จากกรณีดราม่าร้อนที่หลายคนสนใจมากมาย หลังมีการแฉนักร้องจากเวทีชื่อดัง ไล่แฟนสาวที่กำลังท้องให้ไปทำแท้ง แถมบล็อกหายไปเลย อีกทั้งฝ่ายชายยังมีโลก 4 ใบ ซึ่งทำให้ตกเป็นประเด็นที่หลายคนสนใจ และคาดเดาชื่อต่าง ๆ นานา

แม้ว่าล่าสุดทางรายการโหนกระแส จะได้เรียกสาวผู้เสียหายออกมาสัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องราวสุดบีบหัวใจในครั้งนี้ ทำให้บางช่วงบางตอนขณะสัมภาษณ์ ฟ้า (สาวผู้เสียหาย) ได้เปิดใจว่า เธอท้องและเคยถูกไล่ไปทำแท้ง ซึ่งทำให้ประเด็นนี้ตกเป็นที่ถกเถียงในข้อกฎหมายว่าการทำแท้งผิดมั้ย และต้องรับโทษอะไรบ้าง

โดย กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศเรื่องการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์ ตามมาตรา 305 (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2565 ประกาศฉบับนี้ ได้กำหนดให้ หญิงซึ่งมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ โดยไม่ถือเป็นความผิดทางอาญา แต่หญิงนั้น ต้องได้รับคำปรึกษาจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด โดยคำแนะนำแพทยสภาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อให้หญิงนั้นได้รับข้อมูลที่รอบด้านก่อนการตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์

5 เหตุผลทำแท้งตามกฎหมาย ไม่มีความผิด ถ้าทำโดย ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม, หญิงยินยอม, ดำเนินการตามข้อบังคับแพทยสภา
– มีครรภ์ต่อไปแล้วจะเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายต่อสุขภาพทางกาย/จิตใจ
– มีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ
– มีความเสี่ยงมาก/มีเหตุผลทางการแพทย์ที่เชื่อได้ว่าถ้าคลอดออกมาจะมีความผิดปกติถึงขนาดทุพพลภาพอย่างร้ายแรง
– อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ และหญิงยืนยันทำแท้ง
– อายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ ต้องได้รับการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดฯ และหญิงยืนยันทำแท้ง

**หากหญิงที่ทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกขณะมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ**

ขั้นตอนการตรวจรับคำปรึกษา
1. ทางเลือกหญิงขอรับคำปรึกษาการยุติการตั้งครรภ์ (แจ้งเรื่องด้วยวาจา เป็นหนังสือ โทรศัพท์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์)
2. หน่วยบริการ
– ปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม สายด่วน 1663
– สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย โทร. 0-2590-4171
– กรมอนามัย สายด่วน 1478
– ศูนย์พึ่งได้หรือคลินิกวัยรุ่นของโรงพยาบาลภาครัฐ
– หน่วยบริการเครือข่ายอาสา RSA THAI และระบบออนไลน์

3. ตรวจวินิจฉัย/ประเมินอายุครรภ์ ตามข้อบังคับแพทยสภา
4. หน่วยบริการปรึกษาทางเลือก ให้คำปรึกษา
– รับฟังปัญหาด้วยความใสใจและเป็นมิตร
– ไม่ตรีตราตัดสินการกระทำนี้
– ให้ข้อมูลทางการแพทย์เบื้องต้น ประกอบการตัดสินใจ
– ให้อิสระ ไม่โน้มน้าว บีบบังคับ
– รักความลับการปรึกษาทางเลือกและการยุติการตั้งครรภ

5. หากต้องการตั้งครรภ์ต่อ
– ได้รับการดูแล/ช่วยเหลือสวัสดิการสังคมการตั้งครรภ์/คลอด/เลี้ยงดูบุตร
6. หากยืนยัน #ยุติการตั้งครรภ์
– อายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ : ออกเอกสารยืนยันผ่านการตรวจและรับคำปรึกษา และให้ยุติการตั้งครรภ์
และพิจารณาให้การดูแล/ช่วยเหลือ/สวัสดิการสังคมการยุติการตั้งครรภ์
– อายุครรภ์เกิน 20 สัปดาห์ : ต้องมีเหตุยุติการตั้งครรภ์ตามกฎหมาย (ข้อ 1, 2, 3) ให้ดำเนินการตามข้อบังคับแพทยสภา

ปัจจุบันการทำแท้งอยู่ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายอาญา ความผิดฐานทำให้แท้งลูก ตามมาตรา 301-305 ซึ่งหญิงที่ทำหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตน แท้งลูกและผู้ที่ทำให้หญิงแท้งลูกต้องรับโทษตามกฎหมาย ดังนี้
– มาตรา 301 หญิงใดทำหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ต้องรับโทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

– มาตรา 302 ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม ต้องรับโทษ จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 14,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถ้าเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีและปรับไม่เกิน 20,000 บาท

– มาตรา 303 ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงไม่ยินยอมต้องรับโทษจำคุก ไม่เกิน 7 ปีหรือปรับไม่เกิน 24,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำนั้น เป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องรับโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 20,000 บาท และถ้าเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องรับโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีถึง 20 ปีและปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง
40,000 บาท

– มาตรา 304 ผู้ใดเพียงแต่พยายามกระทำความผิด ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
– มาตรา 305 ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรา 301 และ มาตรา302 เป็นการกระทำของนายแพทย์และจำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของหญิง หรือหญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาตาม มาตรา 276, มาตรา 277, มาตรา 282, มาตรา 283 หรือมาตรา 284 ผู้กระทำไม่มีความผิด….

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ : @สำนักงานกิจการยุติธรรม , @สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา , @กระทรวงสาธารณสุข , @การปฏิรูปกฎหมาย : LAW REFORM