และที่สำคัญ ขณะนี้โลกของเราก็ยังเดินทางไปไม่ถึงเป้าหมายความยั่งยืน SDG ทั้ง 17 ข้อ ตามแผนที่ตั้งไว้ ซึ่งกับสถานการณ์ดังกล่าวนี้ ในฐานะภาคเอกชนระดับโลกของไทยอย่าง “SCG” จึงได้ติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด และได้มีการปรับกระบวนการทำงาน เพื่อที่จะบรรเทาผลกระทบที่มีต่อธุรกิจ ควบคู่ไปกับการมุ่งมั่นในการที่จะร่วมแก้ไขปัญหาชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น โดย SCG ได้มีการขับเคลื่อนแผนการดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน ตาม แนวทาง ESG 4 Plus (มุ่ง Net Zero Go Green-Lean ลดเหลื่อมล้ำ ย้ำความร่วมมือ Plus ความเชื่อมั่น และโปร่งใส) ซึ่งวันนี้คอลัมน์นี้ จะพาไปพูดคุยกับ คุณนิธิ ภัทรโชค กรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างของ SCG

ทั้งนี้ คุณนิธิ ได้เล่าให้ฟังว่า SCG เชื่อมั่นว่าเราสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้โลกใบนี้ดีขึ้นได้ ด้วยการระเบิดจากข้างในตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนขบวนการดำเนินธุรกิจของเราให้มีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการลดผลกระทบเชิงลบต่อโลกใบนี้ให้น้อยที่สุด และมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมรักษ์โลกใหม่ ๆ ตลอดจนจัดโครงการพัฒนาชุมชนต่าง ๆ ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ที่เป็นการสร้างผลกระทบเชิงบวกให้โลกใบนี้ก้าวสู่ความยั่งยืน ซึ่งช่วงที่ Covid-19 ระบาด SCG ได้นำ นวัตกรรม ICU Modular ห้องตรวจเชื้อความดันลบ มาตั้งเป็นสถานีบริการให้ประชาชนอย่างเร่งด่วน และนอกจากนี้ ทาง SCG ยังได้คิดค้นพัฒนานวัตกรรมอีกมากมายสำหรับอนาคต เพื่อตอบสนองผู้บริโภคในศตวรรษที่ 21 ที่มีความสนใจสินค้ารักษ์โลกที่ต้องประหยัด คุ้มค่า สะดวกสบาย และปลอดภัย ดังนั้น SCG จึงมุ่งมั่นพัฒนาคิดค้น นวัตกรรมสีเขียว ที่หลากหลายออกมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ

นวัตกรรมพลังงานทางเลือก SCG Solar Roof Solutions” ที่ตอบโจทย์การลดค่าไฟฟ้า ด้วยหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ SCG Air Scrubber” ซึ่งออกแบบมาเพื่ออาคารขนาดใหญ่ ศูนย์ประชุม ห้างสรรพสินค้า ที่ประหยัดพลังงานได้ร้อยละ 20-30 ทั้งยังลดก๊าซที่เป็นมลพิษภายในอาคารได้มากกว่า 30 ชนิด ซึ่งขณะนี้ได้มีการติดตั้งแล้วในอาคารขนาดใหญ่ 7 แห่ง

นวัตกรรมสินค้ารักษ์โลก เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนใช้ผลิตภัณฑ์กับบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้ ฉลาก SCG Green Choice” ที่มีมากกว่า 250 รายการ ซึ่งช่วยลดภาวะโลกร้อน ลดการใช้ทรัพยากร ประหยัดพลังงาน และยืดอายุการใช้งาน ตลอดจนส่งเสริมสุขอนามัยที่ดี เช่น สุขภัณฑ์และก๊อกประหยัดน้ำ ปูนงานโครงสร้างเอสซีจีสูตรไฮบริด ที่ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิต ตามมาตรฐานอาคารเขียว เป็นต้น

นวัตกรรม “CPAC Green Solution” ที่เป็นการยกระดับวงการก่อสร้างให้เสร็จไว และลดจำนวนวัสดุเหลือทิ้ง ซึ่งช่วยประหยัดต้นทุนแรงงาน โดย SCG ยังนำเสนอเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น CPAC BIM (Building Information Modeling) ที่เป็นเทคโนโลยีที่ใช้เพื่อการออกแบบกับคำนวณวัสดุก่อสร้าง CPAC Drone Solution หรือโดรนสำรวจพื้นที่ก่อสร้าง CPAC 3D Printing ที่เป็นเทคโนโลยีขึ้นรูปโครงสร้างแบบ 3 มิติ ที่ช่วยสร้างสรรค์รูปแบบชิ้นงานได้อย่างอิสระและรวดเร็ว

