หนึ่งในผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ใหญ่ที่สุดและมีคาร์บอนฟุตปรินท์ที่ตํ่าที่สุดรายหนึ่งของภูมิภาค ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ด้านความยั่งยืนในงาน “GCNT Forum 2023: Partnership for Human Capital 5.0–Towards Sustainable Intelligence รวมพลังพันธมิตรเพื่อพัฒนาคนยุค 5.0 สู่สังคมแห่ง ภูมิปัญญาที่ยั่งยืน” จัดโดยสมาชิกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทยร่วมกับสหประชาชาติในประเทศไทย

“ตวงพร บุณยะสาระนันท์” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานการสื่อสารและการบริหารความยั่งยืนองค์กร บมจ.ซีเค พาวเวอร์ ตัวแทนการเสวนาแลกเปลี่ยนมุมมองบนเวที ปั้นคนให้ก้าวไปข้างหน้า และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์การสร้างคุณค่าร่วมกับชุมชน ระบุว่า “ซีเค พาวเวอร์ ไม่เพียงใช้เทคโนโลยีชั้นนำในการผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังสร้างคุณค่าร่วมกับชุมชนบริเวณรอบโรงไฟฟ้าและบริเวณใกล้เคียง ให้เติบโต มีอาชีพ และสร้างรายได้อย่างยั่งยืน ผ่าน 2 กลยุทธ์สำคัญ คือ การสร้างความเข้มแข็งทางสังคมและสิ่งแวดล้อมให้แก่ชุมชน และการเข้าไปเสริมสร้างคุณค่าแก่สังคมและชุมชนนั้นยังเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาที่ยั่งยืน

ซีเค พาวเวอร์ ได้สร้างความเข้มแข็งทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้กับชุมชน ผ่าน 3 แนวคิดที่สำคัญ ได้แก่ 1.การจัดสรรที่ดินสำหรับสร้างที่พักอาศัยและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้คนในชุมชนได้เข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น ศูนย์อนามัย, โรงเรียน, ศาลากลาง และตลาด 2. การพัฒนาศักยภาพ สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ที่ยั่งยืนของคนในชุมชน เช่น การต่อยอดและเพิ่มประสิทธิภาพของอาชีพ และผลิตภัณฑ์ในชุมชน สนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่น 3.การดูแลระบบสาธารณสุขให้กับชุมชน ยกระดับมาตรฐานสาธารณสุขให้กับชุมชนรอบโรงไฟฟ้า โดยซีเค พาวเวอร์ ให้ความสำคัญ ในทุกขั้นตอนตั้งแต่การพัฒนาแผนงาน การบริหารจัดการจนติดตามผลเพื่อวัดการพัฒนาได้อย่างเป็นรูปธรรม

สำหรับกลยุทธ์ที่ 2 เข้าไปเสริมสร้างคุณค่าแก่สังคมและชุมชน เป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาที่ยั่งยืน นำขีดความสามารถทางด้านวิศวกรรม พลังงานสะอาดมาเติมเต็มชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ และได้นำแนวคิดดังกล่าวมาปรับใช้กับโครงการต่าง ๆ ในระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะชุมชนรอบโรงไฟฟ้าผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับชุมชน และยังรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสืบทอดอาชีพและรายได้ที่ยั่งยืนสู่คนรุ่นต่อไป ซึ่งรวมถึงการเพิ่มโอกาสให้เด็กนักเรียน 1,553 คนได้เข้าถึงการศึกษา ส่งต่อองค์ความรู้เรื่องพลังงานหมุนเวียนให้กับเด็กในไทยและลาว 3,700 คน การเพิ่มมูลค่าให้กับขยะ เปลี่ยนขยะอาหารเป็นวัสดุปรับปรุง สร้างอาชีพและพัฒนาคุณภาพให้กับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น 2 หมู่บ้าน ซึ่งชุมชนสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ นับเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีศักยภาพพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจยุค 5.0