เมื่อวันที่ 6 พ.ย. ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “คนที่ใช่ พรรคที่ชอบ ของคนเหนือ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 28 ต.ค. – 2 พ.ย. 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในภาคเหนือ กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง

เมื่อถามถึงบุคคลที่คนเหนือจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 31.70 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊ง) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะเป็นคนรุ่นใหม่ ชื่นชอบพรรคเพื่อไทย นโยบายของพรรคทำได้จริง ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบผลงานของตระกูลชินวัตร

อันดับ 2 ร้อยละ 15.00 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะเป็นคนรุ่นใหม่ เป็นคนมีวิสัยทัศน์ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบนโยบายและอุดมการณ์ทางการเมืองของพรรคก้าวไกล

อันดับ 3 ร้อยละ 12.65 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 4 ร้อยละ 12.50 ระบุว่าเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ และต้องการให้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง อันดับ 5 ร้อยละ 6.55 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะเป็นคนมีประสบการณ์ด้านการบริหาร ชื่นชอบนโยบายของพรรค ขณะที่บางส่วนระบุว่า ต้องการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาบริหารประเทศ อันดับ 6 ร้อยละ 6.20 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) เพราะเป็นคนตรงไปตรงมา มีความซื่อสัตย์สุจริต และชื่นชอบวิธีการทำงาน

อันดับ 7 ร้อยละ 3.85 ระบุว่าเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) เพราะ เป็นคนที่พูดจริงทำจริง มีประสบการณ์ด้านการบริหาร และชื่นชอบพรรคเพื่อไทย อันดับ 8 ร้อยละ 2.50 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า) เพราะเป็นคนมีความรู้ มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและมีประสบการณ์ด้านการบริหาร อันดับ 9 ร้อยละ 2.00 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) เพราะเป็นคนพูดจริงทำจริง และชื่นชอบนโยบายของพรรคภูมิใจไทย

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาบุคคลที่คนเหนือจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี 5 อันดับแรก เมื่อจำแนกตามกลุ่มจังหวัดของภาคเหนือ พบว่า 1.กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 อันดับ 1 ร้อยละ 37.98 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร อันดับ 2 ร้อยละ 17.75 ระบุว่าเป็น นายพิธา อันดับ 3 ร้อยละ 12.21 ระบุว่าเป็น พล.อ.ประยุทธ์ อันดับ 4 ร้อยละ 6.87 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ และอันดับ 5 ร้อยละ 5.15 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์

2.กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 อันดับ 1 ร้อยละ 30.34 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร อันดับ 2 ร้อยละ 15.95 ระบุว่าเป็น นายพิธา อันดับ 3 ร้อยละ 15.06 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 4 ร้อยละ 8.31 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ และอันดับ 5 ร้อยละ 7.19 ระบุว่าเป็น พล.อ.ประยุทธ์ และ นพ.ชลน่าน ในสัดส่วนที่เท่ากัน

3.กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 อันดับ 1 ร้อยละ 26.63 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร อันดับ 2 ร้อยละ 17.70 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 3 ร้อยละ 14.26 ระบุว่าเป็น พล.อ.ประยุทธ์ อันดับ 4 ร้อยละ 12.54 ระบุว่าเป็น นายพิธา และอันดับ 5 ร้อยละ 6.36 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์

4.กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 อันดับ 1 ร้อยละ 32.29 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร อันดับ 2 ร้อยละ 15.81 ระบุว่าเป็น พล.อ.ประยุทธ์ อันดับ 3 ร้อยละ 14.03 ระบุว่าเป็น นายพิธา อันดับ 4 ร้อยละ 10.47 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ และอันดับ 5 ร้อยละ 7.13 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์

สำหรับพรรคการเมืองที่คนเหนือมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต ในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 48.70 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 16.40 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 10.40 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 4 ร้อยละ 8.05 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 5 ร้อยละ 5.45 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 6 ร้อยละ 2.50 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 7 ร้อยละ 2.20 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย อันดับ 8 ร้อยละ 2.05 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย และร้อยละ 4.25 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคชาติพัฒนากล้า พรรคสร้างอนาคตไทย ไม่ตอบ/ไม่สนใจ พรรคกล้า พรรคไทยภักดี พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคเพื่อชาติ พรรคเศรษฐกิจไทย พรรคเทิดไท พรรครวมพลัง (พรรครวมพลังประชาชาติไทย) และพรรคเศรษฐกิจใหม่

ด้านพรรคการเมืองที่คนเหนือมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 48.75 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 16.15 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 11.55 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 4 ร้อยละ 7.20 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 5 ร้อยละ 4.75 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 6 ร้อยละ 2.85 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 7 ร้อยละ 2.25 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย อันดับ 8 ร้อยละ 1.90 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย และร้อยละ 4.60 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคชาติพัฒนากล้า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคไทยภักดี พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคกล้า พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคเพื่อชาติ พรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคเศรษฐกิจไทย พรรคเทิดไท และพรรครวมพลัง (พรรครวมพลังประชาชาติไทย).