สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ จะได้ทีมผู้บริหารใหม่ จากการเลือกตั้งสภากรรมการชุดใหม่ วันที่ 8 ก.พ. 67 ซึ่งเป็นการรับช่วงต่อจาก พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ที่นั่งเก้าอี้นายกสมาคมฯ มา 2 สมัย 8 ปีเต็ม

การเลือกตั้งมี 19 ตำแหน่ง นายกสมาคมฯ 1 คน, อุปนายก 5 คน และกรรมการกลาง 13 คน รวมสภากรรมการ 19 คน โดยในตำแหน่งนายกสมาคม มี 5 ผู้สมัครชิงชัย คือ “มาดามแป้ง” นวลพรรณ ล่ำซำ ผู้จัดการทีมฟุตบอลทีมชาติไทย, “ป๊อก” วรงค์ ทิวทัศน์ อดีตเลขานุการฝ่ายจัดการแข่งขัน บริษัท ไทยลีก จำกัด, “พอลลีน” พยุริน งามพริ้ง อดีตประธานเชียร์ไทยพาวเวอร์, “บิ๊กตุ๋ย” ธนศักดิ์ สุระประเสริฐ อุปนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลฯ ชุดปัจจุบัน และ “อ๋อ วังโอ่ง” คมกฤช นภาลัย กูรูลูกหนังไทย

แฟ้มภาพ

ทั้งนี้ การประชุมใหญ่วิสามัญ พิเศษ เพื่อการเลือกตั้งสภากรรมการ จะมีในช่วงบ่ายของวันที่ 8 ก.พ. 67

สำหรับตำแหน่งนายกสมาคม และอุปนายกสมาคม ผู้ได้รับเลือกต้องมีคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง ถ้ายังไม่ได้ จะตัดชื่อที่มีคะแนนท้ายสุดออก

สรุปรายชื่อผู้สมัคร ในตำแหน่งต่างๆ เรียงตามหมายเลข และแบ่งทีม ดังนี้

นายกสมาคม มีสมัคร 5 คน เลือกได้ 1 คน
(1) นางนวลพรรณ ล่ำซำ
(2) นายวรงค์ ทิวทัศน์
(3) นายพยุริน งามพริ้ง
(4) นายธนศักดิ์ สุระประเสริฐ
(5) นายคมกฤช นภาลัย

อุปนายก มีผู้สมัคร 18 คน เลือกได้ 5 คน

ทีมนวลพรรณ
(1) นายวิลักษณ์ โหลทอง
(2) นายปวิณ ภิรมย์ภักดี
(3) นายอดิศักดิ์ เบ็ญจศิริวรรณ
(4) ดร.ชาญวิทย์ ผลชีวิน
(5) นายอรรณพ สิงห์โตทอง

ทีมวรงค์
(6) นายยรรยง อัครจินดานนท์
(7) นายอนุชิต กุลวานิช
(8) นายคุณาชา ไชยชุมพร

ทีมพยุริน
(9) นายชัยวัฒน์ แก้วผลึก
(10) นายรักศักดิ์ เลิศคงคาทิพย์
(11) นายเฉลิมวุฒิ สง่าพล
(12) นายชัยกร ชัยมงคลยศ
(13) นายสุโชค เลิศวัฒนาโกเมศ

ทีมธนศักดิ์
(14) นายสินาท เฮงสุวนิช
(15) นายปรีชา ศรีเขียวพงษ์
(16) นายยุทธนา ก้อนทอง
(17) นายสมนึก ทองแก้ว
(18) นายอัคคะไกร มหาศรี

ทีมคมกฤช
ไม่มี

กรรมการกลาง สมัคร 46 คน เลือกได้ 13 คน

ทีมนวลพรรณ
(1) นางสาวกฤษยา ภู่มงคลสุริยา
(2) ดร.นภัสนันท์ พรรณนิภา
(3) พลตำรวจโท สำราญ นวลมา
(4) นาวาอากาศเอก ปิยะพงศ์ ผิวอ่อน
(5) นายเลิศศักดิ์ พัฒนชัยกุล
(6) นายประมูลชัย นพสุวรรณวงศ์
(7) นาวาโท นายแพทย์ พรเทพ ม้ามณี
(8) นายธนวัชร นิติกาญจนา
(9) พันตำรวจโท หม่อมหลวง กิติบดี ประวิตร
(10) นายอนุรุทธิ์ นาคาศัย
(11) นายกุดั่น สุขุมานนท์
(12) นายทรงเกียรติ ลิ้มอรุณรักษ์
(13) นายมิตติ ติยะไพรัช

