กลายเป็นประเด็นดราม่าร้อนในโลกออนไลน์อยู่ในขณะนี้ ภายหลังจากที่เจ้าของร้านอาหารแห่งหนึ่งในประเทศไอซ์แลนด์  โดยเจ้าตัวได้ไลฟ์สดขับไล่ผู้หญิงคนหนึ่ง  คล้าย “คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์” สมาชิกวุฒิสภา ที่มีคณะติดตามไปด้วยขณะเข้ามาที่ร้านอาหารของตัวเอง พร้อมกับชี้นิ้วให้นักการเมืองคนดังกล่าวออกไปทันที โดยอ้างว่าไม่พอใจที่ สว.คนดังกล่าวได้ทำไว้กับประเทศไทย จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างร้อนแรงนั้น
-‘หมอพรทิพย์’ เคลื่อนไหวแล้ว! ตอบดราม่าโดนไล่ออกจากร้าน หลังลุยไอซ์แลนด์ล่าแสงเหนือ

ล่าสุดเมื่อวันที่ 30 ก.ย. นายพายุ เนื่องจำนงค์ อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ชลบุรี พรรคประชาธิปัตย์ และอดีตคณะทำงานนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ระบุว่า..

“มุมมองส่วนตัว: กรณีของ #หมอพรทิพย์ ที่ถูกขับไล่ออกจากร้านของคนไทยร้านนึงที่ต่างประเทศนั้น ผมมองว่า..”
1.เจ้าของร้าน ‘มีสิทธิ์’ ที่จะปฎิเสธการให้บริการ “ถ้ามีเหตุ” ให้ต้องปฎิเสธ เช่น สร้างความวุ่นวาย / เมา หรือไม่ทำตามระเบียบชองร้านที่ระบุไว้ก่อน (ต้องใส่เสื้อ ใส่รองเท้า ในร้าน) ซึ่งในกรณีจากในคลิปนั้นไม่ใช่ประเด็น

2.เจ้าของร้าน ‘ไม่มีสิทธิ์’ ที่จะไล่ด้วยเหตุดังต่อไปนี้ เช่น สัญชาติ, สีผิว, ศาสนา, เพศสภาพ และในบางที่นั้นครอบคลุมไปถึง ‘การข้องเกี่ยวทางการเมือง’ (political affiliation) ของตัวลูกค้า เช่นในกรณีนี้ที่เจ้าของร้านอ้างการเมืองเป็นเหตุที่ขับไล่หมอ

3.เจ้าของร้าน ‘ไม่มีสิทธิ์’ ที่จะถ่ายสบประมาท และถ่ายประจานหมอและนำมาเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางหมอเช่นในคลิป (รวมถึงลูกค้าต่างชาติที่ไม่รู้เรื่องด้วยที่ติดมาในคลิป) มันเป็นการล่วงเกินสิทธิ์ส่วนบุคคลของตัวหมอ ซึ่งในคลิปนั้นไม่ได้ทำอะไรผิด แต่คลิปกลับเป็นหลักฐานประกอบการละเมิดโดยตัวเจ้าของร้านแทน

4.ขอเรียนว่าบริบทกฎหมายที่พูดถึงนั้นมาจากกฎหมาย anti-discrimination laws และ privacy laws ที่สหรัฐอเมริกาที่พอดีผมคุ้นเคย ซึ่งหลายๆมาตราอาจจะไม่มีการคุ้มครองสิทธิ์ถึงในกฎหมายของประเทศที่เป็นเหตุ แต่เชื่อว่าประเทศที่เป็นสมาชิกอยู่ใน EU ส่วนใหญ่แล้วมีกฎหมายที่ปกป้องสิทธิ์ที่ใช้พื้นฐานของจริยธรรมทำนองเดียวกันอยู่ดี

ทั้งนี้ทั้งนั้นการกระทำดังกล่าว หากต่อให้ไม่ได้เป็นการทำผิดกฎหมาย หรือผิดและไม่มีใคร (หรือทางหมอเอง) ไปยื่นร้องเรียนต่อหน่วยงานรัฐในประเทศดังกล่าวที่รับผิดชอบ ก็เชื่อว่าการกระทำนี้ไม่ได้ส่งผลดีต่อทางร้าน ในสายตาของเหล่าคนที่จะใช้และเคยใช้บริการ เพราะมันส่อถึงสันดานของตัวเจ้าของร้านที่เลือกที่จะทำธุรกิจด้านบริการ แต่ไม่สามารถแยกแยะและมีวุฒิภาวะพอที่จะควบคุม “อารมณ์ร่วม” ทางการเมืองส่วนตัวได้.. แล้วมาลงที่ทางหมอแทน

สิ่งที่ทางหมอพรทิพย์ “ทำ” ในเมืองไทยนั้นจะถูกหรือจะผิด หรือการเห็นต่างกับคุณในวันนี้มันไม่ใช้ประเด็น แต่ ณ วันที่หมออยู่ที่ร้านของคุณหมอไม่ได้ทำอะไรผิด.. มีแต่ทางเจ้าของร้านที่ทำผิดจากพฤติกรรมที่ผมได้อ้างอิงถึงดังกล่าว..

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก @payunerng