เมื่อวันที่ 31 ก.ค. พล.อ.ต.ประภาส สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศ กล่าวชี้แจงถึงผลกระทบกรณีการเลื่อนโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทน หลังจาก กมธ.แจงตัดงบประมาณจัดซื้อ “F-35 A” ว่า กองทัพอากาศมีความ จําเป็นที่จะต้องทยอยปลดประจําการอากาศยานประเภทเครื่องบินขับไล่โจมตีจาก 5 ฝูงบิน จนเหลือ 2 ฝูงบิน ในปี พ.ศ. 2575 โดยกองทัพอากาศได้วางแผนดําเนินการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตี จํานวน 1 ฝูงบิน เพื่อมาทดแทน 3 ฝูงบิน ที่ได้วางแผนทยอยปลดประจําการ เพื่อให้สามารถดํารงขีดความสามารถในการปฏิบัติการบินรบในอากาศและการโจมตีทางอากาศต่อไปเป็นเวลาอย่างน้อยอีก 40 ปี

พล.อ.ต.ประภาส กล่าวว่า โดยคาดการณ์ราคา Lot 14 อยู่ที่เครื่องละ 77.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งลดลง 12.8 % จาก Lot 11 และมีส่งมอบ เครื่องบิน F-35 แล้ว มากกว่า 820 เครื่อง ทําการบินไปแล้ว ชม.รวมทั้งสิ้นกว่า 540,000 ชั่วโมงบิน จํานวน นักบินที่ได้รับการฝึกตาม โครงการแล้วมากกว่า 1,695 คน และ เจ้าหน้าที่กว่า 12,520 คน ปฏิบัติภารกิจแล้วใน 8 หน่วยงาน (Service) ประกาศความพร้อมปฏิบัติการแล้ว 12 หน่วยงาน จากประเทศที่มีประจําการใช้งาน ณปัจจุบันทั้งหมดจํานวน 9 ประเทศ นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายต่อชั่วโมงในการปฏิบัติการ ในปัจจุบันยังลดลงถึง 50% นับจากปี ค.ศ. 2015 ทั้งนี้ กองทัพอากาศได้วางแผนในการจัดหาในปริมาณที่ลดลงแต่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติภารกิจที่สูงขึ้น ตามความมุ่งหมายให้กองทัพอากาศสามารถยกระดับสู่กองทัพอากาศคุณภาพ “Quality Air Force” เพื่อให้มีขีดความสามารถรับมือกับภัยคุกคามได้ทุกรูปแบบ และสอดคล้องกับสถานการณ์ด้านความมั่นคงในปัจจุบัน

โฆษกกองทัพอากาศ กล่าวต่อว่า เครื่องบินแบบ F-35 A มีขีดความสามารถและคุณสมบัติตรงตามความต้องการตามรายละเอียด ความต้องการเครื่องบินขับไล่โจมตีและระบบที่เกี่ยวข้องตามที่ ทอ.ได้กําหนดไว้ ซึ่งหนึ่งในรายละเอียดความต้องการด้านระบบอาวุธที่สําคัญซึ่งได้กําหนดไว้คือ มีขีดความสามารถในการใช้ระบบอาวุธที่มีประจําการ อยู่ในกองทัพอากาศ โดยอาวุธดังกล่าว ได้แก่ GP Bomb Mk 80 Series, GBU-10 Series, GBU-12 Series และ AIM-120 Series นอกจากนี้เครื่องบินแบบ F-35 A ยังติดตั้งปืนใหญ่อากาศขนาด 25 มิลลิเมตร และสามารถ ติดตั้งใช้งานระบบอาวุธที่ทันสมัย มีความแม่นยําสูง ทั้งระบบอาวุธนําวิถีอากาศ-อากาศ, อากาศ-พื้น, อากาศ-ผิวน้ำ เช่น AIM-9X, JDAM, AGM-158 JASSM เป็นต้น ซึ่งกองทัพอากาศจะได้พิจารณาจัดหาเข้าประจําการตามกรอบงบประมาณ ที่เอื้ออํานวยต่อไป

