นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลังของไทย  ได้ให้คำมั่นสัญญาต่อที่ประชุมว่า ตั้งแต่เป็นต้นไปประเทศไทยจะดำเนินนโยบายเชิงรุกในระดับนานาชาติ เพื่อสร้างความร่วมมือในการบรรลุเป้าหมาย SDG โดยเนื้อหาสามารถแยกประเด็นสำคัญๆได้ดังนี้

1. การสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ความร่วมมือเคยเป็นจุดอ่อนของการขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย หวังว่า เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆในการจับมือกัน นี่คือความหมายของเป้าหมายที่ 17  (SDG 17)

2. การพัฒนาโครงสร้างระบบการเงินสีเขียว เชิญชวนกองทุนที่จะลงทุนสำหรับเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับความยั่งยืน รวมถึงจะมีพันธบัตรรัฐบาลที่จะลงทุนเพื่อขยายปัจจัยพื้นฐานต่างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม คาดว่า เราจะเห็นการร่วมลงทุนจากนานาชาติ และผลิตภัณฑ์ทางการเงินการธนาคารใหม่ๆ ที่สนับสนุนการลงทุนเพื่อความยั่งยืนมากขึ้น (SDG 8/9/13/16)

3. การลงทุนในเศรษฐกิจดิจิตอล เพื่อสนับสนุน BCG (Bio Circular Green Economy) และกลุ่มธุรกิจ ESG (Environment Social Governance) คาดว่า ธุรกิจที่ยั่งยืนจะมีการเติบโต เชื่อมโยงตลอด Supply Chain และมีแหล่งทุนใหม่ที่หลากหลายขึ้น (SDG8/9/12)

4. จะขับเคลื่อนความยั่งยืนร่วมกับกลุ่มธุรกิจที่สนับสนุนแนวทาง Global Compact ของ UN ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีสมาชิกเครือข่าย UN Global Compact Thailand มากกว่า 100 บริษัท (SDG17)

5. จะสร้างความเติบโตอย่างสมดุล ระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้ประชาชนเพิ่มความสามารถในการพึ่งพาตนเอง “สมดุล พอเพียง ยั่งยืน” คงเป็นแนวทางสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ (SDG11/12/16)

6. ลดความเหลื่อมล้ำ และจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยจะพยายามช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง และผู้ที่อยู่ล่างสุดของฐานปิรามิด (SDG1/2/3/4/10)

7. ให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชน และส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ รวมถึงลดค่าครองชีพต่างๆ เช่นค่ารักษาพยาบาล เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (SDG3/5/10/16)

8. การสนับสนุนพลังงานทางเลือก พลังงานสะอาด และสังคมคาร์บอนต่ำ (SDG6/7/13/14/15)

ทั้งหมดนี้คงพอเห็นทิศทางใหม่ที่ นายกฯ เศรษฐา จะผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย SDG ทั้ง 17 ข้อ ในอนาค จะเจาะลึกกับท่านในรายละเอียดอีกครั้ง … โดยนายกฯ เศรษฐา ได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “เราจะส่งต่อความยั่งยืนให้กับคนรุ่นต่อไป เป็นมรดกอันล้ำค่าที่พวกเราช่วยกันทำ”.