ผลผลิตทางการเกษตรจะลดลง นอกจากผลกระทบโดยตรงจากอุณหภูมิ ฝนช่วงระยะเวลาฤดูกาลเพาะปลูกแล้ว ยังเกิดจากผลกระทบทางอ้อมอีกด้วย คือ การระบาดของโรคพืช ศัตรูพืชและวัชพืช

สัตว์นํ้าจะอพยพ ไปตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมินํ้าทะเล แหล่งประมงที่สำคัญ ๆ ของโลกจะเปลี่ยนแปลงไปสัตว์นํ้าจะอพยพไปตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมินํ้าทะเล แหล่งประมงที่สำคัญ ๆ ของโลกจะเปลี่ยนแปลงไป

มนุษย์จะเสียชีวิต เนื่องจากความร้อนมากขึ้น ตัวนำเชื้อโรคในเขตร้อนเพิ่มมากขึ้น ปัญหาภาวะมลพิษทางอากาศภายในเมืองจะรุนแรงมากขึ้น ผลกระทบด้านอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น การที่ระดับนํ้าทะเลเพิ่มขึ้น ทำให้พื้นที่ชายฝั่งลดลง เป็นต้น

ปัจจุบันนี้สัญญาณเบื้องต้นของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปได้ปรากฏขึ้นแล้ว ดังนั้น สมควรหรือไม่ที่จะรอจนกว่าจะค้นพบข้อมูลมากขึ้น หรือมีความรู้ในการแก้ไขมากขึ้น ณ เวลานั้นก็อาจสายเกินไปแล้วที่จะแก้ไขได้

เราจะหยุดสภาวะโลกร้อนได้หรือไม่?

เป็นที่ทราบกันดีและเป็นที่ยอมรับกันว่า สภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นสาเหตุใหญ่คือมนุษย์ ซึ่งเป็นผู้เพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกมากจนเกินไป หากเป็นสภาวะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โลกจะกลับมาสู่สภาวะที่สมดุลได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นส่วนที่มนุษย์เป็นผู้กระทำ มนุษย์ก็สามารถแก้ปัญหานั้นได้ ถึงแม้ว่าการที่โลกจะกลับมาสู่สภาวะสมดุลได้จะต้องใช้เวลานานก็ตาม แต่เราก็สามารถบรรเทาผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้มีความรุนแรงลดน้อยลงได้

เพื่อไม่ให้ประชากรโลกรวมทั้งประเทศไทยได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ จึงควรให้ความร่วมมือในการรักษาสมดุลทางธรรมชาติให้คงอยู่ตราบนานเท่านาน ด้วยมาตรการต่าง ๆ เช่น

ใช้พลังงานทดแทน เช่น จากแสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล (สารอินทรีย์ที่ได้จากพืชและสัตว์)

รักษาป่าที่มีอยู่ให้คงอยู่ต่อไป ฟื้นฟูสภาพป่าที่เสื่อมโทรมปลูกป่าเพิ่มเติม

ศึกษาและปรับปรุงวิธีการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับชนิดของพืช

ใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมและครัวเรือน

เพิ่มประสิทธิภาพในด้านการคมนาคม ทำได้โดยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ทดแทนเชื้อเพลิงหรือปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องยนต์.