โฆษกกองทัพอากาศ กล่าวต่อว่า จากข้อมูล Defense Security Cooperation Agency (DSCA) ซึ่งเสนอข้อมูลประเทศที่ร่วมผลิตและ สั่งซื้อเครื่องบิน F-35 มีประเทศที่ร่วมในการสั่งซื้อเครื่องบิน F-35 รวม 20 ประเทศ ยอดรวมการสั่งซื้อกว่า 3,400 เครื่อง ซึ่งจะส่งผลให้ราคาเครื่องบินลดลง และค่าอะไหล่และการซ่อมบํารุงลดลง

ทั้งนี้ กองทัพอากาศต้องทราบงบประมาณ ที่กองทัพอากาศจะได้รับในโครงการจัดหา เครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนก่อน ถึงจะทําการตกลงกับทางการสหรัฐได้ ถึงจํานวนอากาศยาน และส่วนสนับสนุนอื่น ๆ ภายใต้การจัดทําสัญญาตามกรอบงบประมาณที่ได้รับ แต่หากกองทัพอากาศมิได้รับงบประมาณในปี 66 ก็ไม่สามารถจัดทําหนังสือ LOA กับทางการสหรัฐได้ และหากกองทัพอากาศเสนอความต้องการเครื่องบิน F-35 ในปี 67 จะทําให้ต้องรอคิวการพิจารณาสายการผลิต และไม่สามารถเริ่มกระบวนการจัดหาได้ทัน ประเทศสหพันธ์ สาธารณรัฐเยอรมนี กรีก และสาธารณรัฐเชค (กลุ่ม NATO) ซึ่งมีแผนจะสั่งจองการผลิต ในปี 65-66 หากกองทัพอากาศสั่งจองการผลิตล่าช้าจะต้องต่อคิวจากทั้ง 3 ประเทศดังกล่าว และความพร้อมปฏิบัติการของเครื่องบิน F-35 ครบฝูง จะเลื่อนออกไปเป็นปี 77 ซึ่งในห้วงเวลา ระหว่างปี 75-77 ส่งผลให้ประเทศไทยจะขาดขีดความสามารถในการป้องกันภัยทางอากาศ เนื่องจากการปลดประจําการเครื่องบินขับไล่โจมตีที่มีอายุการใช้งาน จํานวนมาก

หากมิได้จัดสรรงบประมาณในโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทน ในปี 66 จะเป็นผลให้กองทัพอากาศไม่สามารถจัดทําหนังสือ LOA กับทางการสหรัฐได้ทันในปี 66 ได้ ส่งผลให้การดําเนินการในการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนล่าช้าไปอีก 2 ปี ซึ่งทําให้เสียโอกาส และขาดความพร้อมรบ ของฝูงบินขับไล่โจมตีทดแทนที่ล่าช้าจาก ปี 75 เป็นปี 77 อย่างไรก็ตาม กองทัพอากาศกําหนดความต้องการระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2563-2573) ในการปฏิบัติภารกิจให้ได้ในปี 75 โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ระยะที่ 1 ผูกพันงบประมาณ 4 ปี (66-69) จํานวน 2 เครื่อง วงเงินงบประมาณ 7,382 ล้านบาท ระยะที่ 2 ผูกพันงบประมาณ 4 ปี (69-71) จํานวน 4 เครื่อง วงเงินงบประมาณ 14,628 ล้านบาทเศษ ระยะที่ 3 ผูกพันงบประมาณ 4 ปี (72-75) จํานวน 6 เครื่อง วงเงินงบประมาณ 21,924 ล้านบาทเศษ รวมเป็นวงเงินรวมทั้งสิ้น 43,935 ล้านบาทเศษ.