เป็นเป้าหมายที่ทุกคนต้องร่วมกันขับเคลื่อน สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ในฐานะหน่วยงานด้านนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม กําหนดนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียว พัฒนาอุตสาหกรรมไทยสู่สังคมคาร์บอนตํ่า เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero Emissions ของประเทศ มุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมขับเคลื่อนการดําเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งรัฐและเอกชนอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การจัดทํา มาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพของไทยและแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน เป้าหมายอุตสาหกรรมพลาสติก แบตเตอรี่ ยานยนต์ แผงโซลาร์เซลล์

การจัดทํา แผนขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมตามแนวคิด BCG Model ในระดับพื้นที่กลุ่มจังหวัด นโยบาย 30@30 เพื่อส่งเสริมการผลิตรถยนต์ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ในไทยให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 30 ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 รวมทั้งการส่งเสริมยานยนต์ที่มีเทคโนโลยีสะอาด งานสําคัญภายใต้มาตรการที่สามารถดําเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว เช่น การออกใบรับรองผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ให้แก่
ผู้ผลิต (Converter) เพื่อนําไปลดหย่อนภาษีตามมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพของกระทรวงการคลัง ในปีภาษี 2562-2565 จํานวน 7 ราย 72 ใบรับรอง

วรวรรณ ชิตอรุณ ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลักดันประเด็นการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เรื่องการส่งเสริมและแก้ไขปัญหาอุปสรรคเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ต่อที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยที่ประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2565 มีมติเห็นชอบในหลักการของกรอบแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (พ.ศ. 2566-2570) และการจัดตั้งกองทุนอุตสาหกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย

นอกจากนี้ ยังมีงานที่อยู่ระหว่างเร่งดําเนินการอีกหลายเรื่อง เช่น การศึกษาผลกระทบของมาตรการปรับราคาคาร์ บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (CBAM) เพื่อเร่งพิจารณามาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยในการเร่งปรับตัวเตรียมความพร้อมก่อนมาตรการจะเริ่มบังคับใช้ การยกระดับผลิตภาพภาคอุตสาหกรรมด้วยแนวคิด BCG Model ร่วมกับสถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม มุ่งเน้นให้สถานประกอบการนําองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับ BCG มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนากระบวนการผลิต บุคลากร และพัฒนาผลิตภัณฑ์ในมิติต่าง ๆ

การดําเนินการข้างต้นจะมีส่วนช่วยผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยก้าวสู่สังคมคาร์บอนตํ่า นําไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน ตอบโจทย์เป้าหมายระดับประเทศ และเชื่อมโยงไปสู่เป้าหมายระดับโลกได้ในที่สุด.