วันนี้ (12 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 08.45 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) นายนราพล ปลายเนตร ประธานกลุ่มเครือขายแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ เอ็นที และที่ปรึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ของ เอ็นที และ นางสำลี ศรีระพุก สภาองค์กรชุมชนเขตยานนาวา ในนามประธานศูนย์สิทธิผู้บริโภค เขตยานนาวา พร้อมสมาชิกจำนวนประมาณ 40 คน ได้เข้ายิ่นหนังสือต่อ นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. โดยมี พ.ต.อ.ประเวศน์ มูลประมุข เลขานุการ ประธาน กสทช. เป็นผู้แทนรับมอบ เพื่อค้านกรณีการควบรวมทรู-ดีแทค

นายนราพล ปลายเนตร กล่าวว่า วันนี้ ได้พาตัวแทนมาติดตามความคืบหน้า ในการยื่นหนังสือคัดค้านการควบรวมระหว่างทรู-ดีแทค หลังได้ยื่นหนังสือ ไปเมื่อช่วงเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ซี่งที่มาในวันนี้ เพราะได้รับทราบว่า การประชุมบอร์ด กสทช. วันนี้ จะมีวาระพิจารณาเรื่องนี้ ซึ่งขอยืนยันว่าไม่เห็นด้วยต่อการควบรวม เพราะกระทบต่อผู้บริโภคและผู้ใช้บริการ และมีผลต่อการแข่งขันที่มีผู้ให้บริการรายใหญ่เหลือเพียงสองราย ซึ่งไม่ต้องนับรวมเอ็นที เพราะไม่สามารถแข่งขันกันเอกชนได้ เพราะตนเคยทำงานในองค์กรนี้จะรู้ถึงศักยภาพดี ขณะเดียวกันผลการศึกษาที่ปรึกษาอิสระ ไว่ว่าจะเป็น บ.ฟินันซ่า และของจุฬาฯ ก็ไม่สอดคล้องกับผลการศึกษาของนักวิชาการจากสถาบันอื่นๆ ซึ่งเคยได้ยื่นเรื่องต่อจุฬาฯ ไปแล้ว ซึ่งก็ได้รับเรื่องไว้พิจารณา และที่ได้อ่านผลศึกษาดูก็ไม่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภค และมีการทำการศึกษาบนหลักข้อเท็จจริงหรือไม่ ขณะที่ผลการศึกษาขออนุกรรมการฯ ที่ กสทช. ตั้งขี้นก็ระบุว่า ไม่มีประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชนชาชน

ด้าน นางสำลี ศรีระพุก กล่าว่า ในนามผู้บริโภค คัดค้านเรื่องนี้อย่าเต็มที่ เพราะจะส่งผลต่อผู้บริโภคที่ต้องจ่ายแพงขึ้น ทั้งที่คลื่นความถี่เป็นของประเทศชาติและประชาชนเป็นเจ้าของ คณะกรรมการ กสทช. ชุดนี้ จะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ เมื่อประชาชนไม่อนุญาต ให้เกิดการควบรวม หากมีการดำเนินการผิดไปจากความต้องการของประชาชน ก็จะถูกร้องเรียนต่อศาลและถูกประณามจากประชาชน

ขณะที่ น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า วันนี้ มาติดตามและสังเกตการณ์วงถามความคืบหน้า การค้านควบรวมทรู-ดีแทคของสหภาพเอ็นที หลังทราบว่า การประชุมบอร์ดในวันนี้จะมีการพิจารณาเรื่องนี้ ที่ผ่านมาแม้จะยื่นหนังสือมานานยังไม่มีความคืบหน้า ทั้งเรื่องผลกระทบผู้บริโภค รวมถึงเรื่องที่ปรึกษาอิสระ คือ บ.ฟินันซ่า ที่ผู้ถือหุ้นของบริษัท อาจเกี่ยวพันกับ บ.ทรู ซึ่งการประชุมในวันนี้จะติดตามอย่างใกล้ชิดว่าจะมีผลอย่างไร และหวังว่า กสทช. จะยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้งในการพิจารณาเรื่องนี้

ถึงวันนี้ ก็ยังไม่ทราบว่า กสทช. จะพิจารณาไปในทางใด คือ อนุญาตแล้วมีมาตรการเฉพาะออกมา หรือไม่อนุญาตเลย ซึ่งผลที่คาดหวังคือ ไม่อนุญาต จะเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่า เพราะทุกวันนี้ปัญหาค่าครองชีพประชาชนก็สูงอยู่แล้ว การให้ควบรวมจะเป็นการผูกขาด จะเป็นการซ้ำเติมประชาชนเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งหาก กสทช. บอกว่าตนเองไม่มีอำนาจพิจารณาเรื่องนี้ ตามประกาศ กสทช. ปี 61 ทางพรรคก็จะฟ้อง กสทช. ในมาตรา 157 ที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่  เพราะตามรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.การจัดสรรคลื่นความถี่ ได้ให้อำนาจไว้ แต่หากมีการพิจารณาให้ควบรวม ทางพรรค ก็จะประสานกับสภาองค์กรผู้บริโภคเพื่อให้ยื่นเรื่องฟ้องต่อศาลปกครองต่อไป