ซึ่งเกิดจากกระแสลมมีกำลังอ่อนและเปลี่ยนทิศทางพัดจากด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปฟิซิก ไปด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้กระแสนํ้าอุ่นไหลไปยังทวีปอเมริกาใต้แทน ด้วยเหตุนี้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย ขาดฝนและเกิดความแห้งแล้ง แต่ชายฝั่งของทวีปอเมริกาใต้ กลับมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น

ซึ่งจากการคาดการณ์ปรากฏการณ์ ENSO ที่ใช้สำหรับอธิบายการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิผิวนํ้าทะเลในแปซิฟิกเขตศูนย์สูตร และความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ รวมถึงปรากฏการณ์เอลนีโญ และลานีญา พบว่าไทยจะเข้าสู่รูปแบบเอลนีโญ เริ่มตั้งแต่เดือน ก.ค. 66 และคาดการณ์ว่า สถานการณ์ฝนปี 66 จะคล้ายคลึงกับปี 44 คือ มีฝนน้อยกว่าปกติบริเวณตอนล่างของภาคเหนือ ด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคกลางและภาคตะวันออก รวมทั้งภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป ทำให้มีปริมาณฝนน้อยทิ้งช่วงยาวนาน และมีโอกาสเกิดภัยแล้งต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี และจะมีความผันผวนของปริมาณนํ้าฝนเพิ่มขึ้นในระยะยาว

เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

สำหรับภาคอุตสาหกรรม นํ้าถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของการผลิตภาคอุตสาหกรรมและจำเป็นอย่างมากสำหรับการทำเกษตร ต้องถือว่าสัญญาณภัยแล้งจากปรากฏการณ์เอลนีโญที่คาดจะเกิดขึ้นและมีแนวโน้มรุนแรงต่อเนื่องยาวนานนี้ เป็นสัญญาณเตือนถึงปัจจัยเสี่ยงสำหรับการลงทุนและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศ หากไม่มีการเตรียมการรับมือกับความเสี่ยงขาดแคลนนํ้าอย่างเป็นระบบ

คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสมาคมธนาคารไทย ได้ติดตามสถานการณ์นํ้าเพื่อเฝ้าระวังและเตรียมรับมือกับวิกฤติการณ์ด้านนํ้าที่มีผลต่อการดำเนินกิจการของผู้ประกอบการภาคเอกชนและเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างใกล้ชิด มีความกังวลต่อความเสี่ยงภัยแล้งที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคเอกชน โดยเฉพาะพื้นที่ภาคตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมและเกษตรกรรมที่สำคัญ

ส.อ.ท.ได้นำประเด็นการบริหารจัดการนํ้าและการเตรียมพร้อมจัดทำมาตรการรับมือกับปัญหาภัยแล้ง ที่มีผลต่อการดำเนินกิจกรรมของผู้ประกอบการภาคเอกชน และเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อเสนอให้เป็นวาระแห่งชาติ และเตรียมนำเสนอต่อรัฐบาลเพื่อเร่งวางมาตรการรับมือภัยแล้ง ทั้งการบริหารจัดการด้านซัพพลาย การจัดการนํ้าท่า การผันนํ้าจากแหล่งต่างๆ มาเก็บในอ่างเก็บนํ้าฯ การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการนํ้าตามโครงข่ายท่อส่งนํ้า การเร่งรัดโครงการพัฒนาแหล่งเก็บนํ้าที่สำคัญเพื่อกักเก็บนํ้าสำรอง การทบทวนแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรนํ้า 20 รวมถึงการนำนํ้ารีไซเคิล จากนํ้าเสียชุมชนมาใช้ในพื้นที่อุตสาหกรรมในบริเวณใกล้เคียง.