พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562   (Personal Data Protection Act: PDPA) หรือ ที่เรียกว่า “ก.ม.พีดีพีเอ” ของไทย ได้มีผลใช้บังคับ อย่างเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 65

ถือเป็นกฎหมายที่ออกมามา เพื่อคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคลของประชาชน และป้องกันการถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของทุกคน รวมถึงการจัดเก็บข้อมูล และนำไปใช้ โดย ไม่ได้แจ้งให้ทราบ ของหน่วยงานต่างๆ

โดยมี สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPCเป็นหน่วยงานในรูปแบบ “องค์การมหาชน” ในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี) ที่จัดตั้งขึ้นพื่อมาดูแลบังคับใช้ กฎหมาย ในเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล

ภาพ pixabay.com

 ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลของเรานั้น ก็ได้แก่  ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ รูปถ่าย บัญชีธนาคาร อีเมล ไอดีไลน์ บัญชีผู้ใช้ของเว็บไซต์ ลายนิ้วมือ ประวัติสุขภาพ เป็นต้น  ที่สามารถ ระบุถึงตัวเจ้าของข้อมูลนั้นได้  โดยข้อมูลดังกล่าว อาจจะอยู่ ในรูปแบบเอกสารกระดาษ หรือถูกจัดเก็บในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการบังคับใช้ “ก.ม.พีดีพีเอ” มาได้ 2 ปีแล้ว แต่ก็มีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ยัง ไม่รู้สิทธิ ในข้อมูลส่วนบุคคลของตัวเอง รวมถึงปัจจุบัน ก็ยังมีการขายโมยข้อมูล ขาย ข้อมูลส่วนบุคคล  ทั้งที่ถูกแฮกเกอร์ เจาะระบบขโมยจากหน่วยงานต่างๆ รวมถึงพนักงานนำข้อมูลลูกค้าไปขายเอง ดังเห็นจากข่าวที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง!!

เมื่อเราถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ตาม กฎหมายพีดีพีเอ นั้น มีระเบียบที่กำหนดให้ประชาชนหรือ ผู้ที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล สามารถใช้สิทธิ์ในการ “ร้องเรียน” ต่อผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล และผู้ประมวลผลข้อมูล ส่วนบุคคลที่ฝ่าฝืนกฎหมายได้

ซึ่งจะมี  “ศูนย์ให้คำปรึกษาและรับเรื่องร้องเรียน” ภายใต้ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  เป็นหน่วยงานที่คอยดำเนินการในการรับเรื่อง, แสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ทั้งจากผู้ร้องเรียน ผู้ถูกร้องเรียน หรือพยานที่เกี่ยวข้อง, การทำสำนวนเรื่องร้องเรียน จากนั้น จะเสนอข้อเท็จจริงของเรื่องร้องเรียนต่อ คณะกรรมการ ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อพิจารณาออกคำสั่งทางปกครองต่อไป

ทั้งข้อมูลจาก  “ศูนย์ให้คำปรึกษาและรับเรื่องร้องเรียน” เมื่อมีประชาชนร้องเรียนเรื่องการถูก ละเมิดข้อมูล ส่วนบุคคลเข้ามานั้น  ทางศูนย์จะมีการรับเรื่อง และทำการตรวจสอบ เอกสารหลักฐานตามแบบคำร้องเรียน ประกอบกับการพิจารณาเอกสารต่างๆ

จากนั้น จะทำการแสวงหาข้อเท็จจริง เพิ่มเติม ทั้งความครบถ้วนถูกต้องของข้อมูลเอกสาร ซึ่งในกรณี ที่ไม่ครบถ้วน ผู้ร้องเรียนก็จำเป็นต้องนำกลับไปปรับแก้ไขก่อนยื่นเรื่องใหม่ รวมไปถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่ผู้ร้องเรียนให้มา พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่สามารถพิจารณาข้อมูลจากฝั่งเดียวได้ ต้องตรวจสอบ วิเคราะห์รายละเอียด และต้องไปแสวงหา ข้อเท็จจริงจากผู้ถูกร้องหรือพยานเพิ่มเติม ขั้นตอนต่อมาจะทำสำนวน หลังจากนั้น ถึงจะนำเสนอคณะกรรมการ ผู้เชี่ยวชาญพิจารณา

อีกทั้งบางกรณีที่คณะกรรมการฯ มองว่าข้อมูลที่รวบรวมมายังมีไม่มากพอ ก็อาจเรียกกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องเข้า มาเพื่อสอบถามข้อเท็จจริงเพิ่มเติมในประเด็นนั้น ๆ ได้เช่นกัน   โดยการวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องร้องเรียนทั้งหมด จะเป็นหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ

สำหรับ เรื่องร้องเรียนที่ได้รับการเสนอต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญนั้น  จะถูกพิจารณาแบ่งออกเป็น 3 คณะ คือ คณะที่ 1 พิจารณาเรื่องสถาบันการเงิน  คณะที่ 2 พิจารณาเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัล  คณะที่ 3 พิจารณาเรื่อง เกี่ยวกับหน่วยงาน ภาครัฐ

