จึงมีคำถาม “ตลาดคาร์บอนเครดิต” คืออะไร?  ใครกำหนด มีความสำคัญอย่างไร?

ถ้าให้พูดง่าย ๆ เปรียบเหมือน “สินค้า” หรือ “สิทธิ” ของแต่ละบริษัทที่ช่วยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ต้องถูกลงโทษตามกติกาของหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วที่กำหนดให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตห้ามเกินกว่าที่กำหนด หากเกินก็จะต้องซื้อเครดิตเพิ่ม

นั่นคือการเข้าไปซื้อคาร์บอนเครดิตของผู้ผลิตขาย เพื่อให้โรงงานของตนสามารถปล่อยก๊าซฯ ได้เพิ่มขึ้นทำให้ตลาดคาร์บอนเครดิตมีความสำคัญมากขึ้นต่อเนื่อง เพราะบริษัทขนาดใหญ่ส่วนใหญ่มักมีคาร์บอนเดรดิตไม่เพียงพอกับสิ่งที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกไปจึงต้องหาซื้อในตลาดเพิ่มเติม

แล้วคาร์บอนเครดิตได้มาอย่างไร?…แต่ละบริษัทได้มาจากการทำกิจกรรมรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การปลูกต้นไม้ในแต่ละพื้นที่แล้ววัดขนาดต้นไม้ยืนต้นความสูงความกว้างเส้นรอบวง ของต้นไม้ เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดไปให้หน่วยงานกลางคำนวณเป็นคาร์บอนเครดิตออกมา อย่างประเทศไทย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก.“ จะเป็นผู้คำนวณคาร์บอนเครดิตที่ได้จากต้นไม้เหล่านั้นและมีตลาดซื้อขายปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรองผ่านโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของไทยหรือ T-VER

ในประเทศไทยราคาปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 107.23 บาทต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ขึ้นอยู่กับแต่ละตลาดและแต่ละมาตรฐานแตกต่างกัน ถือเป็นราคาที่ก้าวกระโดดจากในอดีตปี 61 มีราคาเพียง 21.37 บาทต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยปัจจุบันตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนคาร์บอนฯ แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ ตลาดคาร์บอนทางการ หรือ ภาคบังคับ หน่วยงานรัฐเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นผู้กำหนดปริมาณปล่อยก๊าซฯสู่สิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมต่าง ๆ

ตลาดแบบสมัครใจ ประเทศไทยอยู่ในตลาดนี้เนื่องจากยังมีผู้ซื้อผู้ขายไม่มากพอ การซื้อขายคาร์บอนเครดิตในตลาดนี้จะเรียกว่า Verified Emission Reductions (VERs) สมาชิกในตลาดนี้ไม่สามารถขอใบรับรองจากหน่วยงานกลางเจ้าของโครงการ หรือคณะกรรมการกลางอย่างกรอบอนุสัญญาสหประชา ชาติ หรือ UNFCCC ได้

ส่วนสถานการณ์ตลาดคาร์บอนในต่างประเทศมีผู้เล่นหลัก ๆ เช่น สหภาพยุโรป หรือ อียู ที่เป็นตลาดคาร์บอนที่ใหญ่ที่สุดในโลก เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 62 กำหนดการเก็บคาร์บอนจากภาคอุตสาหกรรมและการบินและอียูยังมีแผนจะเก็บภาษี CBAM หรือมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน เป็นการกำหนดราคาสินค้านำเข้าบางประเภท เพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเข้ามาในอียู ทำให้ราคาคาร์บอนเครดิตตลาดนี้มีมูลค่าค่อนข้างสูงเฉลี่ยที่ 2,769 บาทต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ขณะที่สหรัฐ เริ่มซื้อขายปี 55 ซื้อขายเฉลี่ย 1,059 บาทต่อตันคาร์บอนได ออกไซด์เทียบเท่า ด้านจีนเริ่มซื้อขายไม่นานแต่ก็มีธุรกิจร่วมในภาคสมัครใจกว่า 2,200 แห่ง มีราคาเฉลี่ยที่ 272 บาทต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ถือว่า ตลาดคาร์บอนเครดิตเป็นตลาดที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่องทีเดียว เพราะมีความสำคัญ ทั้งในแง่ธุรกิจ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนทั่วโลก.