โดย “เดลินิวส์” ได้จับมือกับนักวิชาการระดับโลกด้านความยั่งยืน และเจ้าของฉายา “CSR Man” อย่าง “อาจารย์สุกิจ อุทินทุ” ที่จะมารับบทบาทวิเคราะห์เจาะลึกและเสนอมุมมองใหม่ ๆ เรื่องนี้ และโอกาสนี้ “Sustainable Sunday ยั่งยืนสุดสัปดาห์” ขอพาไปรู้จักกับ “CSR Man” ผ่านคอลัมน์นี้เพื่อเป็นการแนะนำตัว

สำหรับ “เส้นทางการทำงานด้านความยั่งยืน” เรื่องนี้  อาจารย์สุกิจ เจ้าของฉายา “CSR Man” นั้น ผ่านการทำงานด้านนี้กับองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนมาแล้วมากมาย อาทิ กรรมการ CSR แห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, กรรมการขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความยั่งยืน สภาพัฒน์, รองประธานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืน กลุ่มบริษัทไมเนอร์ อินเตอร์เนชันแนลจำกัด (มหาชน), รองประธาน CSR Club ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ประธานเครือข่าย CSR4Thailand และเครือข่ายการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน, ผอ.สำนักพัฒนาทุน มูลนิธิรักษ์ไทย องค์กรแคร์นานาชาติประเทศไทย นอกจากนั้น อาจารย์สุกิจ ยังเข้าไปมีส่วนร่วมขับเคลื่อนและผลักดันงานด้าน CSR และการพัฒนาที่ยังยืนในหลาย ๆ วาระ เช่น ร่วมขับเคลื่อนให้ CSR & SD เป็นวาระแห่งชาติ,

ร่วมพัฒนาเครือข่ายกรรมการ CSR ระดับจังหวัด เพื่อขับเคลื่อนนโยบาย CSR แห่งชาติ,  ร่วมก่อตั้งและขับเคลื่อนกลไกส่งเสริมงาน CSR & SD ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยมี CSRI Corporate Social Responsibility Institute เป็นสถาบันให้ความรู้ และมี CSR Club ขับเคลื่อนเชื่อมโยงบริษัทจดทะเบียนให้พัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน จนทำให้ประเทศไทยได้อันดับที่ 1เรื่องความยั่งยืนในอาเซียน, ร่วมก่อตั้งเครือข่าย CSR DIW กรมโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดอุตสาหกรรมสีเขียวตามมาตรฐาน ISO 26000, ร่วมผลักดันให้เกิดรางวัลความรับผิดชอบต่อสังคม ที่เป็น Prime Minister Award ด้าน CSR, ร่วมก่อตั้งวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อพัฒนาบุคคลากร CSR & SD ที่ขาดแคลน, ร่วมจัดเวทีก้าวพอดีขึ้นมา สำหรับเครือข่ายขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความยั่งยืน ให้กับทางสภาพัฒน์

และที่สำคัญนั้น เมื่อปี 2562 อาจารย์สุกิจ ยังได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลไทยให้เป็น CEO คนแรกขององค์กรรัฐมนตรีศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่าด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความยั่งยืน หรือ SEAMEO SEPS เพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องความพอเพียง และความยั่งยืนให้สมาชิกอาเซียนทั้ง 11 ประเทศ เนื่องจากประเทศไทยได้คะแนนเป็นอันดับ 1 ในเรื่องการผลักดันการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยปีนั้น ไทยโค่นแชมป์เก่าอย่างสิงคโปร์ลงได้ ทั้ง ๆ ที่สิงคโปร์ครองอันดับนี้มานานหลายปี ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้ไทยพัฒนาสมรรถนะด้านความยั่งยืน จนแซงหน้าสิงคโปร์ได้นั้น อาจารย์สุกิจ กล่าวถึงปัจจัยความสำเร็จนี้ว่า เกิดขึ้นเพราะหน่วยงานของไทย ทั้งภาครัฐและเอกชน น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินกิจการ ซึ่งผลความสำเร็จนี้เองได้ทำให้ผู้นำประเทศในอาเซียน จึงเรียกร้องให้ไทยช่วยตั้ง SEAMEO SEPS ขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ด้านการศึกษาและพัฒนาความยั่งยืน

A panoramic view of a field covered in grass and trees under sunlight and a cloudy sky

“ตอนนั้นบุคลากรกระทรวงศึกษาธิการคงขาดแคลนผู้ที่มีความรู้ความชำนาญด้านนี้ รัฐบาลไทยจึงให้โอกาสผม ซึ่งเป็นคนจากภาคธุรกิจเข้ามาช่วยตรงนี้ โดยผมช่วยก่อตั้งศูนย์ SEAMEO SEPS ซึ่งช่วงเวลา 3-4 ปี ที่เริ่มก่อตั้งศูนย์เป็นช่วงเวลาที่ท้าทายมาก เพราะโควิด-19 กำลังแพร่ระบาดระลอกแรกพอดี ส่งผลให้การเรียนการสอนต้องชะงัก แต่ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้เราสามารถปรับตัวได้รวดเร็ว ทำให้การเรียนรู้ การอบรมครู การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างประเทศกลับมาดำเนินการได้อีกครั้งผ่านระบบออนไลน์ จนความรู้เรื่องนี้ถูกเผยแพร่และนำไปประยุกต์ใช้อย่างรวดเร็วในเวลาต่อมา” อาจารย์สุกิจ เล่าให้ฟังถึงเรื่องนี้