ทีมวรงค์
(14) นางสาวธีรณา เศรษฐสมภพ
(15) นายวิศิษฐ์ กาญจโนภาศ
(16) ผศ.ดร.ไพฑูรย์ มนต์พานทอง
(17) นายพงษ์กฤษณ์ โอถาวร
(18) นายนภดล ร่มโพธิ์
(19) ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
(20) นายดิฏฐชัย จันทร์คุณา
(21) ดร.พิทักษ์ชน โชติกมลพงศ์

ทีมพยุริน
(22) นางสาวนิษฐา ชยะกฤตย์
(23) นางสาววรัญรดา ชยะกฤตย์
(24) นายประสิทธิ์ แจ้งถิ่นป่า
(25) นายณัชฐพงศ์ มูฮำหมัด
(26) นายพีรพล เอื้ออารียกูล
(27) นายพรชัย พยนต์ภาค
(28) นายวรเดช ภูประไพ
(29) นายพิชัย คงศรี
(30) นายเชิดชัย สุวรรณนัง
(31) นายโกสินทร์ อัตตโนรักษ์
(32) นายกณิศ สงวนวงศ์
(33) นายรุ่งวิทย์ แจ้งสว่าง

ทีมธนศักดิ์
(34) นางสาวสุรีวงษ์ นามวงษ์
(35) นายรุ่งรัฐ จิตตการ
(36) นายอภิชาติ จันทร์หอม
(37) นายเทิดศักดิ์ ใจมั่น
(38) นายไพศาล ชโนวรรณ
(39) นายภานพ ใจเกื้อ
(40) นายปารุส สุระประเสริฐ
(41) นายชัยพร ออฟูวงศ์
(42) นายนันทพล ชูเวสศิริพร
(43) นายสาวิน จรัสเพชรานันท์
(44) นายยุทธนา ทวีสรรพสุข
(45) นายสุรเชษฐ์ จรัสเพชรานันท์
(46) นายบุญพบ ประพฤติ

ทีมคมกฤช
ไม่มี

โดยสโมสรสมาชิกที่มีสิทธิออกเสียงมีทั้งหมด 72 เสียง ประกอบด้วย

สโมสรที่เข้าร่วมการแข่งขันในลีกสูงสุด สโมสรผู้มีสิทธิออกเสียง 1 ราย ออกเสียงได้ 1 เสียง
1. บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
2. ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด
3. การท่าเรือ เอฟซี
4. เมืองทอง ยูไนเต็ด
5. สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด (ลีโอ เชียงราย ยูไนเต็ด)
6. ชลบุรี เอฟซี
7. โปลิศ เทโร เอฟซี
8. ราชบุรี เอฟซี
9. บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
10. ลำพูน วอร์ริเออร์
11. พีที ประจวบ เอฟซี
12. สุโขทัย เอฟซี
13. ขอนแก่น ยูไนเต็ด
14. นครราชสีมา มาสดา เอฟซี
15. หนองบัว พิชญ เอฟซี
16. ลำปาง เอฟซี

สโมสรที่เข้าร่วมการแข่งขันในลีกอันดับที่สอง สโมสรผู้มีสิทธิออกเสียง 1 ราย ออกเสียงได้ 1 เสียง
1. นครปฐม ยูไนเต็ด
2. ตราด เอฟซี
3. อุทัยธานี เอฟซี
4. คัสตอม ยูไนเต็ด (คัสตอม ลาดกระบัง ยูไนเต็ด)
5. เชียงใหม่ ยูไนเต็ด
6. สุพรรณบุรี เอฟซี
7. ระยอง เอฟซี
8. นครศรี ยูไนเต็ด
9. แพร่ ยูไนเต็ด
10. อยุธยา ยูไนเต็ด
11. เชียงใหม่ เอฟซี
12. กระบี่ เอฟซี
13. ชัยนาท ฮอร์นบิล
14. สมุทรปราการ ซิตี้
15. เกษตรศาสตร์ เอฟซี
16. ราชประชา
17. แกรนด์อันดามัน ระนอง ยูไนเต็ด
18. อุดรธานี เอฟซี