โดยผลการพิจารณาจะออกเป็นคำสั่ง แยกเป็นกรณีที่สามารถไกล่เกลี่ยกับคู่กรณีได้ และกรณีที่มีมูล และพยานหลักฐานชัดเจน ให้พิจารณาสั่งลงโทษทางปกครองได้  อย่างไรก็ตาม ในปี 67 นี้ ทาง สคส. ได้เตรียมเพิ่ม คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญขึ้นมาอีกหนึ่งคณะ คือ คณะที่ 4 เพื่อพิจารณาในเรื่อง โรงพยาบาล สาธารณสุข และการศึกษา โดยมีเป้าหมายว่า จะช่วยลดระยะเวลาการดำเนินงาน พร้อมยกระดับกระบวนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ภาพ pixabay.com

ทั้งนี้เมื่อดูสถิติ รายงานการรับแจ้งเรื่องร้องเรียน ตั้งแต่ปี  2564 ถึง 30 เม.ย. 2567 พบว่า ได้มีการรับเรื่องร้องเรียน รวม 512 เรื่อง และมีการพิจารณาออกคำสั่งไปแล้ว 122 เรื่อง หรือคิดเป็น 23.82% เท่านั้น!?!

อย่างไรก็ตามทาง สคส. ให้ข้อมูลว่า  การแจ้งเรื่องร้องเรียน โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นเรื่องการถูกเปิดเผยข้อมูล ส่วนบุคคลโดยที่ไม่ได้รับความยินยอม รวมถึงขอใช้สิทธิ์ลบ ทำลาย และขอปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ในทุกช่องทาง ประกอบด้วย ยื่นต่อสำนักงานโดยตรงที่ PDPA Center

หรือ ยื่นผ่านไปรษณีย์ ตามที่อยู่ คือ  ศูนย์บริการประชาชน PDPA Center อาคารศูนย์บริการลูกค้า 99 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานครฯ 10210 และยื่นผ่านอีเมล  [email protected] ซึ่งทุกช่องทางมีแนวโน้มการร้องเรียนเพิ่มขึ้น  โดยมี ประชาชนเข้าร้องเรียนเฉลี่ยวันละ 5 คนจากทุกช่องทาง

สาเหตุหลัก ๆ มาจากสังคมเกิดการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลกันมากขึ้น รวมถึงที่ประชาชนได้ตระหนักรู้สิทธิ์ ในกฎหมาย พีดีพีเอ ของตนเริ่มมากขึ้นเช่นกัน

ในขณะเดียวกัน ที่ผ่านมาได้พิจารณาไม่รับเรื่องร้องเรียนไปแล้วถึง 136 เรื่อง หรือคิดเป็น 26.56  % เหตุผลหลักมาจากคำร้องนั้นไม่อยู่ในขอบเขตของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เนื่องจากประชาชนยังขาดความรู้ ความเข้าใจ สิทธิ์ตามกฎหมาย พีดีพีเอ ซึ่งกรณีนี้ทาง ศูนย์ให้คำปรึกษาและรับเรื่องร้องเรียน จะแจ้งเหตุผล ให้ผู้ร้องเรียนทราบ พร้อมให้คำปรึกษาแนะนำกรณีสามารถใช้สิทธิ์ตามกฎหมายอื่นได้

นอกจากนี้ในปี 67 จะมีการเสริมแนวทางการปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีขึ้นกับประชาชน อาทิ การเพิ่มจำนวนบุคลากร, เพิ่มความเสถียรให้ระบบการรับเรื่องร้องเรียนที่หน้าเว็บไซต์, พัฒนาระบบ จัดเก็บฐาน ข้อมูลเรื่องร้องเรียน รวมถึงด้านสถิติต่าง ๆ เพื่อความโปร่งใสในการทำงาน นอกจากนี้ ยังมีการเตรียมจัดทำคู่ มือแนวทางของศูนย์ฯ เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยึดเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงานด้วย

รวมถึงจะเร่งสร้างความตระหนักรู้ในกฎหมาย พีดีพีเอ ผ่านทางช่องทางของสำนักงานฯอย่างต่อเนื่อง  เช่น เฟสบุ๊ค , ยูทูบ  หรือทางโทรศัพท์ในการให้คำปรึกษา เพื่อลดความเข้าใจผิดและลดเรื่องร้องเรียนที่ ไม่ตรงกับหลักการ ของกฎหมาย พีดีพีเอ โดยมีเป้าหมายว่า สถิติการร้องเรียนมีตัวเลขลดลง

อย่างไรก็ตาม เมื่อเราถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ก็มีสิทธิ ร้องเรียนได้ตามกฎหมาย โดยการตระหนักรู้ถึง ข้อมูลส่วนบุคคลของเราเอง ก็จะช่วยป้องกันและลดการร้องเรียนได้ทางหนึ่ง!?!

จิราวัฒน์ จารุพันธ์