พร้อมกับเล่าถึง “ที่มาฉายา CSR Man” ให้คอลัมน์ “Sustainable Talk” ฟังว่า เมืองไทยเมื่อราว 20 ปีก่อน หากจะกล่าวถึงคำว่า CSR และ Sustainable นั้น คงไม่ค่อยมีใครรู้จัก เพราะเป็นช่วงแรก ๆ ที่สองคำนี้เริ่มเข้ามาในไทย ซึ่งเวลานั้น อาจารย์สุกิจ ยังดำรงตำแหน่งเป็น รองประธานกลุ่มบริษัทไมเนอร์อินเตอร์เนชันแนล และดูแลงานด้าน CSR & SD ควบคู่ไปกับตำแหน่ง รองประธาน CSR Club ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดังนั้น เวลาที่เมื่อมีประเด็นข่าวเรื่องนี้ กลุ่มสื่อมวลชนจึงมักเข้ามาขอความรู้กับอาจารย์บ่อย ๆ และด้วยความที่มีสื่อมวลชนเข้ามาขอความรู้และขอทรรศนะเกี่ยวกับเรื่องบ่อย ๆ เข้า สื่อมวลชนจึงตั้งฉายให้อาจารย์เป็น “CSR Man” จนกลายเป็นฉายาที่ติดตัวมาจนถึงวันนี้

อย่างไรก็ดี ท่ามกลางโลกวันนี้ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้แม่แต่แนวคิดเรื่องความยั่งยืนเองก็มีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน โดยอาจารย์สุกิจได้อธิบายเกี่ยวกับยุคต่าง ๆ ของ CSR และ Sustainable ว่า สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ยุค ดังต่อไปนี้ กล่าวคือ ยุค 1.0 เป็นยุคที่ส่วนใหญ่เห็นภาพความยั่งยืนผ่านการช่วยเหลือสังคม ด้วยการให้ บริจาค แจกของ ห้ทุนการศึกษา, ยุค 2.0 เป็นยุคที่เน้นพัฒนาผ่านโครงการเพื่อสังคมต่าง ๆ โดยตั้งเป้าหมายการทำงานที่ต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนมากขึ้น, ยุค 3.0 เป็นยุคที่องค์กรต่าง ๆ หันกลับมาดูว่าการดำเนินธุรกิจที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อสังคมเช่นไร และพยายามลดผลกระทบเชิงลบ ควบคู่กับการเพิ่มผลกระทบเชิงบวก, ยุค 4.0 เป็นยุคที่องค์กรตระหนักว่า การทำงานคนเดียวจะทำให้แก้ปัญหาได้ช้าไป และไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ จึงรวมตัวเครือข่ายเพื่อทำงานภายใต้เป้าหมายเดียวกัน เช่น เรื่อง SDG 

อย่างไรก็ตาม เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไป ทำให้โลกจึงหันกลับมาใส่ใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนเพิ่มขึ้นกว่าเดิมค่อนข้างมาก จนทำให้ทำให้หลาย ๆ องค์กรขยับทิศทางดำเนินธุรกิจของตนก้าวไปสู่ ยุค 5.0 ซึ่งสำหรับในยุคนี้จะเน้นไปที่การคิดค้นพัฒนานวัตกรรมกับเทคโนโลยี รวมถึงนำวิธีคิดเกี่ยวกับการทำธุรกิจบนพื้นฐานความพอเพียง การไม่เบียดเบียนโลก และการใช้ทรัพยากรที่มีเหลือน้อยแล้วให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด อาจารย์สุกิจอธิบายเรื่องนี้ พร้อมกันนี้ยังได้ช่วยขยายความเพิ่มเติมว่า ช่วงยุค 1.0 นั้น ยังไม่มีคำว่า SDG หรือ Sustainable Development Goals โดยยุคนั้นยังมีเพียงคำว่า MDG หรือ Millennium Development Goal

ส่วนคำถามที่มีหลายคนถามอาจารย์เสมอว่า อะไรคือปัจจัยสำคัญที่สร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนให้โลก ซึ่งประเด็นนี้ จากมุมมองส่วนตัวและประสบการณ์ที่คลุกคลีงานด้านนี้มานาน อาจารย์มองว่า ปัจจัยที่จะทำให้เรื่องนี้สำเร็จได้ ต้องมีปัจจัยต่าง ๆ ประกอบ อาทิ ต้องเป็นกระแส คือมีกระแสสังคมและกระแสคนรุ่นใหม่ที่ต้องการการเปลี่ยนแปลง จนรวมตัวกันเพื่อกำหนดอนาคตที่ยั่งยืนให้กับคนรุ่นเขาเอง และอีกปัจจัยคือ ต้องมีกระบอกเสียง หมายถึงมีสื่อมวลชนที่เป็นเวทีสื่อสาร สร้างความเข้าใจ และสร้างเรื่องนี้ให้เป็นวิถีชีวิต เป็นต้น

“นี่ก็คือเหตุผลที่ผมเลือกที่จับมือกับสื่อที่มีความเป็นสื่อที่สร้างสรรค์ อย่างเดลินิวส์ เพื่อที่จะร่วมมือกันผลักดันขับเรื่อง Sustainable นี้” อาจารย์สุกิจ แขกพิเศษคนแรกของคอลัมน์ “CEO Forum” ย้ำถึงความพิเศษในการจับมือกันระหว่างเจ้าของฉายา “CSR Man” และ “เดลินิวส์” เพื่อผลักดันในเรื่องของ “ความยั่งยืน”.