การเข้าร่วมเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตร ผู้บริหารระดับสูงด้านการสร้างคุณค่า นวัตกรรมสังคม และความรับผิดชอบสังคมอย่างยั่งยืน รุ่นที่ 1 (Kasetsart University Value Creation & Innovation for Professionals and Sustainability : KU VIPS 1)   จัดโดยคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  เรียกสั้น ๆ ว่า KU-VIPS รุ่นที่ 1 นั้น สำหรับผู้เขียนแล้วนับเป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่ามากโดยเฉพาะการได้เรียนรู้ แลกเปลี่ยนมุมมอง ความคิดกับคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิตลอดจนพี่ ๆ ทุกท่านที่แบ่งปันประสบการณ์ ความรู้และวิธีคิดเกี่ยวกับความยั่งยืนผ่าน “แว่นขยาย” ของผู้นำองค์กรประเภทต่าง ๆ

บทส่งท้ายที่ผู้เขียนขออนุญาตสรุปประเด็นที่เก็บเกี่ยวมาได้จากการทำงานร่วมกันของพวกเราชาว KU-VIPS รุ่นที่ 1 มีดังนี้ ครับ

1. องค์ปาฐกในวันสุดท้ายการเรียนหลักสูตรนี้ คือ ศ.ดร.สนิท อักษรแก้ว ท่านเป็นประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(ผู้เขียนขอขอบคุณพี่ภัค KU-VIPS ที่เชิญท่านสนิทมาเป็น Keynote Speaker ให้รุ่นเราครับ)…ท่านสนิทได้กรุณาให้มุมมองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยที่ “จำเป็น” ต้องใช้ความยั่งยืนเป็นตัวนำ ขณะที่วันนี้ประเทศไทยเราได้ปรับตัวเพื่อก้าวสู่โลกยุคหลัง Covid-19 ซึ่งจำเป็นต้องใช้แนวคิด Resilience ล้มแล้วลุกได้เร็ว โดยเฉพาะการยึดแก่นสำคัญที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานภูมิปัญญาให้ชาวไทยในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

2. หากมองในมุมของผู้นำที่ต้องการก้าวไปสู่ความยั่งยืนแล้ว ปรัชญาวิธีคิดของการพัฒนาที่เราพึงยึดไว้เสมอ คือ “ค้นให้พบ ➡️ พิสูจน์ให้ได้ ➡️ หยิบใช้ให้เป็น”

3. ช่วงการนำเสนอคลิปผลงานนวัตกรรมทางสังคมของทั้งห้ากลุ่ม ตั้งแต่ Pure Planet Initiative ( กันเกรา) โครงการอนุรักษ์ท้องทะเลที่อ่าวแสมสาร (ชัยพฤกษ์) ทหาร GAIN 1000 ดี (ไผ่สีสุก) Happy Home for All (ทรงบาดาล) และหน้าพระลาน Model (ขนุน)…ผลงานทั้งห้ากลุ่มสะท้อนภาพ Sustainovation ที่สามารถสร้างนวัตกรรมทางสังคม (Social innovation) และใช้เวลาเพียงระยะสั้น ๆ สร้าง Process Innovation ที่ทำให้เกิดก้าวแรกของการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่ความยั่งยืน

4. ช่วงเสวนา Journey to Sustainovation ผู้แทนสี่ท่านจาก KU-VIPS เข้าร่วมนำเสนอมุมมอง แบ่งปันประสบการณ์ประเด็นเรื่องความยั่งยืน โดยมีคุณหมอก้อง พันโท นพ.สรวิชญ์ สุบุญ เป็นผู้ดำเนินรายการ ทั้งนี้ความยั่งยืนในมุมมองผู้เข้าร่วมเสวนาแต่ละท่านล้วนมีความน่าสนใจ…พี่กรรณ กรรณณิการ์ จุไรวรรณสุทธิ ได้มาแชร์ประสบการณ์การสร้างความยั่งยืนจากวิถีชุมชนของจังหวัดสุรินทร์ โดยมีวิถีคนเลี้ยงช้าง เป็นแกนหลัก…พี่โม ผศ.ดร.ภ.พึ่งบุญ ปานศิลา มาแบ่งปันมุมมองความยั่งยืนมิติการศึกษาที่ต้องปรับตัวให้ทันกับโลกอนาคตที่เปลี่ยนแปลงเร็วมาก…พี่ใหญ่ นำพล โพธิ์วงศ์ มาร่วมแบ่งปันความยั่งยืนด้านพลังงานไฟฟ้า ในวันที่เรื่อง Renewable Energy กำลังจะเข้ามาแทนที่พลังงานแบบเดิม ขณะที่พี่อั้น ธวัช อินทร มาเล่ามุมมองที่แหลมคมว่าความยั่งยืนส่งเสริมภาคธุรกิจอย่างไรโดยนำเสนอ Success Story ของ PTT GC

