นายราจีฟ บาวา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจองค์กรและธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เปิดเผยว่า ดีแทคได้นำ เทคโนโลยี 5จี ไพรเวท เน็ตเวิร์ก (5G Private Network) มาช่วยปลดล็อกอุตสาหกรรมและกลุ่มผู้ประกอบการที่กำลังเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล และต้องเร่งวางแผน ระยะยาวหลังวิกฤติโควิด-19 ที่ต้องพัฒนาสู่การใช้งาน ไอโอที (IoT) แอพพลิเคชั่น ที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมการ เชื่อมต่ออุปกรณ์ในอุตสาหกรรมและองค์กรต่างๆ ที่มีความหลากหลาย ด้วยความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถออกแบบได้เฉพาะตามความต้องการของแต่ละองค์กรที่มีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ให้บริการ หรือผลิตสินค้าที่มีความเฉพาะกลุ่ม เช่น อุตสาหกรรมภาคการผลิต การประกอบรถยนต์ กลุ่มท่าเรือขนส่งสินค้า กลุ่มคมนาคมขนส่ง กลุ่มสาธารณสุข กลุ่มการเกษตร เป็นต้น”

“กลุ่มอุตสาหกรรมและกลุ่มองค์กรต่างๆ ได้ใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นหลักทุกองค์กร แต่ความสำคัญคือ การเปลี่ยนผ่านที่จะนำ ไอโอที หุ่นยนต์ เครื่องจักร และระบบอัตโนมัติต่างๆ มาใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และปลอดภัย เครือข่ายเฉพาะองค์กรจึงมีความสำคัญยิ่ง ซึ่ง 5จี ไพรเวท เน็ตเวิร์ก จึงมาตอบโจทย์ความ ต้องการที่เปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลและระบบอัตโนมัติของกลุ่มอุตสาหกรรม ที่ต้องการเครือข่ายที่มีความปลอดภัย ความเร็วสูงในการรับส่งข้อมูล ตอบสนองการทำงานแบบทันที ด้วยความหน่วงต่ำ พร้อมวางใจได้ด้วยการรับรอง ในการเชื่อมต่อ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน”

นายราจีฟ กล่าวต่อว่า  5จี ไพรเวท เน็ตเวิร์ค พร้อมให้บริการ 2 รูปแบบ คือ เครือข่ายเฉพาะองค์กรสมบูรณ์แบบ (Standalone Private Network) อุปกรณ์เครือข่ายทั้งหมดรวมทั้งระบบ Edge computing จะถูกติดตั้งแยกอิสระ ใช้งานเฉพาะในองค์กร (Completely Isolated System) ด้วยอุปกรณ์สถานีฐาน 5G คลื่น 26GHz และระบบ Local Core แยกจากเครือข่ายสาธารณะ การรับ-ส่งประมวลผลอย่างสมบูรณ์แบบจะอยู่ในพื้นฐานเครือข่ายองค์กรเท่านั้น สามารถวางใจในความเร็วในการรับส่ง ความหน่วงต่ำ (low latency) และความปลอดภัยสูงสุด (superior security)

และเครือข่ายไฮบริด (Hybrid Private Network) ที่เชื่อมต่อด้วย 5G และ 4G โดยใช้อุปกรณ์สถานีฐานที่ติดตั้งในองค์กรร่วมกับเครือข่ายภายนอก (Public RAN) และประมวลผลข้อมูลผ่านระบบ Edge Computing และ Local Gateway ที่แยกอิสระในองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน  และเทคโนโลยีดังกล่าว ยังช่วย ป้องกันการเชื่อมต่อเครือข่าย ภายนอกที่มีความเสี่ยงทั้งการรับ-ส่งข้อมูล และเสี่ยงต่อการโจมตีจาก แฮกเกอร์ที่จาะเครือข่ายบุกรุก เข้ามาภายในองค์กรเพื่อเข้าถึงดาต้าหรืออุปกรณ์ไอโอที ซึ่งมีผลต่อความปลอดภัย ด้วย