โดยธนาคารโลก ระบุว่า วิกฤติอาหารโลกได้เริ่มขึ้นแล้วตั้งแต่ปี 2565 ที่ผ่านมา และจากรายงานของ Global Report on Food Crises ระบุว่า ประชากรเกือบ 193 ล้านคน ใน 53 ประเทศ กำลังเผชิญกับปัญหาความไม่มั่นคงด้านอาหารอย่างเฉียบพลัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาเกือบ 40 ล้านคน ส่วนการคาดการณ์ การส่งออกอาหารไทยในปี 2567 คาดว่า มีมูลค่า 1.65 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.5%

ทั้งนี้ สถาบันนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. ได้สรุปปัจจัยหลายอย่าง เช่น ภาวะสงครามรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาวัตถุดิบทางการเกษตรที่นำมาใช้ประกอบอาหารปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากทั้งสองประเทศถือเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกวัตถุดิบทางการเกษตรเพื่อนำไปประกอบอาหารรายใหญ่ของโลก ยิ่งไปกว่านั้นราคาก๊าซที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลทำให้ราคาปุ๋ยต้องปรับสูงขึ้นตามไปด้วยจากการที่ก๊าซเป็นต้นทุนสำคัญในการผลิตแอมโมเนียในปุ๋ย และราคาอาหารก็ปรับตัวสูงขึ้น 

นอกจากนี้หลายประเทศมีนโยบายปกป้องตัวเองเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร และเริ่มประกาศกักตุนและจำกัดหรือห้ามการส่งออก เพื่อสำรองวัตถุดิบอาหารและพลังงานไว้สร้างความมั่นคงทางอาหารและการบริโภคภายในประเทศก่อนการส่งออก  ขณะที่สภาวะโลกร้อน ถูกเร่งสปีดให้สูงเพิ่มขึ้น ๆ จากสารพัดกิจกรรมปล่อยก๊าซเรือนกระจกของมวลมนุษยชาติ ไม่เว้นแม้แต่การผลิตอาหาร อย่างการทำปศุสัตว์ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศโลกสูงเป็นอันดับสองรองจากภาคอุตสาหกรรม ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน สภาพอากาศแปรปรวน เกิดความแห้งแล้งและฝนตกชุก นํ้าท่วมในหลายประเทศ ส่งผลต่อพื้นที่เพาะปลูก และผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำทั่วโลก

เมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์ ศาสตราจารย์ Julian Cribb ยังได้ออกมาเตือนว่า สภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศในทั่วโลกนี้ จะทำให้มนุษย์ขาดแคลนอาหาร จนกระทั่งอาหารหมดโลกภายในปี 2593 อีกทั้งสถาบันทรัพยากรแห่งโลก ยังได้รายงานว่า ในปี 2593 จะต้องมีการผลิตอาหารเพิ่มถึง 50% ของปัจจุบัน ถึงจะสามารถรองรับจำนวนประชากรได้ ซึ่งพวกเรายังประสบเคราะห์ซ้ำกรรมซัดจากปัจจัยเร่งที่จะทำให้อาหารขาดแคลนเร็วขึ้น นั่นคือจำนวนประชากรทั่วโลกที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปีอีกด้วย

ถ้าโจทย์ที่เราต้องหาคำตอบคือ ทำอย่างไรถึงจะลดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก ไปพร้อม ๆ กับการเพิ่มผลผลิตทางอาหารให้เพียงพอต่อประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น ?

สิ่งที่ตอบโจทย์นี้ได้ดีที่สุด คือ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสร้างแหล่งอาหารใหม่ ที่เพิ่มผลผลิตได้เร็วกว่า ใช้พื้นที่เพาะเลี้ยงน้อยกว่าการทำปศุสัตว์แบบเก่า ลดทรัพยากรอาหารในการเลี้ยงดู ที่สำคัญยังให้คุณค่าทางโภชนาการสูงและดีต่อความยั่งยืนของโลก เพราะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการสร้างขยะเหลือทิ้ง จากกระบวนการผลิต ตั้งแต่ต้นนํ้าจนถึงปลายนํ้า ซึ่งในปัจจุบันมีการบัญญัติศัพท์ขึ้นและเรียกแหล่งอาหารใหม่ที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสร้างอาหารว่า “อาหารแห่งอนาคต” (Future Food)

ฉะนั้นวันนี้ “อาหารแห่งอนาคต (Future Food)” จึงไม่ใช่สิ่งที่ไกลตัวพวกเราอีกต่อไป แต่เป็นทางออกของเราและของโลก ที่อาหารจะไม่เป็นแค่ของอร่อยกินอิ่มท้อง แต่จะเป็นอาหารที่ดีต่อใจ ดีต่อสุขภาพ และดีต่อโลกใบนี้ของเรา