5. ผู้เขียนสรุปประเด็นที่ได้จากมุมมองของพี่ ๆ บนเวทีเสวนาและสังเคราะห์กับ Sustainovation โครงงานของทั้งห้ากลุ่มแล้ว พบว่า ความยั่งยืนมีจุดร่วมกันสี่เรื่อง กล่าวคือ

     5.1 ความยั่งยืนคำนึงถึงความเป็นธรรมในการแบ่งปัน จัดสรรทรัพยากรระหว่างรุ่น (ขออนุญาตยกเครดิตให้พี่ใหญ่ครับ)

     5.2 ความยั่งยืนเน้นความสมดุลของสามสิ่ง คือ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม (ตรงนี้ขออนุญาตยกเครดิตให้พี่อั้นครับ)

     5.3 ความยั่งยืนสามารถธำรงคุณค่าของวิถีชุมชน พูดให้ดูเป็นวิชาการขึ้น คือ ความยั่งยืนสามารถต่อยอดสร้างทุนวัฒนธรรม (Cultural capital) กรณีตัวอย่างที่พี่กรรณมาแชร์ให้ฟัง

     5.4 ท้ายที่สุด ความยั่งยืนทำให้เราต้องปรับตัวและเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) อย่างที่อาจารย์โม ท่านให้มุมมองเรื่องนี้ไว้ในการสร้างความยั่งยืนทางการศึกษา

6. ผู้เขียนและทีมวิชาการ KU-VIPS รุ่นที่ 1 ร่วมกันสรุปบทเรียนที่เราได้รับตลอดระยะเวลา 4 เดือนที่ผ่านมา และมาร่วมกันอภิปรายผ่านวงเสวนาทั้งในและนอกห้องเรียน เราพบว่าคุณลักษณะผู้นำในอนาคตที่เป็นผู้นำแห่งความยั่งยืนประกอบด้วย 8 ลักษณะ 3 Layers กล่าวคือ

     ✅️Layer พื้นฐาน : ผู้นำที่คิดเรื่องความยั่งยืนได้ตั้งอยู่บนฐานของการตัดสินใจที่ยึดหลักคุณธรรม (Ethical Decision Making) เพราะ”คุณธรรม” คือ พื้นฐานของทุกสิ่งที่ต่อยอดสู่ความยั่งยืน

     ♻️Layer ที่สอง : ผู้นำที่สร้างความยั่งยืนได้ คือ ผู้นำที่มองเห็นและใส่ใจและรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) สิ่งแวดล้อม (Environmental Responsibility) และลงทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources)

     ????Layer ที่สาม : ผู้นำที่สร้างความยั่งยืนได้ คือ ผู้นำที่มองไกล (Long vision) ตอบสนองต่อ BCG Economy ที่กำลังมาแทนที่ระบบเศรษฐกิจแบบเดิม ส่งเสริมผลักดันให้เกิดการสร้างนวัตกรรม (Promote Innovation) และพัฒนาองค์กรตนเองโดยสอดคล้องกับเป้าหมาย SDGs

7. ผู้เขียนขออนุญาตจบบทส่งท้ายด้วยคำพูดของท่านประธาน KU-VIPS รุ่นที่ 1 พลอากาศตรี บุญเลิศ อันดารา หรือ พี่อัน ของพวกเรา…พี่อันได้เคยพูดไว้ว่าท้ายที่สุดแล้วในฐานะที่พวกเราเป็น Professional และมีความเชี่ยวชาญตามสาขาเฉพาะด้านที่เราเติบโตมา…สิ่งสำคัญของวันนี้ คือ การทำหน้าที่เป็นผู้นำไม่ว่าเราจะขับเคลื่อนในมิติใดก็แล้วแต่ “ผู้นำ” คือ ผู้ที่สามารถหยิบใช้ทุกอย่างเป็นทรัพยากรในการพัฒนาสังคมเราได้…ผู้นำไม่มีคำว่าปัญหา อุปสรรค หรือ ความขาดแคลน เพราะตราบใด เรายังมีความรู้ ประสบการณ์ สติปัญญาจะสร้าง Wisdom ให้เรานำพาองค์กรเราไปสู่ความยั่งยืนได้

8. ผู้เขียนขอขอบพระคุณท่านอาจารย์งาม ผศ.ดร.งามลมัย ผิวเหลือง คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณาจารย์หลักสูตรนี้ เจ้าหน้าที่ KU-VIPS ตลอดจนพี่ ๆ ทุกท่านใน KU-VIPS รุ่นที่ 1 ที่แบ่งปันมุมมองและมอบมิตรภาพที่ดี ๆ ให้ผู้เขียนมาตลอดในช่วงที่ผ่านมาครับ

…ขออนุญาตปิดท้ายด้วย Africam Proverb ที่ผู้เขียนประทับใจเสมอ คือ If you want to go fast, go alone, If you want to go far, go together. ครับ

——————–

Dr. Sutthi Suntharanurak และทีมวิชาการ KU-VIPS รุ่น 1