Gene editing: GEd) ส่งเสริมให้ไทยเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ที่มีศักยภาพและใหญ่ที่สุดในอาเซียน และด้านเทคโนโลยี ส่งเสริมการนำเครื่องจักรกลการเกษตรมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน แรงงานสูงวัย และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ส่งเสริมการทำเกษตรแม่นยำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิต ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพ

เพื่อเป็นการขับเคลื่อน IGNITE THAILAND กรมวิชาการเกษตรมีผลงานวิจัยที่ประสบความสำเร็จ และมีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่พร้อมทั้งบริบททางสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สอดรับกับความต้องงการของ เกษตรกร ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่สำคัญสามารถส่งผ่านความความสำเร็จทั้งหมดไปสู่กลุ่มเป้าหมายให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมทั้งเพื่อสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน รักษา ต่อยอด การดำเนินโครงการพระราชดำริโดยมีการนำงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตรที่โดดเด่นมาใช้ในพื้นที่ของโครงการพระราชดำริที่กรมรับผิดชอบและปรับใช้ในพื้นที่ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จนประสบความสำเร็จและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อเกษตรกร ในวันที่ 13-15 มิถุนายน 2567 นี้ กรมวิชาการเกษตรจึงได้เตรียมจัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้เกี่ยวกับโครงการการขับเคลื่อน “IGNITE THAILAND ภาคการเกษตร” ภายในงานโครงการสืบสาน รักษา ต่อยอด ศูนย์เรียนรู้การผลิตพืช ตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย นิทรรศการผลงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตร ดังนี้

จุดที่ 1 การขับเคลื่อน IGNITE THAILAND ภาคการเกษตรของกรมวิชาการเกษตร การพัฒนาพันธุ์พืชใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม Genome Editing (GEd) ศูนย์กลางเมล็ดพันธุ์ Tropical Seed Hub การผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มาตรการลดเผา 3R และเทคโนโลยีปลูกมันสำปะหลังโดยใช้ระบบน้ำหยดเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนน้ำ การใช้ปุ๋ยอย่างแม่นยำ และปุ๋ย PGPR สำหรับการปลูกพืช คาร์บอนเครดิตคลินิกลดผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้า การปรับปรุงกฎหมายและอำนวยความสะดวกการนำเข้า-ส่งออก การขึ้นทะเบียนปุ๋ยและวัตถุอันตรายทางการเกษตร การขึ้นทะเบียนชีวภัณฑ์ 5 ชนิด โครงการหลวง  โครงการ 76 โมเดล 76 จังหวัดการผลิตสินค้าเกษตรอย่างปลอดภัยมูลค่าสูงมาตรฐาน GAP จุดที่ 2 ศูนย์เรียนรู้การผลิตพืชตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ นิทรรศการโครงการพระราชดำริและโครงการพิเศษที่โดดเด่นของกรมวิชาการเกษตร จุดที่ 3 การใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซัง เพื่อลด PM 2.5 ที่เกิดจากการเผา ชมการสาธิต “การใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังในนาข้าวโดยใช้โดรน”