จำเป็นต้องวางแผนการใช้ ‘เชื้อเพลิง’ ให้เหมาะสม ตามบริบทของแต่ละประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสภาพเศรษฐกิจ สภาพภูมิศาสตร์ และความต้องการใช้ไฟฟ้า ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดนโยบายให้ประชาชน มีไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอ มีคุณภาพที่ดี มีราคาที่เป็นธรรม ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

จึงต้องคำนึงถึงข้อดี-ข้อจำกัดของแต่ละเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าอย่างรอบด้านและครบทุกมิติ

สำหรับข้อแตกต่างของพลังงานแต่ละประเภทที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าในปัจจุบัน คือ

พลังนํ้า ถือเป็นพลังงานสะอาดที่สุด แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของการสร้างเขื่อน

นํ้ามัน โดยเฉพาะนํ้ามันดีเซล แต่ก็มีราคาสูง และประเทศไทย เป็นประเทศที่ต้องนำเข้านํ้ามันจากต่างประเทศ

ถ่านหิน ถือเป็นต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่มราคาถูก แต่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม และไม่สอดรับกับนโยบายพลังงานสะอาด

ก๊าซธรรมชาติ ถือเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาด ถูกกว่านํ้ามัน และเป็นทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ

นิวเคลียร์ เงินลงทุนสูง และมีภาระในการกำจัดกัมมันตภาพจากการผลิต

พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่มีขนาดใหญ่และมีให้ใช้อย่างไม่จำกัด แต่อาจไม่สมํ่าเสมอในช่วงเวลากลางคืน ต้องเก็บไว้ในแบตเตอรี่เพื่อใช้งานภายหลังได้

พลังงานลม เป็นแหล่งพลังงานที่เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ การนำลมมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าทำได้โดยใช้เทคโนโลยีกังหันลม

พลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นพลังงานความร้อนที่อยู่ใต้ผิวโลกเช่นเดียวกับนํ้ามันปิโตรเลียม แต่อยู่ในรูปแบบของนํ้าร้อนหรือไอนํ้าร้อน นำพลังงานความร้อนใต้พิภพ มาใช้ผลิตไฟฟ้าทำได้โดยนำนํ้าร้อนที่ได้ไปถ่ายเทความร้อนให้กับของเหลว หรือสารทำงานที่มีจุดเดือดตํ่า จนกระทั่งเดือดเป็นไอ แล้วนำไอนี้ไปหมุนกังหันต่อไป

พลังงานชีวมวล เป็นพลังงานจากธรรมชาติที่กักเก็บในรูปของสารอินทรีย์ที่ได้จากกากหรือเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรมาผลิตไฟฟ้า เช่น แกลบ ฟางข้าว ชานอ้อย ใบและยอดอ้อย เศษไม้ ไม้โตเร็ว เส้นใยและกะลาปาล์ม กากมันสำปะหลัง ซังข้าวโพด มูลสัตว์ ผ่านกระบวนการแปรรูป เช่น การหมัก การเผา การผลิตก๊าซ หรือกรรมวิธีอื่น ๆ จนได้เป็นความร้อนหรือก๊าซเพื่อนำไปใช้ประโยชน์หรือแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า