สำหรับเทรนด์อาหารอุตสาหกรรม คือ

เทรนด์อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต คือ เทรนด์อาหารอย่างหนึ่งของอุตสาหกรรมอาหารโลกที่ต่อยอดกระบวนการผลิตอาหารแบบเดิม ให้ตอบโจทย์การลดสภาวะโลกร้อนไปพร้อมกับสร้างระบบอาหารที่เน้นคุณค่าทางโภชนาการสูง และดีต่อความยั่งยืนของโลก เป็นที่มาของความหลากหลายในการต่อยอดที่ไม่จำกัดรูปแบบหน้าตาของอาหารอนาคต ขอเพียงทำแล้วตอบโจทย์แนวทาง “ดีต่อใจ-ดีต่อสุขภาพ-ดีต่อโลก” ตัวอย่างแนวคิด    กว้าง ๆ ของเทรนด์อุตสาหกรรม “อาหารแห่งอนาคต เช่น

เทรนด์อุตสาหกรรมอาหารที่ใช้เทคโนโลยีแบบใหม่ (Novel Food) หรือที่เรียกในภาษาไทยว่า “อาหารใหม่” กระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความหมายของอาหารใหม่ว่า เป็นอาหารหรือส่วนประกอบของอาหาร ที่ปรากฏหลักฐานทางวิชาการว่ามีประวัติการบริโภคเป็นอาหารน้อยกว่า 15 ปี, อาหารหรือส่วนประกอบของอาหาร ที่ได้จากกระบวนการผลิตที่มิใช่กระบวนการผลิตโดยทั่วไปของอาหารนั้น ๆ ที่ทำให้ส่วนประกอบ โครงสร้างของอาหาร รูปแบบของอาหารนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลต่อคุณค่าทางโภชนาการ กระบวนการทางเคมีภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิต หรือระดับของสารที่ไม่พึงประสงค์, ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีวัตถุตาม

เทรนด์อุตสาหกรรมส่งเสริมสุขภาพ (Functional Food) เป็นอาหารปกติที่มีการใส่คุณประโยชน์ทางโภชนาการเฉพาะเข้าไปส่งเสริมสุขภาพในด้านต่าง ๆ และตัดลดสารอาหารที่ให้ประโยชน์น้อยออกไป เช่น นม Lactose Free สำหรับผู้แพ้นมวัว หรือโปรตีนบาร์เพื่อสุขภาพที่เพิ่มคุณประโยชน์โดยใช้โปรตีนจากผงจิ้งหรีดบด

เทรนด์อุตสาหกรรมเกษตรอินทรีย์ (Organic Food) เป็นเทรนด์อุตสาหกรรมแปรรูปที่ผลิตจากวัตถุดิบอาหารที่ได้จากการเพาะปลูกพืชผัก หรือทำฟาร์มปศุสัตว์ ด้วยการใช้แนวทางเกษตรอินทรีย์ ที่คำนึงถึงการพึ่งพากันของระบบนิเวศทางธรรมชาติทั้งระบบ ลดหรือไม่พึ่งพาสารเคมี ทำให้ได้วัตถุดิบอาหารที่ปลอดภัยจากสิ่งปนเปื้อน ดีต่อผู้บริโภคและดีต่อสิ่งแวดล้อม

เทรนด์อุตสาห กรรมแนวคิดการลดขยะเหลือทิ้ง (Zero Waste Cooking) เทรนด์อุตสาหกรรมอาหารที่คำนึงถึงการลดขยะเหลือทิ้งจากขั้นตอนการสร้างอาหาร ตั้งแต่เพาะปลูก ขนส่ง แปรรูป ปรุงอาหาร ตลอดจนบรรจุภัณฑ์สินค้า เพราะขยะจากอาหารเหลือทิ้งที่ฝังกลบดิน ถึงแม้จะเกิดการย่อยสลายตามธรรมชาติ แต่ก็มีส่วนเพิ่มก๊าซมีเทนที่ก่อให้เกิดสภาวะเรือนกระจกที่ส่งผลต่ออุณหภูมิโลกสูงขึ้น.

อาหารใหม่ (Novel Food)

  • อาหารที่ไม่เคยถูกนำมาเป็นอาหารมาก่อน หรือบริโภคน้อยกว่า 15 ปี
  • อาหารที่ใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมแปลกใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในการผลิตอาหารนั้น เช่น
  • เนื้อเทียม จากโปรตีนทางเลือก พืช เห็ด และธัญพืชต่าง ๆ
  • เนื้อจากห้องแล็บ เพาะตัวอย่างเนื้อเยื่อเซลล์สัตว์ให้เพิ่มปริมาณ
  • อาหารนวัตกรรมใหม่ เช่น ใช้นาโน ฟู้ด ทำน้ำพริกกะปิผง
  • ซูเปอร์ฟู้ด อาหารใหม่ ๆ ที่ให้สารอาหารสูงกว่า เช่น แมลง สาหร่าย

จิตวดี เพ็งมาก