และนอกจากนั้น SCG ยังให้ความสำคัญกับนวัตกรรมในงาน CSR ต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายช่วยเหลือ และพัฒนากลุ่มเปราะบาง ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้มีรายได้น้อย ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติข้างต้น โดยเฉพาะในด้านความยากจน ซึ่ง SCG ตั้ง เป้าหมายลดความเหลื่อมล้ำในสังคมให้ได้จำนวน 50,000 คน ภายในปี 2573 ด้วยการดำเนินงานกิจกรรมเพื่อสังคม โดยการยึด 3 กลยุทธ์ที่สำคัญ ได้แก่ 1.ใช้ความเชี่ยวชาญและนวัตกรรมพัฒนาชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้ 2.สร้างการมีส่วนร่วมกับ ผู้มีส่วนได้เสีย และ 3.พัฒนาต้นแบบให้ขยายผลไปสู่เครือข่ายอื่น ๆ เพื่อสร้างโอกาสให้ชุมชน และ SMEs มีทักษะอาชีพตามที่ตลาดต้องการ ได้แก่ “คิวช่าง” ที่เป็นแพลตฟอร์มศูนย์รวมช่างคุณภาพบริการดูแลบ้านครบวงจร สร้างอาชีพและเสริมทักษะให้ช่างและแม่บ้านกว่า 1,350 ทีมทั่วประเทศ เช่น ช่างล้างเครื่องปรับอากาศ ช่างซ่อมหลังคารั่ว แม่บ้านทำความสะอาด และอีก 120 กลุ่มงานบริการช่วยให้เจ้าของบ้านได้รับบริการที่มีคุณภาพมั่นใจเรื่องความปลอดภัย “โรงเรียนทักษะพิพัฒน์” ที่เป็นสถาบันฝึกขับรถยนต์และรถบรรทุกให้ผู้ว่างงาน และทหารปลดประจำการ ให้ขับขี่ถูกหลักมาตรฐานความปลอดภัย ซึ่งในปี 2565 สามารถสร้างนักขับปลอดภัยบนท้องถนนได้ถึง 450 คน  

“การพัฒนาทักษะอาชีพช่างก่อสร้าง” โดย CPAC Green Solution ได้ช่วยส่งต่องานให้เครือข่ายช่างทั่วปะเทศให้มีงานทำอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญของ CPAC ยังช่วยในเรื่องการเพิ่มโอกาส ด้วยการขยายงานรับเหมาก่อสร้าง ทำให้รับงานได้ต่อเนื่อง ผ่านการให้เครดิตเงินทุนซื้อวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง รวมถึงช่วยให้ผู้รับเหมาขนาดกลางและขนาดย่อม มีเงินทุนหมุนเวียนและเติบโตได้อย่างยั่งยืน “โครงการพลังชุมชน” ที่เข้าไปส่งเสริมให้ชุมชนพึ่งพาตนเอง ด้วยองค์ความรู้จากการนำวัตถุดิบท้องถิ่นมาต่อยอดแปรรูปเพิ่มมูลค่า เพื่อสร้างอาชีพที่ยั่งยืน ซึ่งผลิตภัณฑ์ชุมชนเหล่านั้นได้มีโอกาสขึ้นโต๊ะงานประชุม APEC 2022 Thailand และโครงการดังกล่าว ยังได้ให้ความรู้ชุมชนไปมากกว่า 2,750 คน ใน 14 จังหวัด และยกระดับผลิตภัณฑ์ 850 ชนิด สู่การเป็นแบรนด์สินค้าของตัวเอง ควบคู่กับการพัฒนาเป็นนักขายมืออาชีพ และการสร้างอาชีพแปรรูปสินค้า ที่ช่วยเป็นต้นแบบและสร้างแรงบันดาลใจ ตลอดจนส่งต่อความรู้ให้ผู้อื่นรวมแล้วกว่า 13,200 คน

ทั้งนี้ ผู้บริหาร SCG อย่าง คุณนิธิ ได้ย้ำทิ้งท้ายผ่าน คอลัมน์ CEO Forum ว่า “โลกที่ยั่งยืนไม่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยใครคนใดคนหนึ่ง แต่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง SCG จึงมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการสร้างนวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีให้เกิดขึ้น เพื่อส่งต่อโลกที่น่าอยู่ และชุมชนที่ยั่งยืนให้แก่คนรุ่นถัดไป”.