ทางหอการค้าไทย ได้รวบรวมข้อมูลจากข้อมูลองค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ระบุว่าจะต้องมี

1. มีพื้นที่ปลูกต้นไม้ประเภทไม้ยืนต้นตั้งแต่ 10 ไร่ขึ้นไป

2. มีเอกสารสิทธิที่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

3. มีความรู้ในการประเมินการกักเก็บคาร์บอนและจัดทำเอกสารข้อเสนอโครงการ

4. มีเงินในการจ้างผู้ประเมินภายนอกมาตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบข้อมูลก๊าซเรือนกระจก

โดยปัจจุบัน มีโครงการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนทั่วไป กับ T-VER โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทยมีมากกว่า 300 โครงการ

คำถามที่ยังคาใจประชาชนหลายส่วนคือถ้าหลายๆ รายรวมกันเป็นวิสาหกิจชุมชนได้ไหม? เพราะเกษตรกรบางรายมีที่ดินไม่ถึง 10 ไร่?

เริ่มโครงการเพื่อรับรองคาร์บอนเครดิตจะทำอย่างไรดี? ศึกษาข้อมูลการขึ้นทะเบียนโครงการและการรับรองคาร์บอนเครดิตจากเว็บไซต์ https://ghgreduction.tgo.or.th เพิ่มเติม

คำตอบ คือ ผู้ที่อยากได้คาร์บอนเครดิตทำได้โดยสามารถทำ โครงการ T-VER (โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย) ในรูปแบบของโครงการแบบแผนงานโดยมีโครงการย่อยที่มีที่ตั้งหลายแห่งได้ แต่ประเภทโครงการต้องเหมือนกันใช้ระเบียบวิธีการเดียวกัน ระยะเวลาในการคิดเครดิตของโครงการย่อยเริ่มและจบไม่เหมือนกันก็ได้ แต่ที่สำคัญต้องมีหน่วยงานกลางที่จัดทำข้อเสนอโครงการ T-VER แบบแผนงาน รวบรวมข้อมูลทั้งหมดของโครงการย่อยเพื่อจัดทำข้อเสนอโครงการย่อยของแต่ละกลุ่มแยกกัน

หรือจะทำแบบควบรวม โดยเป็นโครงการที่มีที่ตั้งหลายแห่ง โดยทุกโครงการย่อยเป็นประเภทโครงการเดียวกัน ใช้ระเบียบวิธีการเดียวกันแต่ในส่วนของระยะเวลาคิดเครดิตของทุกแห่งต้องเริ่มพร้อมกันและจบพร้อมกัน และมีหน่วยงานกลางที่รวบรวมข้อมูลและจัดทำข้อเสนอโครงการเล่มเดียว.