สโมสรที่มีคะแนนการแข่งขันอันดับ 1-5 ในแต่ละโซนของลีกอันดับที่ 3 สโมสรผู้มีสิทธิออกเสียง 1 ราย ออกได้ 1 เสียง

ภาคเหนือ
1. พิษณุโลก เอฟซี
2. อุตรดิตถ์ ศักดิ์สยาม เอฟซี
3. โรงสีแม่ใจธนโชติวัฒน์ พะเยา
4. พิษณุโลก ยูนิตี้ (วัดโบสถ์ ซิตี้)
5. น่าน เอฟซี

ภาคใต้
1. เอ็มเอช นครศรี ซิตี้
2. สงขลา เอฟซี
3. ปัตตานี เอฟซี
4. นรา ยูไนเต็ด
5. ยังห์สิงห์ หาดใหญ่ ยูไนเต็ด

ภาคตะวันออก
1. สายมิตรกบินทร์ ยูไนเต็ด
2. ฉะเชิงเทรา ไฮเทค เอฟซี
3. นาวิกโยธิน เอฟซี
4. พัทยา ยูไนเต็ด (พัทยา ดอลฟินส์ ยูไนเต็ด)
5. จันทบุรี เอฟซี

ภาคตะวันตก
1. หัวหิน ซิตี้
2. กาญจนบุรี ซิตี้
3. ชัยนาท ยูไนเต็ด
4. ดราก้อน ปทุม กาญจนบุรี เอฟซี
5. สมุทรสงคราม เอฟซี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1. มหาสารคาม เอสบีที เอฟซี (มหาสารคาม สามใบเถา เอฟซี)
2. ศรีสะเกษ ยูไนเต็ด
3. ราศีไศล ยูไนเต็ด
4. ขอนแก่น เอฟซี
5. อุบล ครัวนภัส เอฟซี

สโมสรที่มีคะแนนการแข่งขันอันดับ 1-5 ในแต่ละโซนของลีก อันดับ 3 สโมสรผู้มีสิทธิออกเสียง 1 ราย ออกได้ 1 เสียง

กรุงเทพและปริมณฑล
1. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
2. บางกอก เอฟซี
3. สมุทรสาคร ซิตี้
4. พราม แบงค็อก
5. จามจุรี ยูไนเต็ด

สโมสรชนะเลิศในลีกสมัครเล่น สโมสรผู้มีสิทธิออกเสียง 1 ราย ออกได้ 1 เสียง
1. พีที สตูล เอฟซี

สโมสรชนะเลิศ และรองชนะเลิศของลีกสูงสุดกีฬาฟุตซอลชาย สโมสรผู้มีสิทธิออกเสียง 1 ราย ออกได้ 1 เสียง
1. ห้องเย็นท่าข้าม
2. แบล็คเพิร์ล ยูไนเต็ด

สโมสรสโมสรชนะเลิศ และรองชนะเลิศของลีกสูงสุดกีฬาฟุตบอล ลีก หญิง สโมสรผู้มีสิทธิออกเสียง 1 ราย ออกได้ 1 เสียง

1. กรุงเทพมหานคร เอฟซี
2. ฟุตบอลหญิง จังหวัดชลบุรี

สำหรับทีมชนะเลิศของลีกกีฬาฟุตซอลหญิง สโมสรผู้มีสิทธิออกเสียง 1 ราย ออกได้ 1 เสียง
1. กรุงเทพมหานครเอฟซี

สำหรับทีมชนะเลิศของลีกสูงสุดกีฬาฟุตบอลชายหาด สโมสรผู้มีสิทธิออกเสียง 1 ราย ออกได้ 1 เสียง
1. มิสซูรี่ พัทยา
2. ออสม่า ซีอาร์เซเวน โกลด์

โดยในวันที่ 8 ก.พ. ช่วงเช้าในการประชุมสามัญของสมาคม จะมีการรับรองเพิ่มอีก 1 เสียง คือ 1 เสียงจากสมาคมนักฟุตบอลอาชีพแห่งประเทศไทย ที่มี สินทวีชัย หทัยรัตนกุล เป็นนายก ก่อนจะการเลือกตั้งในช่วงบ่ายวันเดียวกัน ซึ่งจะทำให้มีจำนวนทั้งสิ้น 73 เสียง